วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2561

คิดวันละอย่าง # 153

ระบบชีวิตและการรับรู้ของคน

ชอบแนวคิดและการศึกษาของคุณ Humberto Maturana นักชีววิทยาเจ้าของคำว่า "autopoiesis" ระบบที่สร้างตัวเองได้ดูแลตัวเองได้ มันเป็นธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต เป็น self-maintaining structure ใน living systems 

เรื่องการที่คนเราคิด ทำ อะไรๆขึ้นมานั้น ไม่ว่าดีหรือไม่ดี  มันน่าสนใจเสมอนะ  มันคงเกี่ยวกับระบบชีวิต เกี่ยวกับสมองนี่แหละ  ว่ากันว่าคนนั้นมีเซลล์ในสมองจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งแสนล้านเซลล์  พวกนี้เชื่อมโยงกันหมด เชื่อมโยงไปตามประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคน  ซึ่งคิดๆไปแล้ว แต่ละคนคงมีชุดข้อมูลในสมองตัวเองโคตรเยอะเลย และ โอโห สมองนี้เก็บไว้หมดจดเลยนะ เก็บมันทุกเม็ดเลย 

ชุดข้อมูลที่ว่านี้ Humberto Maturana เรียกว่า “Structurally Determined” ประมาณว่า...เมื่อคนได้รับสิ่งเร้าจากข้างนอก สมองเกิดรับรู้ขึ้นเลย และที่มันทำต่อ คือตอบสนองอัตโนมัติคิดว่าคงเหมือนระบบของ googles พอเราพิมพ์อะไรเข้าไป มันทำการเสิร์ชทันที พุ่งไปหาพวกชุดข้อมูล โครงสร้างข้อมูลที่เก็บเอาไว้ในสมอง (คือมันคงเชื่อมๆกันไว้ก่อนแล้ว โดยบางทีเราก็ไม่รู้เรื่องอะไรด้วย..แต่มันมีของมันอยู่ในนั้น ประสบการณ์ทั้งหมดในชีวิตเรา...อยู่ในนั้น)  

อันนี้แหละที่เราทำอะไรเป็นอัตโนมัติ รวดเร็ว...จนตั้งตัวไม่ทัน (ในหลายๆเรื่องเลยนะ)

เช่น เราเคยเรียนรู้ว่าการทำร้ายกันนั้นไม่ดี ไม่ควรทำ สมองเรามันเลยมีชุดข้อมูลว่าด้วยการทำร้ายกันเป็น “Structurally Determined” เข้าไปไว้ในหัวเลย พอเรารู้เห็นการทำร้ายกันปุ๊บ เราจะไม่พอใจ เราจะรู้สึกแย่ขึ้นมาทันทีอย่างอัตโนมัติ ไม่ได้ตั้งตัวเลยอันนี้มันเป็นกลไกของระบบชีวิตและการรับรู้ของคน ที่ธรรมชาติร่างกาย สมองของเรามันมีอยู่  มันออกแบบมาเลยเพื่อที่จะให้เราสามารถมีประสิทธิภาพในการรู้สึก การคิด การทำอะไรได้เร็ว...จนต้องมาคิดว่า...มันเร็วไปมั๊ย !! 

คือที่เร็วเพราะใช้ชุดข้อมูลเก่าตลอดเลย เป็นภาคบังคับอัตโนมัติอ่ะนะ  
...แล้วมันใช่เหรอ...
สิ่งที่เราเจอๆนี่มันไม่มีความเดจาวูตลอดนะ มันอาจเป็นเหตุการณ์เหมือนกัน แต่มันคนละเวลา คนละที่ และไม่ใช่คนเดียวกันทำแน่ๆ แต่ไอ้ระบบนี้มันทำให้เรารู้สึกเหมือนเดิม มันถูกมั๊ย (เขียนไปเขียนมาเริ่มงง สมองมีแต่ให้ใช้ข้อมูลชุดเดิม ฮาเราไม่ได้ใช้ชุดข้อมูลใหม่ๆเลย มันบังคับเราชัดๆ 

