วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

ปล่อยพลังตัวตนเพื่อความสำเร็จ


โลกธุรกิจสมัยนี้ต้องการคนที่มีคุณลักษณะและทักษะหลากหลาย แล้วพวกคุณลักษณะหลักๆนั้นน่าจะมีอะไรบ้างที่ทำให้คนก้าวหน้า ผู้รู้หลายคนว่ามันต้อง extreme จากความมั่นใจในตัวเองไปจนถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน แน่นอนว่าความสำเร็จจะมาหาเราได้นั้นมันต้องทั้งมีความทะเยอทะยานและการไม่หลงตัวเองด้วยอีกต่างหาก  และเมื่อพิจารณาเข้าไปอีกก็จะมีหลายคนว่าต้อง positive thinking ที่ประกอบกับความเชื่อว่า I can จึงจะสำเร็จ     มันหลายอย่างจนบางทีอยากจะตะโกนว่า เฮ้อ.. whatever   ซึ่งก็ไม่เป็นไร เพราะเราอาจจะไม่สามารถบังคับตัวเองให้ก้าวสู่ความสำเร็จด้วยคุณลักษณะที่ห่างกันสุดขั้ว  ไม่ว่าจะยกเครื่องตัวเองเต็มสูบแล้วก็ตาม  
เอาเป็นว่า สิ่งที่เด็ดที่สุด คือ be real เอาตัวจริงๆออกมากันเลย be authentic  เราอาจเห็นว่าโลกธุรกิจมันปลอมใส่กัน ผู้บริหารต้องทำเจ๋ง ทำ cool พวกนี้อาจมีความรู้ ทักษะทางเทคนิคมากมาย แต่มันยังไม่ถึงสุดสุดเพราะอาจบริหารงานได้ แต่บริหารใจคนไม่ได้ก็มีให้เห็นเยอะ   พวก move คนไม่ไป motivate ไม่เป็นก็มีถมเถ    ซึ่งการจะ move ได้มันต้องใช้ authenticity ซึ่งไม่ได้แปลว่าต้อง be real อย่างเดียวนะ  เราก็รู้กันดีว่าปัจจุบันการแข่งขันมันรุนแรง  มันต้องใช้ความเก่งกล้าสามารถ สอดส่องไปทั่ว รวมถึงการทำงานร่วมกับคนอื่นที่แตกต่างหลากหลายให้เป็นทีมด้วย  ในการนี้มันต้องเค้น positive energy ออกมาให้ได้  ต้องใจถึงที่จะตัดสินใจในเรื่องยากๆว่ามันจะ yes-or-no มีความอดทนในการขับเคลื่อน ทั้งหมดนี้ต้องใช้ตั้งแต่ความมั่นใจในตัวเองไปจนถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนในเวลาเดียวกัน  ส่วนผสมแบบนี้รวมเรียกได้ว่า maturity (อันนี้จำเป็นอย่างยิ่ง)

อีกคุณลักษณะที่อยู่ใน must-have list คือ ต้องเป็นแบบ heavy-duty ยืนหยัดไม่ยอมแพ้  เพราะปรากฎว่ามีหลายคนแผ่วไประหว่างทาง มันแปลว่าถึงเวลารบต้องรบ เมื่อถึงทีต้องรุก คนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ล้วนล้มเหลวมาก่อน แต่ทำทุกอย่าง เรียนรู้ทุกอย่าง จัดระบบใหม่ และเริ่มใหม่ด้วยใจห้าวหาญเสมอ  และคุณลักษณะอีกอย่างที่หายาก แต่ต้องมี คือ ability to see around corners ต้องสามารถรับมือกับสิ่งผกผัน สู้กับความผันผวนที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ได้    จริงอยู่ไม่มีใครที่จะมี sixth sense ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาวะตลาด มันอาศัยเที่ยวบินที่ต้องใช้เวลานานพอที่จะ get ว่าคู่แข่งกำลังทำอะไร สินค้าบริการอะไรที่ลูกค้าต้องการจริงๆ  แต่เมื่อรู้ และยิ่งรู้เร็วก็ได้เปรียบแน่นอน ไปไกลกว่าคนอื่นแน่นอน  การจะรู้อะไรได้เร็วมันอยู่ที่เราจริงแค่ไหน 
ความเก่ง ทักษะต่างๆอาจทำให้คนตื่นเต้น  แต่สิ่งที่จะติดตัวไปตลอดการขับเคลื่อน คือ ความดีงามที่เราจะสร้างให้องค์กร ซึ่งมันต้องมาจากตัวตน มันจะเปิดช่องอัตโนมัติให้เราใช้คน ได้งานตามที่คาดหวัง มัน connect มัน inspire และมันจะทำให้เราสามารถ lead  
ดังนั้น..อยากสำเร็จต้องปล่อยพลังตัวตนที่เป็นความดีออกมาให้ไพศาล

รัก..ไม่ต้องเงื่อนไข


วันนี้ดูหนังสั้นของ petronas เรื่อง stranger 
เป็นเรื่องชายหนุ่มที่ "รู้สึก" ถึงความขาดแคลนของเพื่อนมนุษย์
มันก็ไม่ได้เป็นเรื่องอะไรใหม่.. แต่มันเป็นก็ "เป็นเรื่อง"
เป็นเรื่องที่คนเกิดมาทั้งที..มีโอกาส..ต้อง "ให้" ผู้อื่น
และการให้ที่จะสร้างความสัมพันธ์ตราตรึงชั่วชีวิตคน คือ ให้ทั้งใจ ให้เต็มร้อย
ให้แบบที่ผู้ได้รับ..คงไม่มีโอกาสจะตอบแทนน้ำใจ

คนเราบางครั้ง..หรือหลายครั้ง ให้คนอื่นด้วยความหวัง..จะได้
ได้หน้า
ได้คืน
ได้ดี
ได้เปรียบ
ได้บุญคุณ
ได้สนุก
ได้ใช้
ได้สุข
แบบนั้น..คือ 50-50 
มีเผื่อ มีเลือก มีปลอดภัยไว้ก่อน 


