วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563

คิดวันละอย่าง # 267

วันสำคัญทุกวัน....วันไม่สำคัญก็ทุกวัน
..วันไหนก็สำคัญและวันไหนก็ไม่สำคัญ 🥰
พอคิดว่าสำคัญ...มันดีที่เราอยากให้ดีและตั้งใจทำให้ดี
พอคิดว่าไม่สำคัญ...มันยิ่งดีที่ไม่ว่าเกิดอะไรที่ไม่ชอบใจก็ไม่เป็นไร
วันสำคัญคือวันที่ต้องทำใจดีดี อารมณ์ดีดี ยิ้มน้อยๆในใจไป
วันไม่สำคัญคือวันที่ปล่อยวางง่าย ยิ้มน้อยๆในใจไปเช่นกัน
ไม่ว่าเป็นวันสำคัญหรือไม่สำคัญ วันไหนก็ตาม...
➡️ การยังมีลมหายใจ รู้สึกถึงลมหายใจตัวเองเป็นเรื่องจำเป็นทุกวัน
➡️ อัตตาให้มันน้อย ไม่ต้องสำคัญว่าสำคัญทุกวัน
➡️ การยิ้ม หัวเราะได้คือเป็นบุญมากแล้วในวันนั้น
➡️ การนั่งมอง ฟัง พูดเมื่อเรื่องเข้าตัวในบางวันเรียกสติได้ดีในวันนั้น
➡️ การได้เห็นคนรอบข้างมีความสุขเพราะเรามันมหัศจรรย์เป็นวันดี
➡️ ความรู้สึกอบอุ่นในใจมีค่ามากกว่าสิ่งใด มันคือพลังชีวิต
➡️ ความรู้สึกคนอื่นสำคัญทุกวัน
➡️ สังขารเป็นเรื่องของมัน เรื่องเราคือดูแลมันตามอัตภาพได้ทุกวัน
➡️ วันไหนคิดทำเรื่องพิเศษจากปกติให้กันถือเป็นเรื่องของคนมีใจ
➡️ การทบทวนความคิดแบบสายกลางทำให้เกิดการรู้ตัวทุกวัน
ขอบคุณที่ทุกวันยังมีชีวิต... วันไหนๆสำคัญก็ได้ ไม่สำคัญก็ได้

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2563

สมอง..อยู่กันไปนานๆหน่อย

ใจร้อน ไม่ยอมคน แรงมาแรงไปไม่โกง
แบบนี้สมองจะอยู่ด้วยกันไม่นาน
การโกรธ คือ แสดงอำนาจเหนือ
การเสียงดังโวยวาย คือ อยากให้คนทำตาม
แบบนี้เรียกคนหัวร้อน ทำบรรยากาศแย่
มันไม่ใช่แค่ทำให้คนอื่นลำบากใจ หรือ ร้อนตาม
แต่มัน backfire เพราะตัวเองจะซวย
มันส่งผลถึงสมองนะ ไม่ใช่แค่อารมณ์หรือใจ
สมองจะทำงานหนักมาก ใช้อ๊อกซิเจนมากกว่าปกติ
เพราะว่าต้องหาคำตอบในสิ่งที่เจ้าตัวหัวร้อนขึ้นมา
สมองเลยไม่สามารถแยกแยะอะไรได้ดี
สมองแปรปรวนไม่มีเหตุผลแล้ว
ปิดเปิด ปิดเปิด มันทำให้สมองพังและเสื่อมก่อนวัย

วิธีบำรุงสมอง คือ
สูดหายใจเข้าลึกๆยาวๆ ให้ออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงสมองให้เพียงพอ
ให้มันมีสติมากขึ้น
โกรธ...อย่าเพิ่งแสดงออก อย่าเพิ่งพูด
ใช้ความร้อนให้เป็นประโยชน์ อย่าไปใช้กับคนอื่น
ใช้เผาหัวแข็งให้มันอ่อนลง
อัพเกรดปัญญาหน่อย อย่าให้สมองทำงานหนัก
สมองจะได้อยู่กับเราไปนานๆ


วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2563

คิดวันละอย่าง # 266


ทุกวันนี้มันเดือดร้อนกันหนักข้อขึ้นทุกที เพราะไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการละเมิดสิทธิ์คนอื่นขาดความเข้าใจในสิทธิพื้นฐานของแต่ละคน เรามองเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องล้อเลียนเพื่อนฝูง ก็จะว่าล้อเล่นขำขำ แซงคิวหรือฝ่าไฟแดงก็จะว่าตัวเองรีบ  ไม่ตรงเวลาก็จะว่าไม่เห็นเป็นไร  มันมีอีกหลายเรื่องมากที่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลโดยรู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้างเพราะมันชิน  แต่ในความจริงนั้น อะไรก็ตามที่เป็นการกระทำที่ส่งผลไม่ดีต่อจิตใจคนอื่น มันกระทบศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์กันนะ ถือเป็นการเหยียดหยามกันเลย มันสามารถเลยเถิดไปเกิดความเสียหาย และที่หนักมากคือการเสียชีวิตก็มีให้เห็น

มันเป็นทัศนคติที่น่ากลัวมาก เพราะเป็นรากของมุมมองแบบจัดกลุ่มเป็นการเลือกปฎิบัติกันเลย มองแบบอคติว่าคนเป็นแบบไหน แล้วจัดประเภทพวกเขาพวกเราไปในทันที มันฝังลึกนะ พฤติกรรมแย่ๆเลวๆโหดๆจึงเกิดขึ้นบนโลกนี้ได้ก็เพราะไม่ตระหนักถึงเรื่องการละเมิดสิทธิ์คนอื่น” 

คนเรามีศักดิ์ศรี หวงแหนเกียรติยศของตัวกันทุกคน เมื่อมันเกิดความเสียหายร้ายแรงขึ้น มันจึงยากในการเยียวยาให้คืนมาดังเดิม 

ในสังคมเล็กๆของเรา หลายครั้งที่มีเรื่องละเมิดสิทธิ์ แค่จัดสรรให้คนนั้นเป็นแบบนี้ คนนี้ต้องทำแบบนั้น อันนี้ก็เริ่มนิสัยไม่ดีไม่คำนึงถึงสิทธิ์คนอื่นแล้วนะ  อย่าว่าแต่คน แม้แต่หมาเราก็ไม่มีสิทธิ์จะละเมิดนะ 

เริ่มต้นง่ายๆ แค่อย่าเอาแต่ใจตัวเอง !! 

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2563

หลัง COVID-19 ธุรกิจต้องคิดยั่งยืน


มันไม่ใช่แค่ trade-offs แล้ว ธุรกิจที่ดีต้องปลูกฝังความยั่งยืน 
การจัดการสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องแค่การเห็นด้วยเห็นพ้อง มันต้องเป็น core management และ financial issue ขององค์กรด้วย ก็รู้กันอยู่ว่าทุกวันนี้ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศของโลกมีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคน เป็นผลกระทบทางลบที่ทำให้เกิดความเดือดร้อน ทุกข์เข็ญลำบากทั้งคนทั้งธุรกิจ เป็น costs ที่เพิ่มขึ้นทุกที การจัดการสิ่งแวดล้อมจึงถือเป็นเรื่องหลักของธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกแล้ว CEO หลายคนยอมรับเลยว่า climate risk is investment risk !! 
การมีกลยุทธ์ระดับองค์กรในประเด็นสิ่งแวดล้อม คือ การได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน เพราะว่าการเตรียมรับมือกับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมนี้ จ่ายน้อยกว่าการซ่อมแซมรวมถึงการติดตั้งเพิ่มเติมทีหลัง เหมือนกับช่วง COVID-19 บุก ค่าใช้จ่ายต่างๆในการป้องกัน รักษานี่มันมหาศาลนะ และ “ต้องจ่าย” เช่นเดียวกันกับวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อม ถ้าเกิดขึ้นจริง..ซึ่งเกิดแน่ๆ การเสียทรัพย์ ลงทุนเพิ่มนี่ก็ไม่อยากจะคิด มันช็อคกันได้เลย และอาจล้มละลายได้ อย่าประมาท climate change เพราะการเพิ่มหรือผันผวนของอุณหภูมิ มันคือการเกิดของเชื้อโรคติดต่อที่เพี้ยนๆมากมาย จะเอาไม่อยู่นะ บทบาทในการรับมือกับความผันผวนของสิ่งแวดล้อมจะเป็นอย่างไร ก็นึกถึงตอนที่ธุรกิจรับมือกับ COVID-19 เอาเองแล้วกัน มันสาหัสขนาดไหน ช็อคกันไปทั้งโลก ความเสี่ยงสะสมแบบนี้มันต้องอาศัยการปลูกฝังกันและความร่วมมือกันเท่านั้นจึงจะรอด
ธุรกิจต้องมี environmental management เป็น core management ซึ่งเกี่ยวพันกับเรื่องเงิน เพื่อเร่งรัดการลงทุนในนวัตกรรม ความร่วมมือเป็น partnership กัน และติดตามรายงานสถานะการณ์ของกันและกันอย่างทันท่วงที แน่นอนว่า information เป็นพื้นฐานที่ต้องพัฒนาก่อนเพื่อน รับเอาสิ่งแวดล้อมมาช่วยกันรับผิดชอบใน value chain ของธุรกิจที่ต้องมีการวัดและการจัดการอย่างจริงจัง ประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง ให้มันเป็น core corporate capability โดยใช้เครื่องมือต่างๆทางการจัดการและใช้ทีมที่ยืดหยุ่นและมีความสามารถในการวิเคราะห์ มันจำเป็นแล้ว !! 
Change before YOU have to !!