ทีนี้ไอ้ชุดข้อมูลใหม่ๆ" มันจะมาได้ยังไง ที่ไม่ต้องให้เราเร็วสปีดนรก แล้วอาจมีเดือดร้อนใจ เผลอไปเบียด ไปมีความมิจฉาทิฐิแบบอัตโนมัติเข้าให้  ตามหลักการมีคนว่าไว้ คือ ต่อเมื่อคนสามารถรู้สึกถึงผลของความรู้สึกผลของชุดข้อมูลเดิม ว่ามันทำให้เกิดอะไรกับร่างกาย กับใจแล้วเท่านั้น  สมองมันถึงจะ “re-route” เพราะมันเรียนรู้ปฏิกิริยาเราแล้วว่า...แบบนี้ แบบนั้นมันส่งผลดีหรือไม่ดีต่อร่างกายคน ต่อใจคน เช่น อารมณ์ไม่ดี ใจมันจะอึดอัด เต้นแรงขึ้น พอโกรธเนี่ย ใจราวกับรัวกลองจะออกรบ เนี่ย ถ้าเราแค่รับรู้ได้นะ สมองมันทำบันทึกใหม่เลย นี่เป็นโอกาสเดียวที่จะสร้างชุดข้อมูลใหม่ให้เกิดขึ้นมาเพื่อแทนที่ชุดข้อมูลเก่า

สรุปสิริรวม คือ สติ นั่นแหละนะ คือ การรับรู้ที่ส่งผลให้สมองมีชุดข้อมูลใหม่” 
แปลว่า ยิ่งสติมา ปัญญาเกิดได้ด้วยชุดข้อมูลใหม่” 
มันเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ของคน 
จุดเริ่มต้นแห่งการมีปัญญาของคน !! 

ในปัจจุบันที่ซวยหนักข้อ ไม่ใช่เรื่องการรับรู้ แต่เป็นเรื่องการไม่รับรู้” 

เมื่อไม่รับรู้คือไม่รู้สึก” 
เกิดเรื่องอะไร...ก็ไม่รู้สึก อันนี้ตัวใครตัวมันนะ
สมองคนไม่รู้สึกก็จะโดนบังคับให้ใช้แต่ชุดข้อมูลชุดเดิมแบบที่เคยใช้มาตลอด
หมดโอกาสเรียนรู้ที่จะสร้างการโยงใย เชื่อมต่อของเซลล์สมองชุดใหม่ไม่มี “Structurally Determined” ชุดใหม่ในชาตินี้ 
ที่จะเจอก็มีแต่ความมืดบอด” Maturana เรียกว่า “Cognitive Blindness”
มีแต่ใช้ประสบการณ์เดิมอยู่ในระบบชีวิตและการรับรู้...เท่านั้น..
...น่าเสียดายศักยภาพสมอง...ที่เอามาไว้แค่คั่นหูตัวเอง !!

และทั้งหมดทั้งมวลนี้เอง ที่เป็นเหตุแห่งการคิดไม่เหมือนกัน
“Structurally Determined” มันแตกต่างกัน
ซึ่งมันไม่มีประโยชน์อะไรที่จะไปเปลี่ยนแปลงใคร ไปรู้เรื่องราวอะไร หรือข้อมูลอะไร
ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง...มันไม่เปลี่ยน...
จะให้ดีมันต้องใช้ความเข้าใจและฝึกการรับรู้กันเอาเอง...
เกิดอะไรขึ้น ก็พยายามนึกไปว่า เฮ้ย..กำลังใช้ชุดข้อมูลไหนอยู่เนี่ย...เดิมๆหรือเปล่า..
ที่สำคัญ...ใช้สติ จับความรู้สึกไป... เป็นการฝึกการรับรู้ประจำวัน...

แค่รับรู้ได้ ก็เท่ากับเปิดโอกาสให้สมองได้เลือกที่จะใช้อะไรที่แตกต่างไปจากเดิม” 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น