ทำบุญ..ยังต้องขอ
ทำทาน..ยังต้องเลือก
ทำดี..ยังต้องให้มีคนเห็น
แบบนั้น..คือ 50-50


จะให้ 100 มันต้องใจถึงมากถึงมากที่สุด

ให้สิ่งดี..ที่เรามี ที่เราสละได้และสำคัญ คือ สิ่งที่เขาต้องการ 
ไม่ใช่ยัดเยียดอะไรก็ได้ที่เหลือกินเหลือใช้..แบบนี้มันยิ่งน้อยกว่า 50-50


จะ "ให้" ไม่ต้องเลือก
ถ้า "เลือก" ไม่เรียกว่า "ให้" 
รักไม่ต้องเงื่อนไข
รักไปให้เต็ม 100

จะ 100 หรือ 50-50 หรือน้อยกว่านั้น
ขึ้นกับว่าต้องการอยู่กันดีดีในโลกยาวนาน เป็นสุข ยั่งยืน หรือไม่

วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556

ความถือตัวเองเป็นสำคัญ

ดื้อได้โล่ห์
เอาตัวเองว่าได้เหรียญ
หาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง
เอาตัวรอด

อกตัญญู

เป็นลูกอกตัญญู...รำคาญแม่ตัวเอง
อยู่บ้านเดียวกัน พูดไม่ถึงสิบประโยค มีอันทะเลาะ รำคาญใจ
ชั่วจริงๆ
ยังแก้ไขไม่ได้จนบัดนี้



จัดการใจได้ design


ศันสนา สิริตาม: Design is the heart of management
Tim Brown:  Empathy is at the heart of design

การจัดการ คือ การออกแบบชีวิต  การออกแบบชีวิตให้ทุกด้านเป็นไปอย่างที่คนเราคาดหวังไว้ ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่ไม่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ  การปล่อยชีวิตให้ล่องลอยไปวันๆก็ยังเป็นการออกแบบชีวิตตัวเอง การไม่ออกแบบชีวิตก็เป็นการออกแบบอยู่ดี   ในทางธุรกิจเราออกแบบการดำเนินงานอยู่เสมอ ไม่ว่ากำลังคิดเรื่องกลยุทธ์ การจัดโครงสร้างองค์กร การพัฒนาคน การปรับปรุงการดำเนินงาน จนกระทั่งคิดจะเปลี่ยนแปลง model ธุรกิจ   ซึ่งผลที่ออกมาอาจดีเลิศบ้าง ดีบ้าง พอได้บ้าง หรือแย่บ้าง   

แล้วจะออกแบบยังไงให้ดีทุกครั้ง 

มันง่ายมาก (ทำได้ไม่ได้นั้น อีกเรื่องนึงนะ)   เพราะมันไม่ใช่เรื่องว่าเรารู้อะไรบ้างในเรื่องการออกแบบ  มันไม่ใช่การออกแบบที่เป็นไปตามหลักการหรือทฎษฎีที่เรียนรู้กัน  แต่การออกแบบในที่นี้หมายถึง conceptual design ที่ต้องอาศัย “ใจ”   เหมือนกับที่ Tim Brown เจ้าพ่อแห่งการออกแบบของ IDEO บอกไว้ “empathy is at the heart of design”  อันนี้เห็นดีด้วยเต็มๆ เพราะถ้าเราไม่เข้าใจคนอื่น ไม่เห็นเหมือนที่เขาเห็น ไม่รู้สึกเหมือนที่คนอื่นรู้สึก ไม่เคยมีประสบการณ์แบบที่คนอื่นได้รับ  เรื่อง design ไม่ต้องพูดถึง    การเห็นอกเห็นใจเท่านั้นที่ทำให้เราเห็น ได้ยิน รับรู้ รู้สึกใกล้เคียงกับที่คนอื่นรู้สึก  การเห็นอกเห็นใจเป็นแรงบันดาลมหาศาลในการออกแบบ  เรื่องนี้ถือว่าท้าทายมนุษย์อย่างเราๆเป็นอันมาก ท้าทายใจคนอย่างยิ่ง  ใจคนมันซับซ้อน  เรากล้าพอที่จะเผชิญกับความซับซ้อนของใจตัวเองหรือไม่   กล้าออกมาจาก comfort zone แล้วก้าวเข้าไปอยู่ใน learning zone หรือเปล่า   เราพร้อมที่จะเรียนรู้แบบมีปัญญากับภาวะสังคมที่ยุ่งเหยิง กับความเห็นแก่ตัวของคนหรือไม่ เพราะถ้าเราพร้อม เรารับได้ เราเห็นใจคนอื่นก็เท่ากับว่าเรามีสิ่งสำคัญที่จะสนับสนุนการออกแบบทุกอย่างในชีวิต ให้สามารถตอบสนองไม่เพียงตัวเอง แต่มันจะดีกับคนอื่นอีกด้วย

เห็นด้วยหรือไม่ว่า...
ชีวิต คือ การออกแบบ ไม่ว่าเราจะในการทำงาน มีแฟน มีครอบครัว คบเพื่อน เลี้ยงแมว เลี้ยงหมาและอื่นๆอีกมาก  

เห็นด้วยหรือไม่ว่า..
การออกแบบต้องอาศัยการมีเมตตา การเห็นใจคนอื่น 

วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556

รักได้..แต่ไม่เหมือนหมา


วันนี้อ่านบทความของเอิ่บเรื่องความรักของหมา
รู้ว่ามืดอีกด้าน คือ ไม่มีความรักที่จริงใจ
พูดง่ายๆ คือ มีแต่รักตัวเอง
หมานี่มันรักไม่มีเงื่อนไข ซื่อสัตย์ 
นี่ปากอย่าง..ใจอย่างมาตลอด
ถือว่าสอบตกทุกครั้ง

