วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2563

ความสุขในโลกที่ผันผวน

ความสุขในโลกที่ผันผวน
มีคนบอกว่าความสุขสามารถแยกได้ 3 มิติ
➡️ ความสุขแบบระยะสั้น (Affective Well-being) เป็นอารมณ์และความรู้สึกที่พบเจอในแต่ละวัน ดูได้จากการที่เรายิ้ม หัวเราะบ่อยแค่ไหน เครียดบ้างมั๊ย ตัวแปรที่สำคัญ คือ ‘เวลา’ ประมาณว่าเราทำอะไรบ้างในแต่ละวัน เช่น การสังสรรค์กับเพื่อน การรับประทานอาหารที่อร่อย เป็นต้น 
➡️ ความสุขแบบระยะยาว (Life Satisfaction) เป็นความพึงพอใจในชีวิต ขึ้นกับว่าเรามีสิ่งที่ต้องการหรือสิ่งที่คาดหวังในชีวิตมากน้อยแค่ไหน ตัวแปรความสุขระยะยาว เช่น เงินเดือน หน้าที่การงาน อายุ การแต่งงาน จำนวนและคุณภาพของคนสนิทรอบข้าง และสุขภาพ
➡️ ความสุขแบบระยะยาวมาก (Meanings and Purposes) เป็นความหมายและวัตถุประสงค์ของชีวิต ถือเป็นความสุขที่มีระยะเวลาที่ยาวมาก มันคือการที่สามารถบอกกับตัวเองได้ว่าชีวิตของเรามีความหมาย เราใช้ชีวิตอย่างดีแล้ว ตัวแปรของความสุขระยะยาวมากก็คือการได้ทำประโยชน์ให้กับส่วนรวม การช่วยเหลือคนอื่น
ในโลกที่ผันผวน จะมีอะไรดีไปกว่าการหาจุดสมดุลของความสุขทั้ง 3 มิติ การทำงานเพื่อเงินเดือนเยอะๆ ได้เงินมากๆอย่างเดียวอาจไม่ได้ทำให้เรามีความสุขระยะสั้น (Affective Well-being) และระยะยาวมาก (Meanings and Purposes) มันแปลว่าคนเราไม่ควรโฟกัสไปที่ความสุขในมิติใดมิติหนึ่งเท่านั้น 
ช่วงนี้พวกเราเจอกับสิ่งผันผวนมากอย่างการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 อย่าให้มันทำให้ความสุขเราหายไป เราต้องคิดทบทวนให้ดีกับตัวเองดูก่อน เอาความสุขทั้ง 3 มิติของเราตั้งไว้ แล้วพิจารณาว่ามีตัวแปรอะไรที่สำคัญบ้าง แล้วเริ่มต้นวางแผนอนาคตให้ตัวเองมีความสุข ซึ่งควรเป็นแผนที่ยืดหยุ่น เพื่อที่ว่าไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เราก็ยังจะสามารถมีความสุขได้ในโลกที่ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น