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ธุรกิจหลัง COVID 19 ต้องคิดใหม่



สำหรับธุรกิจ...การกลับคืนมาดังเดิมคงค่อยเป็นค่อยไป ตามประกาศของรัฐบาลว่าจะให้เปิดธุรกิจไหนบ้าง เมื่อไหร่ ซึ่งมันแตกต่างกันไป แล้วแต่ sector  ธุรกิจคงลำบากถ้าจะเปิดกันอีกทีปุบปับ มันยากเหมือนกันนะ อะไรๆมันเปลี่ยนไปมาก ตั้งตัวกันไม่ค่อยทัน  ระหว่างร้องเพลงรอ มันมีอยู่ 4 เรื่องที่ต้อง focus นะ คือ recover รายได้ สร้างระบบการดำเนินงานใหม่ rethink เรื่ององค์กร และ การนำเอา digital solutions มาใช้ 4 เรื่องนี้ต้องปล่อยของให้ไว พิจารณากระบวนงานและทำเป็นขั้นตอน

การกลับมาของธุรกิจครั้งนี้ ต้องใช้จินตนาการกันมั่งแล้ว ประมาณอะไรบ้างที่จะเป็น next normal เช่น 
  • พวกค้าปลีกกับพวกบันเทิงเริงรมย์ เรื่องของการรักษาระยะห่างเป็นชีวิตจริงแล้ว คงต้องมา design พื้นที่และ new business model
  • พวกสำนักงานทั้งหลาย เรื่องการวางแผนงานต่างๆจะเป็นเรื่องที่ต้องคิดว่าจะรักษาความเกี่ยวพันกันยังไงเมื่อมันเป็น remote working 
  • พวกโรงงาน คงต้องมากำหนดค่าต่างๆใหม่ reconfigure สายการผลิตและกระบวนงานทั้งหมด 
  • พวกบริการ เรื่องการเข้าถึงลูกค้าที่ไม่คุ้นเคย ไม่เคยใช้ หรือเข้าไม่ถึง online ต้องมา 
  • พวกขนส่งคน จะเป็นเรื่องการสร้างความมั่นใจว่าเมื่อเดินทางไปกลับแล้วจะไม่เจ็บป่วย ไม่ติดเชื้อ 
สรุปสิริรวม คือ ไม่ว่าธุรกิจใด การทำงานแม้แต่ routine ยังต้องเปลี่ยน 

ที่สำคัญอีกประการ คือ การเร่งรัดเรื่อง digitalization จะเรียก 4.0 หรืออะไรก็แล้วแต่ ในชีวิตจริง คือ มันมีพวก set of digital และเครื่องมือการวิเคราะห์ใหม่ๆที่พัฒนาขึ้นมาในการลด costs ของการดำเนินงานอยู่ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจก้าวไปได้อย่างยืดหยุ่น ไม่ต้องตอดกับดักเดิมๆที่ทำให้เคลื่อนไม่ออก  เทคโนโลยีมีอยู่จริงและดี อยู่ที่ต้องใช้มันอย่างฉลาด 


วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563

หมดเวลา traditional organizational structures

ถึงเวลา networks และ teamwork 
หมดเวลา traditional organizational structures

ต่อไปนี้...มันเป็นเรื่องของการยึดที่ expertise ไม่ใช่เรื่อง rank มันเป็นเรื่องของ sense of urgency และการแก้ไขปัญหาที่รวดเร็วขึ้น การมีโครงสร้างเชยๆเป็นขนมชั้นจะไม่ช่วยอะไร นอกจากเสียเวลาในการประชุมไปสองชั่วโมง แต่ไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้

ถึงยุคของการเร่งความเร็วเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ความคล่องตัวปราดเปรียว คือ “agility” ที่เป็นความสามารถที่จะ reconfigure พวกกลยุทธ์ โครงสร้าง กระบวนงาน คนและเทคโนโลยีให้มันรวดเร็วเพื่อสร้าง “คุณค่า” ซึ่งเป็นคุณค่าที่ป้องกันอุปสรรค หรือเป็นคุณค่าที่ต่อเติมโอกาสในการทำธุรกิจ คือตอนนี้ไม่เร่งก็ต้องเร่งเพราะว่าวิกฤติมาถึงหน้าบ้าน เข้ามาในบ้านแล้ว พวก agile company เป็นองค์กรที่ decentralized มากและ มีการตัดสินใจแบบ top-down และ command-and-control น้อย ในองค์กรจะมี agile teams ที่ถ้าเป็น day-to-day decisions นี่ทำกันเองได้เลย สำหรับพวกปลาตัวใหญ่จะรับผิดชอบการตัดสินใจแบบ big-bet คือไม่ make ก็ break ไปเลย แบบนี้เดี๋ยวจะหาว่า agile teams จะเป็น out-of-control teams มันไม่ใช่นะ ความรับผิดชอบจะมาในรูปแบบ tracking และวัดกันที่ผลลัพธ์ outcomes ที่ตกลงไว้ มันแปลว่าต้องให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบพอๆกับความยืดหยุ่น แนวคิดคือมันครอบคลุมไปถึงเรื่องคนที่ใช่ในตำแหน่งที่เหมาะเพื่อตัดสินใจและลุยงาน 

หลักการหนึ่งที่คาดว่าธุรกิจเข้าใจดีขึ้นหลังจากวิกฤตินี้ คือ โครงสร้างการตัดสินใจแบบแบนๆ ไม่มีลำดับชั้นเยอะ flatter decision-making structure มันเร็วกว่าแบบเดิมๆ แบบ traditional ที่เคยใช้ พวก routine decisions ที่เคยไล่เรียงตามสายการบังคับบัญชาจะยกไปให้คนทำงานปกติตัดสินใจ มันเป็น good effect ที่ธุรกิจเห็นชัด เห็นจริง ดูง่ายๆเลย ก็มีนวัตกรรมเรื่องการทำ face shield ใช้กันเองในทีมเล็กๆของคนในโรงพยาบาล ไม่ต้องขออนุมัติให้มันเสียเวลา อันนี้เป็น new organization paradigm คือ empowerment และ speed

อีกเรื่อง คือ ecosystems ส่วนต่างๆในองค์กรมันเข้าล็อคด้วยกันสวยงามมากกว่าแยกกันทำ ธุรกิจที่มี ecosystems แจ๋วๆ พวก supplier พวก partner พวกคนขาย รวมถึงลูกค้าจะช่วยกันหาทางทำงานร่วมกันในช่วงวิกฤติยิ่งกว่าสมัยใดที่ผ่านมา และที่สำคัญที่ทำได้และจะสำเร็จได้ คือ การมีความสัมพันธ์ที่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน มี trust ไม่ใช้แค่ transactions !!

สุดท้าย agility จะไม่ใช่แค่คำสวยหรูดูดี ถ้าธุรกิจตั้งใจสร้างและเร่งความสามารถในการวินิจฉัย วิเคราะห์พวกข้อมูลที่จำเป็นในการสร้างผลงาน ซึ่งมันจำเป็นต้อง reskill คนในองค์กร ทักษะเก่าไม่สามารถสร้างอะไรใหม่ๆได้ มันต้องมีทักษะและศักยภาพใหม่ๆที่จะทำให้เกิดความลื่นไหล เป็นองค์กรที่ปราดเปรียว อย่าหวังถูกหวยโดยไม่ลงทุนซื้อหวย 
คำคม : 
an organization that is always learning is always improving !!