ไม่รู้ทำห่าอะไร

มันยังไง..วันๆไม่ทำห่าอะไร
เฟสบุ๊คมันทั้งวัน ไร้สาระสิ้นดี
นี่มันโง่จริง..ยังอีก 

แก้ไม่ได้

มันช่างยากเย็นจริงๆสำหรับการเกิดเป็นคน แล้วจะไม่เห็นแก่ตัว
การเห็นแก่ตัว...
มันทำร้ายครอบครัว เพื่อน ได้อย่างที่ถ้าลองคิดดูแล้ว..มหันต์
เข้าใจ ยอมรับ...แต่ไม่ได้แก้ไขเลย
นี่เรายังเป็นคนอยู่หรือเปล่าเนี่ย

ขี้เกียจ

ตัวจริงเป็นคนเกียจคร้าน 
ไม่แสวงหาโอกาส
ไร้สาระ
แต่อยากได้ดี อยากสบาย.. มันเป็นไปไม่ได้
มีสองอย่าง..
หนึ่ง ยอมรับและเปลี่ยนเป็นการใช้ชีวิตที่พอเพียง อยู่มันจนๆไป
สอง ลุกขึ้นมาทำตัวเองใหม่และทำงานอย่างจริงจัง

น่าจะเป็นข้อหนึ่ง.. เพราะขี้เกียจจริงจริง

หนทางสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมอย่างง่าย



การเป็นองค์กรนวัตกรรมไม่ใช่งานของใครคนเดียว กลุ่มเดียวแน่นอน มันต้องฝังอยู่ในบรรทัดฐานขององค์กรตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนกระทั่งพนักงานธรรมดา  ถ้ามองแค่ผิวเผินเราอาจจะเห็นว่าองค์กรที่มีนวัตกรรมมาจากคนก่อตั้ง เจ้าของอย่าง Steve Jobs หรือ จากพวกพนักงานกลุ่มเล็กๆที่คลุกคลีกับปัญหาจริงๆ หรือ จากกลุ่มจัดตั้ง พวก project team ที่ได้รับมอบหมายให้ทำโครงการพิเศษเฉพาะ  มันแปลว่าพวกบริษัทอย่าง Apple Disney Nike หรือ Valve ต้องหาทางพัฒนาทรัพยากรบุคคลประเภทที่กล่าวมาอย่างนั้นหรือ  มันไม่ใช่เลย พวกบริษัทที่ล้ำด้วยนวัตกรรมไม่ใช้การพัฒนาทีละกลุ่ม ทีละ step หรือ ทีละเรื่อง   ตรงกันข้ามพวกนี้กระหน่ำสร้าง enterprise-wide culture of innovation โดยการฝังให้นวัตกรรมเป็นค่านิยม เป็นบรรทัดฐานทั่วทั้งองค์กร เราเห็นได้เลยจากบรรยากาศการทำงานของ Googles Facebook หรือ IDEO มันเป็นวิถีการกิน อยู่ หลับนอนกันเลยทีเดียว  ถ้าอยากเป็นองค์กรนวัตกรรมมันไม่ใช่แค่การทำ OD แบบเป็นแฟชั่นกิ๊กก๊อก  มันต้องมานั่งวางแผนอย่างล้ำลึก ทำทุกอย่างด้วยจิตวิญญาณของนวัตกรรม   

Les McKeown CEO ของ Predictable Success องค์กรที่ปรึกษาเกี่ยวกับ organizational growth เขียนหนังสือมาสองเล่ม ชื่อ "Predictable Success: Getting Your Organization on the Growth Track--and Keeping It There" และ "The Synergist: How to Lead Your Team to Predictable Success." ซึ่งพอสรุปได้ว่าจะโตแบบมีนวัตกรรมมี 3 เรื่องที่จำเป็น คือ
  1. ต้องทำงานแบบ cross-functional teams: ปกติเวลามีปัญหา เราก็มักจะเลือกคนในทีมตัวเองขึ้นมาจัดการ แต่พวกองค์กรนวัตกรรมจะเลือกคนจากหลายฝ่ายมาทำ เช่นตอนที่ Steve Jobs จะทำ Mac Air ก็ลากกันมาตั้งแต่พวกออกแบบ การตลาดไปจนถึงวิศวกรเชี่ยวชาญการผลิต  หรือทีมทำงานของ Richard Branson ก็ยังมีพวกนักอนุรักษ์เข้ามาร่วมด้วย  มันไม่ใช่แค่การมาระดมความคิด แต่มันเป็นการสร้างมุมมองใหม่ เหมือนกับเปิดแผล บ่งหนองความคิดซ้ำซากออกมา สร้างการยอมรับความคิดคนอื่น ซึ่งการจัดการให้มีการทำงานแบบ cross-functional team มันเป็นวิธีการฝังรากนวัตกรรมในองค์กร  แต่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบล็อคการดำเนินงานองค์กร กลุ่ม cross-functional team จะเป็นแค่การทำงานระยะสั้นและยืดหยุ่นได้เท่านั้น   
  2. ต้องวินิจฉัยผลงานในอดีต: องค์กรทั่วไปไม่ค่อยได้มานั่งวิเคราะห์การทำงานอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ยกเว้นแต่ว่ามันทำให้เกิดปัญหาถึงมานั่งถกกัน อย่างพวกที่ทำ AAR ก็เหมือนกัน มาทำกันเมื่อมีข้อขัดแย้ง งานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย แต่พวกองค์กรนวัตกรรมนั้น เมื่อโครงการเสร็จสิ้นล้วนแต่ใช้เวลาอย่างจริงจังเพื่อถอดบทเรียน มันคุ้มค่าที่จะเรียนรู้จากความสำเร็จเท่าๆกับความล้มเหลว  และการทำการวินิฉัยเพื่อเรียนรู้ต้องทำแบบหนัง CSI วิเคราะห์ซากศพเพื่อหาคนร้าย ต้องละเอียด ต้องค้น ต้องมีสมมุติฐานที่เฉียบแหลมและทำกันทั้งองค์กร โดยเฉพาะพวกที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการยิ่งดีเพราะสามารถให้ objective feedback ได้ชะงัด
  3. ประเมิน 360 องศา: ผู้คนในองค์กรนวัตกรรมจะชิวมากในการให้ feedback ที่ตรง ปราศจากอคติ ปราศจากวาระซ่อนเร้นในขณะที่องค์กรทั่วไปจะลังเล หรือไม่ก็ตั้งธงรบไว้เวลาให้ feedback กัน  อยากเป็นองค์กรนวัตกรรมต้องสร้างบรรยากาศที่เปิดเผย ตรงไปตรงมา อันนี้เหมือนกับการสร้างกล้ามเนื้อนวัตกรรมให้แข็งแกร่ง  เพราะการแข่งขันมันสูง การสร้างกล้ามเนื้อจึงเป็นการเตรียมพร้อมรับศึก  ใช้การประเมิน 360 องศาไปเลย แรกๆอาจกระอักกระอ่วนอยู่บ้าง นานๆไปจะชินไปเอง ทุกคนจะเข้าใจและยอมรับไปเป็น DNA ของตัวเองว่ามันเป็นการประเมินที่สะอาด ไม่ได้ทำไปเพื่อตบตีกันแต่ทำไปเพื่อการพัฒนาองค์กร 
ทั้ง 3 เรื่องมันไม่ได้ยากเกินที่จะทำ  อยากเป็นองค์กรนวัตกรรมก็ลองดู  ไม่ต้องไปจัดฝึกอบรมเรียนรู้ว่านวัตกรรม คือ อะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง  มีทฎษฎีหลักการอะไร แบบนั้นมันไม่ช่วยอะไร  เสียเวลา เสียทรัพย์ หลอกตัวเอง  ทำ 3 เรื่องนี้ให้เป็นผลก็เท่ากับสร้าง ฝังบรรทัดฐานนวัตกรรมให้องค์กรแล้ว

วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

Geoffrey James: 16 Rules for Business Texting


1. Don't text a question you can Google.
เช่น อย่า text ถามทาง  เรามี smart phone ให้ใช้ไป ค้นเอง หาเอง
2. Don't text SPAM.
ไม่มีใครชอบและมันอาจเป็นครั้งสุดท้ายที่เขาอยากจะะรับข่าวสารจากเรา
3. Don't text anything indiscreet.
อย่าส่งอะไรที่ไม่เหมาะ ไม่ควร ไม่สุภาพ เพราะเราไม่รู้ว่าใครจะเห็นอีกบ้าง มันเสื่อม
4. Don't accidentally text a wrong number.
ผิดเบอร์แล้วตัวใครตัวมัน โปรด double-check ก่อนกด send 
5. Don't text anything complex.
เขาออกแบบมาให้ส่ง short message จอมันเล็ก ถ้ามันซับซ้อนเนื้อหาเยอะมากๆให้ใช้ email 
6. Don't text in ALL CAPS 
ถ้ายั๊วะ โมโหมากค่อยใช้ แต่ไม่ใช้เป็นดี
7. Don't text whilst driving.
การ text ตอนขับรถมีโอกาสตายถึง 23 เท่า มันเหมือนกับขับรถเวลาเมานั่นแหละ 
8. Don't text whilst tipsy.
มึนก็อย่า text มันจะทำให้เสียเครดิต หรือ หนักกว่านั้นสูญเสียสายสัมพันธ์ทางธุรกิจ 
9. Don't text indecipherable abbreviations.
อย่าใช้การย่อที่อ่านยากเข้าใจยาก เช่น U my tnk evry1 udrstnds wt yr sing bt mab nt. คนงง
10. Don't text to avoid delivering bad news personally.
ถือว่าขี้ขลาดมากถ้าใช้การส่งสารบอกข่าวร้ายแทนการไปพบด้วยตัวเอง  
11. Don't text whilst in a face-to-face meeting.
อย่า text ในขณะประชุมที่นั่งกันสลอน บางคนอาจอยากเขวี้ยงโทรศัพท์เราทิ้ง 
12. Don't text trivial courtesy messages.
อะไรที่ไม่สำคัญก็ไม่ต้อง มันเลอะหน้าจอชาวบ้าน 
13. Don't try to text anything subtle.
อย่ายุ่ง เยอะ ยาก ส่งอะไรที่ชัดๆจะๆ ไม่ต้องโชว์กึ๋นมาก 
14. Don't expect an immediate text back.
คนรับเขาอาจมีอะไรที่สำคัญกว่าต้องทำ ไม่ต้องจ้องคอยการตอบรับ 
15. Don't text people who might be sleeping.
เหมือนกับมารยาทเวลาจะโทรศัพท์ เกินสามทุ่ม หรือ ก่อนเจ็ดโมงเช้า ไม่ควรนะ 
16. Don't ever text the acronym "LOL."
มันเป็นเรื่องทางธุรกิจ อย่าเล่นเป็นเด็ก 12 ขวบ 

พอ..ให้เป็น

ขอให้ "พอ" มากน้อยไม่ใช่ประเด็น
คนเราต้องรู้ว่าตัวเองต้องการอะไร
ถ้าไม่รู้ก็กลับไปคุยกับตัวเองให้มากขึ้น

เราชอบ คนอื่นชอบ

เราชอบ คนอื่นชอบ
เราไม่ชอบ คนอื่นก็ไม่ชอบ
อะไรที่ตัวเองไม่ชอบ..ก็อย่าทำกับคนอื่น

ทำไมต้อง compromise

เกิดเป็นคนมันต้องยืนหยัดในวิถีการทำงาน ซึ่งไม่ได้แปลว่า “ไม่รับฟังคนอื่น” มันคนละเรื่องกัน  โดยเฉพาะคนที่เป็นผู้นำ ไม่ต้อง diplomatic ขนาดนั้น เพราะว่าเมื่อเราเอออวยเมื่อใด มันคือการที่เรากลางๆในเรื่องต่างๆ  คนเราต้องมีความเห็น จะมากลางๆ คนอยู่ด้วยทำงานด้วยลำบาก มันไม่รู้ทิศทาง จัดการให้ไม่ถูก  โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นความถูกต้อง มันไม่มีความเป็นกลาง จะมาทำเทาๆเนียนๆไปไม่ได้  

ถูก คือ ถูก ผิด คือ ผิด  
มาตรฐาน คือ มาตรฐาน กับ ไม่มีมาตรฐาน 
คุณภาพ คือ คุณภาพ กับ ไม่มีคุณภาพเท่านั้น 

ไม่มีระดับ ไม่มีชั้นหนึ่งชั้นสอง  ถ้ายอมรับตรงนี้ไม่ได้ อย่าใฝ่หาความสำเร็จหรือนวัตกรรมใดใด  ชาติหน้าก็ไม่ได้ 
ในการประชุมต่างๆ เราจะเห็นพวกนักประนีประนอมอยู่บ่อยๆ ขุนพลอยพยักมีอยู่ก็ไม่น้อย มันทำให้การประชุมไร้รสชาด ทื่อ เอื่อย  แต่ที่สำคัญ คือ มันทำให้เกิดเผด็จการขึ้นในองค์กรและคนที่ตายซากมากขึ้นทุกที     อย่า compromise ถ้าเรามีหลักการ เหตุผล ข้อมูลที่ดี อย่าปล่อยให้เกิดการลอยนวล  เชือ้ประนีประนอมมันร้ายนัก  มันไม่เคยสนับสนุนการมีความคิดสร้างสรรค์ มันทำให้สมองฝ่อ  มัน lifeless มันไม่ work สำหรับคนที่ต้องการพัฒนา 
องค์กรยิ่งขนาดใหญ่มากเท่าไหร่ โตขึ้นมากเท่าไหร่ 
การประนีประนอมจะคืบคลานเข้ามาง่ายเท่านั้น  

คนหลายคนพร้อมและชินกับการยอมรับมันอย่างเต็มใจ โดยคิดว่าเพื่อการก้าวไปข้างหน้า  ต้องยอมๆกันไป  มันไม่มีทางจะไปข้างหน้าสวยงามได้  ถ้าไม่มีคนคิดต่างและไม่ยืนหยัดความคิดตัวเอง  การล่องลอยไปตามที่คนอื่นคิด คนอื่นทำนั้น  ไม่สามารถสร้างการพัฒนาได้  ไม่สามารถจะเป็นเลิศได้  ก็ได้แต่อยู่กลางๆ ซึ่งชาตินี้ ไม่มีวันชนะหรือได้ดี  ดังที่เราก็เห็นๆกันในองค์กรของเรา 
ของแบบนี้มันขึ้นกับผู้นำที่จะ set tone ในองค์กรของตัว  ถ้าคนเห็นว่าเรายินยอมประนีประนอมโดยไม่มีเหตุผลที่ดีรองรับ  คราวนี้ทุกคนจะตามไปติดๆ ทำเหมือนกัน compromise เหมือนมะเร็งมันลามเร็ว ลามหนักแน่นต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเหตุให้องค์กรดีๆหลายองค์กรกลายเป็นองค์กรในระดับ average หรือถ้าหนักกว่านั้นก็คือ องค์กรห่วยไปเลย ยากในการพัฒนา 
การไม่ compromise ต้องตามมาด้วยเหตุผลที่หนักแน่นเป็นจริง

เพราะมันเป็นสิ่งเดียวที่พิสูจน์ว่าเรายินดีรับฟังและมันทำให้เกิด important insight ในการตัดสินใจ การเลือกแนวทางใหม่ในการปฎิบัติ   เราคงต้องตรวจสอบตัวเองให้ชัด   ในการบริหารจัดการองค์กร  ถ้าเรามีข้อเสนอแนะและเรามี good evidence สนับสนุน มันแปลได้ว่าเราตัดสินใจดี  แต่ถ้าไม่มีหลักฐานที่ดีเพียงพอ มัน คือ การก้าวเข้าสู่การประนีประนอมในที่สุด 
ประเทศนี้มันมีคนประนีประนอม ไม่รู้ร้อนรู้หนาวเยอะจนทำให้บ้านเมืองเข้าขั้นวิกฤติอยู่ทุกวันนี้  พวกเราไม่ควรเพิ่มจำนวนประชากรประนีประนอมให้มันพินาศมากขึ้น  
อย่ายอม 
อย่าประนีประนอมกับความไม่ถูกต้อง มันจะทำให้เราเป็นทุกข์  ประเทศหาความสุขไม่ได้   

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

ไม่ปกติ = เป็นทุกข์ จากท่านอานันโท



ไม่ปกติ = เป็นทุกข์ 

เป็นทุกข์เรียนรู้ไม่ได้ 
เหมือนกระดาษชำระที่เปียกน้ำ เทน้ำราดลงไปอีก ก็ซับอะไรไม่ได้
จะสอนคน ต้องทำให้หายทุกข์ก่อน
คนมาอยู่กับเรา มาเรียนรู้กับเรา ล้วนพกพาความทุกข์มาทั้งสิ้น..ไม่ขจัดทุกข์ จะเรียนรู้ได้อย่างไร
ทำกิจกรรมให้หายทุกข์ ให้เหนื่อยมากๆจนไม่คิดถึงทุกข์
เหมือนตากกระดาษชำระให้แห้งก่อน
เอาความรู้ราดลงไป มันจึงจะซึมซับ จึงรับได้

การศึกษาไม่ได้ดับทุกข์ ความรู้ไม่ได้ดับทุกข์ 
การเข้าใจการเปลี่ยนแปลง คือ การดับทุกข์
แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดสำหรับคน คือ การไม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลง การพลัดพราก การไม่ได้ดังใจเป็นเรื่องธรรมชาติ
ถ้าเข้าใจ =ไม่ทุกข์ 

แค่มีสติรู้ตัวก็ไม่ควรทุกข์ 
โกรธใคร รู้ตัวปุ๊บ ออกไปสองนาที กลับมาใหม่ เหตุการณ์เปลี่ยนไป
แต่ถ้าฟังใครพูดไม่ดี ไม่พอใจอะไรแล้วจ้องสวนกลับทันที อันนั้นตัวใครตัวมัน ทุกข์มาหนักกว่าเดิม

ทุกวันนี้เรายึดติด ยินดีอยู่ในกรงที่สร้างขึ้น
เหมือนไก่ในสุ่มไก่ ต้องทำตามหลักการ รับใช้เทคโนโลยีจนติด  

ไม่มีไม่ได้ แต่ที่จริง ไม่มีก็ได้

ที่ต้องมี คือ ความดีงาม
ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องศาสนา ไม่ใช่ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลามหรืออะไรทั้งนั้น
ไม่ใช่เรื่องฟังเทศน์ ฟังธรรม สวดมนต์
คนไม่มีศาสนาที่เป็นคนดี...จึงเป็นคนเข้าใจโลกอย่างแท้จริง
ความดีเป็นสมบัติของมนุษยชาติ
ไม่ใช่ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง
ความดีไม่ได้เป็นของศาสดา

ชาวพุทธ..มองพุทธะเหลือแคบนิดเดียว
คำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ความจริง ความดี ความปกติซึ่งเป็นกฎแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข
เป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นปกติ = ศีล (morality)
เป็นหลักปฏิบัติที่ไม่ทำให้เดือดร้อนซึ่งกันและกัน
ไม่ละเมิดศีล = ไม่เบียดเบียน = ไม่เป็นทุกข์

คนสุข สงบได้ด้วยเบญจศีล คือ ศีล 5
การศึกษาเป็นเพียงเครื่องมือ....ศีล คือ ผู้ควบคุม
การศึกษาที่ไม่มีศีลกำกับ ก็ได้เพียงความรู้ ไม่ได้ปัญญา ไม่มีความสุข

ความมั่งคั่ง ก้าวหน้า มั่นคง ความสุข ล้วนมาจากศีล

ศีล = ปกติ = เป็นสุข
ถ้าไม่ปกติ ไม่มีศีล = เป็นทุกข์

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทเรียนจาก..แม่

ในโลกนี้มีใครหลายคนที่มีอิทธิพลต่อวิถีการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการควบคุมตัวเอง  การสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือปรัชญาพื้นฐานที่ยึดถือ  แต่ที่มีอิทธิพลจริงๆย่อมมาจากคนที่บ้าน..พ่อและแม่เป็นสำคัญ   อยากยกตัวอย่างของ Richard Branson แห่ง Virgin Group ที่ยอมรับหน้าชื่นตาบานว่า ผู้เป็นแม่ Eve Branson เป็น biggest inspiration 

ลองมาดูกันถึงบทสรุปของ Richard Branson ว่าแม่ได้สอนอะไรบ้าง:

1. Live with no regrets
Richard Branson ให้ความเห็นว่าคนหลายคนมัวแต่ติดอยู่กับสิ่งที่ล้มเหลวในอดีต แทนที่จะใช้พลังนั้นทำสิ่งใหม่ๆให้ดี  ครอบครัวนี้ไม่ได้รวยมาแต่กำเนิด การใช้จ่ายในครอบครัวบางครั้งก็ขัดสน แต่แม่ก็ได้บริหารจัดการงบประมาณในบ้านจนอยู่กันได้ บางทีก็ขายกล่องไม้สำหรับใส่กระดาษชำระ บางทีก็ขายถังขยะ  ซึ่งบางทีก็ขายไม่ออก ก็เลือกอย่างอื่นมาขาย  แม่ของเขาบอกว่า “...never to look back in regret, but to immediately move on to the next thing...”

2. Learn to survive - fast
Richard Branson ถูกแม่ทำโทษตอนอายุ 5 ขวบโดยการให้ลงจากรถและหาทางกลับบ้านเองในระยะทางเกือบสามไมล์ก่อนจะถึงบ้าน  เพราะงอแงอยู่หลังรถขากลับจากช้อบปิ้ง  บทเรียนที่ต้องจดจำครั้งนี้ คือ การเอาชนะความอายและเรียนรู้ที่จะเอาตัวรอด ต้องถามทางคนเพื่อกลับให้ถึงบ้าน  

3. Put others first
ครอบครัวนี้เน้นทำงานเป็นทีมทุกเรื่องในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นงานทำสวน ช่วยเตรียมอาหาร การทำความสะอาด  Richard Branson มีน้องสาว 2 คน แม่ผลักดันอย่างหนักให้ทุกคนต้องช่วยกันทำงานให้เสร็จ  ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ก็เป็นที่มาของการมี healthy work ethic ในตัวของ Richard Branson เอง

4. Keep your feet on the ground
เมื่อคนมีชื่อเสียงหรือประสบความสำเร็จมากๆก็จะรู้สึกว่าลอยล้ำอยู่เหนือคนอื่น แม่ของ Richard Branson ไม่เคยเชื่อข่าวที่ลงเกี่ยวกับความสำเร็จและมักจะบอกให้ต้องติดดิน อย่าลอย อย่าฟุ้ง

5. Every day is a fresh chance
Richard Branson เห็นมาแต่เด็กว่าทุกเช้าแม่จะเต็มไปด้วยความสดชื่น เปี่ยมพลังพร้อมลุยกับสิ่งใหม่ๆ จนถึงทุกวันนี้ก็ยัง active อย่างเหลือเชื่อ ทำงานหลายโครงการ ล่าสุดได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับเด็กด้วย 

Richard Branson  เขียนถึงแม่ใน entrepreneur.com blog. ว่า “แม่ของผมเป็นผู้หญิงมีพลังเหลือเฟือ ชอบกีฬา ชอบเต้นรำและผจญภัยไปทุกที่  ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำงานใน Navy หลังจากนั้นก็มาเป็นแอร์โฮสเตสที่ดูแลความปลอดภัยให้ผู้โดยสารอย่างเอาใจใส่ ตรวจสอบทุกอย่างให้แน่ใจว่าไม่มีอะไรผิดพลาดโดยเฉพาะเรื่องการสวม oxygen masks ในเครื่องบิน....หลังจากที่แต่งงานกับพ่อ Edward Branson ซึ่งเป็นทนายความก็อาศัยอยู่ในชนบทของประเทศอังกฤษ  มาตลอด  ถือเป็นพ่อแม่ที่ใจดีมาก ให้พลัง ให้ความรัก ให้โอกาสและอิสระตลอดเวลาที่ได้เลี้ยงดู  ซึ่งผมเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้สะท้อนอยู่ในค่านิยมของ Virgin brand ”

วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทเรียนการพัฒนาตัวเอง พัฒนาธุรกิจจาก Oscars


Young Entrepreneur ได้สรุปบทเรียนโดยเน้นเรื่องแบรนด์จากเวทีประกาศรางวัลออสการ์ Oscars ครั้งที่ 85 ไว้ แต่เราอยากมองในแง่มุมของการพัฒนาตนเองและบริหารจัดการธุรกิจมากกว่า ถ้าพิจารณาจากบรรดาผู้ที่ถูกเสนอชื่อเข้ารับรางวัลออสการ์ในปีนี้   จะเห็นว่า
1. เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ออสการ์ที่ผู้เข้าชิงรางวัลประเภทนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมมีช่องว่างระหว่างอายุที่ต่างกันมาก โดย Emmanuelle Riva จาก Amour อายุ 85 ปี เป็นผู้เข้าชิงที่มีอายุมากที่สุดในครั้งนี้ ขณะเดียวกัน Quvenzhane Willis จาก Beasts of the Southern Wild อายุเพียง 9 ปี เป็นหนูน้อยคนที่17 ที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนี้
ดังนั้น อายุไม่ใช่ปัญหาในการพัฒนาตนเอง ถึงจะแก่แต่มีไฟ และแม้จะเด็กแต่รู้จักศักยภาพตัวเองและฉายได้ถูกที่ถูกเวลา ก็จะได้รับการชื่นชมยอมรับ สามารถประสบความสำเร็จได้  ในการบริหารจัดการคนที่มีอายุต่างกันในองค์กร ต้องเปิดโอกาสที่เหมาะให้ได้แสดงความสามารถตามความถนัด ไม่ว่าจะเป็นเด็กใหม่หรือพนักงานเก่าๆของเรา  หาจุดแข็งในบริบทใหม่ๆที่จะนำประโยชน์มาสู่ความสำเร็จในการทำงานร่วมกัน  เป็นเด็กไม่ต้องซ่าไปทุกเรื่อง  เป็นผู้ใหญ่ก็ไม่ต้องใส่เกือกไปทุกที่เหมือนกัน  เก่งตรงไหน ทำตรงนั้น รู้จักบทบาทหน้าที่ให้ชัด อยู่กันได้ไม่ว่าจะ Gen Y หรือใกล้วาย
2. การเสนอชื่อ Alan Arkin ที่มีอายุ 78 ปี เข้าชิงรางวัลประเภทนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง Argo ซึ่งเขาครองตำแหน่งนักแสดงที่เว้นว่างจากการถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์เป็นเวลายาวนานที่สุดนับตั้งแต่ครั้งแรกเมื่อเขาอายุ 46 ปี จากเรื่อง The Russians Are Coming
แปลได้ว่า ความต่อเนื่องสร้างความสำเร็จ องค์กรธุรกิจช่วงแรกอาจติดๆขัดๆเป็นธรรมดา  เราอาจรู้สึกว่าเหนื่อยที่ต้องลุยอยู่ลำพังมาหลายปี แต่หากเราสู้ เราสามารถประคับประคองธุรกิจเราอย่างมีใจที่ไม่แพ้ สักวันต้องประสบความสำเร็จตามใจปรารถนา  ต้องอดทนไม่ว่าจะยาวนานแค่ไหน  ต้องขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเหนื่อยล้าสักเพียงใด
3. นักแสดงประกอบอย่าง Jacki Weaver ชาวออสเตรียเลียจากเรื่อง Silver Lining Playbooks เป็นอีกหนึ่งคนที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลประเภทนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม แม้ว่าจะประกบคู่กับ Robert DeNiro ที่ใครๆให้ความสนใจเมื่อเขาปรากฏตัวบนจอเสมือนเป็นแบรนด์ดังที่คุ้นตาแต่ความสามารถที่โดดเด่นด้านการแสดงของ Weaver ก็เป็นอีกจุดขายหนึ่งที่สามารถสะกดสายตาผู้ชมได้เป็นอย่างดี
ข้อคิด คือ ธุรกิจเราอาจไม่ใหญ่โต ไม่เป็นที่รู้จักเหมือนองค์กรใหญ่ๆ ไปไหนใครก็ไม่รู้จัก ไม่เห็นจะเป็นอะไร สินค้า บริการของเราก็ดังได้ในวันหนึ่งถ้าเราหาโอกาส ใช้ความสามารถในการดึงจุดแข็งที่แตกต่างออกมาให้ได้และมันเป็นจุดที่ดีกว่าคนตัวโต แจ็คฆ่ายักษ์ได้ฉันใดก็ฉันนั้น  มีคนเล็กๆธรรมดาหลายคนที่มีจุดยืนของตัวเอง มุ่งมั่นพัฒนาทำในสิ่งที่ตัวเองรัก ชอบ ถนัดแล้วประสบความสำเร็จ เช่น ดาบวิชัยก็เป็นที่รู้จักกันในสังคมไทย จากการเป็นผู้ปลูกต้นไม้มากกว่าสองล้านต้นในอำเภอปรางค์กู่ ศรีสะเกษ จนสามารถทำให้อำเภอปรางค์กู่ อำเภอที่เคยจัดว่าแห้งแล้งที่สุดแห่งหนึ่ง ปัจจุบันเป็นพื้นที่ๆอุดมสมบูรณ์ หรือคุณลุงที่ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวอย่างคุณลุงสงัด อินมะตูม ชายชราแห่งพรหมพิราม เดินเท้าไปดูแลต้นไม้ที่ปลูกไว้ในวัดต่างๆ ทุกวัน พื้นที่ป่าของลุงไม่ได้ใหญ่โต เพียง 36 ไร่ มีต้นไม้หลากหลาย 17 ชนิด ราว 5,000 ต้น และเพาะชำกล้าไม้ให้แก่ผู้คนเพื่อนำไปช่วยกันสร้างโลกสีเขียวกว่าหนึ่งแสนต้น โดยไม่เคยต้องการค่าตอบแทน ด้วยตระหนักว่าการปลูกต้นไม้ คือการทำบุญ  คนเราไม่ต้องยิ่งใหญ่ก็สร้างความเปลี่ยนแปลงได้
4.  Anne Hathaway เป็นหนึ่งในนักแสดงที่ประสบความสำเร็จชนะรางวัลออสการ์ประเภทนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมจากบท Fantine เรื่อง Les Miserables แม้ว่าในภาพยนตร์เรื่องนี้เธอไม่ได้มีบทบาทมากเท่ากับหลายๆเรื่องที่เคยแสดงมา แต่ก็ยังสามารถเรียกเสียงฮือฮาและสะกดใจคนดูจากการตีบทแตกฉากร้องเพลง I Dreamed a dream ที่เข้าถึงแก่นอารมณ์ เป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆที่เธอได้แสดงความโดดเด่นออกมาอย่างน่าทึ่ง
มันเป็นเรื่องของ “การเลือก” ที่บางครั้งไม่ต้องมานั่งเสียเวลาแข่งขัน  เสียเวลานำเสนองาน  หรือเสียเวลาประชุมงานอะไรให้มากมายเกินจำเป็น  เพียงแต่เวลาใดที่ใครก็ตามหยิบยื่นโอกาสมาให้  เราต้องตั้งใจจริงกับโอกาสและทำมันให้สำเร็จ เราจะได้รับการจดจำไปอีกนาน  มันเป็น sweet spot ถูกเรื่อง ถูกที่ ถูกคน ถูกเวลา

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

คน 5 ประเภทที่อยู่ใกล้แล้ว...ซวย



ในองค์กรถ้าเราไม่ได้ทำงานร่วมกันใกล้ชิด ก็ไม่เห็นว่าเป็นปัญหา แต่ถ้าต้องทำงานแบบตัวต่อตัว อันนี้..ยาพิษชัดๆ 
1. ผีดูดเลือด
ผีแบบนี้ไม่ได้กินเลือดตรงๆ  แต่เป็นแวมไพร์ดูดเอาพลังดีๆในองค์กรให้เแห้งเหือด  สังเกตุว่าจะเป็นผีประเภทเข้ามาก็ต้องการความสนใจ อยากให้เราแก้ปัญหาให้ด่วน เรื่องแต่ละเรื่องที่เล่าก็จะประมาณว่าตัวเองลำบากยากเย็นอย่างไรในการทำงาน หรือมีเหตุผลร้อยแปดที่จะบอกว่าทำไมงานในองค์กรไม่สำเร็จ คือ สื่อสารแต่เรื่องร้ายๆที่ทำลายอารมณ์ดีๆ ทำลายบรรยากาศของคนทำงานด้วยกัน 
2. ภูเขาไฟ
พวกเงียบๆแต่เก็บมันทุกแต้มที่คนทำไม่ดีกับตัวเองไว้ สร้างความกดดันให้ตัวเอง ไม่ยอมพูด  สุดท้ายถ้าระเบิดออกมา คนจะงงว่า เฮ้ย..นิวเคลียร์ลง  เฮ้ย..อะไรกันนี่ มันต้องขนาดนี้เลยหรือ  
3. จิ้งจอก
เรียกได้ว่า frenemies  พวกนี้ออกหน้าออกตาเป็นแม่ยกเราเลย เชียร์มันทุกเรื่อง ประมาณว่าฉันอยู่เคียงข้างเธอ   แต่จะแอบก่อวินาศกรรมลับหลังในทุกสิ่งที่เราทำ  ทำให้เราสูญเสียความมั่นใจ สัญญาว่าช่วยเต็มที่ แต่ทำไม่ได้ ซึ่งแน่นอนมีเหตุผลสวยงามตามมาด้วย  มักจะใช้ทั้งภาษากาย ภาษาพูดเป็นมิตรเสมอเพื่อซ่อนความตั้งใจที่จะทำลายไว้อย่างแนบเนียน กว่าจะรู้ตัว..จิ้งจอกก็งาบเราเสียแล้ว 
4. พยาธิ
พวกนี้มีเยอะ ปรสิตอยากได้หน้า เอาดีเข้าตัว พวกพยาธิจะรอกินตับ  จ้องตอนที่คนมีแนวคิดดีๆพอแนวคิดเริ่มเป็นจริงเป็นจัง คนเริ่มสนใจ จะแทรกเข้ามาทันที ประมาณว่าเป็น idea's sponsor เป็นคนอยู่เบื้องหลังความสำเร็จนั้น คือ เห็นขบวนพาเหรดแล้วรีบวิ่งมาอยู่แถวหน้าเลย 
5. หมาเจ็บ
พวกชีวิตรันทด หดหู่ทั้งชาติ เอาเรื่องส่วนตัวมาเป็นข้ออ้างในที่ทำงาน ทำให้เราต้องเศร้าสลดตามเลยต้องมีข้อยกเว้นให้เสมอ  อันนี้เรียกได้ว่าเป็นพวก temporary handicap 

แบบนี้ทำงานด้วยไม่ไหว มันแสดงถึงความประพฤติปฏิบัติที่ขาดคุณธรรมจริยธรรม จรรยาวิชาชีพ ไม่เป็นมืออาชีพ มุ่งประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์องค์กร มันชวนปวดหัว ยิ่งอยู่ในองค์กรใหญ่ ยิ่งต้องปวดหัวมากเข้าไปอีก  

แล้วจะพัฒนายังไง.. คำตอบ คือ Ctrl Alt Del 
Ctrl = control yourself
Alt = look for an alternate solution
Del = delete the situation that hurts you
ก็ยังไม่หายนะ...คนแหล่านี้ไม่ต้องพัฒนา มันอยู่ใน DNA เป็นนิสัยถาวร ทำได้อย่างเดียว คือ กดพร้อมกัน Ctrl Alt Del