อายุเฉลี่ยของบริษัทที่อยู่ในลิสต์ของ S&P 500 ลดฮวบมากกว่าเมื่อ 50 ปีที่แล้ว เมื่อปี 1920 อายุเฉลี่ยของบริษัททั้งหลายตกประมาณ 67 ปี ตอนนี้เหลือแค่ 15 ปีตามที่ Professor Richard Foster จาก Yale ว่าไว้และจากที่อาจารย์คาดการณ์....ภายในปี 2020 นั้น 3/4 บริษัทที่มีใน S&P 500 จะเป็นบริษัทที่เราไม่เคยรู้มาก่อนว่ามันมีด้วยเหรอในโลกนี้ พวกที่ยังมีชีวิตเหลือรอดอยู่ก็อาจเปลี่ยนไป..คือเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น แต่ยังเหลือชื่อไว้ ไม่เชื่อก็ลองดู Berkshire Hathaway ของลุง Warren Buffet เมื่อก่อนก็เป็น textile mill ใน Rhode Island เดี๋ยวนี้กลายเป็น multinational conglomerate holding ไปแล้ว เป็นต้น คือจะบอกว่าบริษัททั้งหลายไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก ต้องเจอกับความผันผวนของตลาด ของสิ่งแวดล้อมที่คาดการณ์ลำบากอยู่ตลอด..ต้องให้ไว ต้องยืดหยุ่นในการบริหารจัดการเพื่อจะได้มองเห็น จะได้แสวงหาโอกาสในการออกสินค้าใหม่ การปรับกระบวนงานทางธุรกิจรวมถึงการสร้าง business models ใหม่ๆ
ให้ไวยังไงบ้าง..
ให้ไวแปลว่าต้องได้ economy of scope มันจะทำให้กล้ามเนื้อองค์กรยืดหยุ่น องค์กรอายุยืนขึ้นเพื่อสู้ต่อไปได้...การนี้ CEO ของ BMT Institute พี่เขาว่าต้อง...
Sense and Respond
บริษัทที่ปราดเปรียวทำกำไรได้จากการมองเห็นโอกาส เห็นตลาดใหม่ เห็นช่องว่างในตลาดเก่า โดยจะพิจารณาเปลี่ยนความต้องการในสินค้า หรือ บริการ เปลี่ยนรสนิยมลูกค้า เปลี่ยนเทคโนโลยี ลุยกับปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมและเล่นกับวัฒนธรรม วิถีชีวิตคน วิเคราะห์ตำแหน่ง จุดยืนของคู่แข่งขันในปัจจุบันและอนาคต จัดการศักยภาพภายในองค์กร ความสามารถแบบนี้จะได้มา..ต้องเปิด ต้องเชื่อมโยงกับคนหลายกลุ่ม จะตอบสนองได้ต้องเรียนรู้ข้ามขอบเขต ปัจจุบันเทคโนโลยีทำให้เราเรียนรู้ได้หลากหลาย ไม่ต้องอื่นไกลดูที่กระบวนงานทางธุรกิจของบริษัท แล้วนำเอาข้อมูล การวิเคราะห์ตีความมาเชื่อมกัน ก็จะเห็นและเรียนรู้ได้เอง ซึ่งทำให้เราสามารถสร้างทางเลือกไว้ตอบสนองได้หลายทางพร้อมกับออกแบบการดำเนินงานของเราไปในตัว...จะได้เลือกถูกว่าจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร แบบไหนดีที่สุดสำหรับเรา ตัวอย่างที่เห็นๆ คือ กลุ่มค้าปลีกเสื้อผ้าจากประเทศสเปน Zara ได้ขยายการผลิต ขยายสาขามายังกลุ่มประเทศ low-cost countries นี่เองทำให้สามารถตอบสนองต่อรสนิยมผู้บริโภคได้เร็ว Zara มี 300,000 SKUs (stock-keeping units) เพื่อให้มีเสื้อผ้าสไตล์ใหม่ๆเข้ามาในร้านให้ได้เร็วที่สุด ผู้จัดการต่างๆจะส่งข้อมูลรายงานการขาย การเงิน ปฎิกิริยาความรู้สึกของลูกค้าต่อสินค้าไปยังสำนักงานใหญ่ทุกอาทิตย์เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบและผลิตสินค้าใหม่ แนวคิดหรือเทรนด์ที่จับใจผู้จัดการในรายงานที่ส่งไปสามารถทำออกมาเป็นสินค้าได้ภายใน 15 วันถือว่าเร็วมากเพราะว่าตามมาตรฐานอุตสาหกรรมนี้จะใช้เวลา 6 เดือน อันนี้เป็นผลพวงของ sense & respond ของจริง
Improve and Innovate
บริษัทธุรกิจที่ม้วนลังกาหลังแล้วลงอย่างสง่างามได้ในภาวะการเปลี่ยนแปลงนั้นทำมากกว่าแค่การปรับปรุงการดำเนินงานในปัจจุบัน หรือ แค่มองหาโอกาสทางนวัตกรรม เพราะทุกธุรกิจก็ทำแบบนี้ทั้งนั้น แต่บริษัทที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เคลื่อนไหวตลอดเวลาและจะลงตัวสวย...ต้องมุ่งไปที่ speed ของการปรับปรุงและการสร้างนวัตกรรม มาดูกันว่าองค์กรเราอยู่ในประเภทไหนกันบ้าง...
• Opportunistic organizations องค์กรแบบนี้เน้นการปรับปรุง แต่พลาดการสร้างนวัตกรรมเพราะพวกนี้พยายามตามจับ best practices ที่ฮิตๆกันเพื่อใช้ในการปรับปรุงศักยภาพในปัจจุบัน ขอเน้นๆว่าศักยภาพปัจจุบันเท่านั้น..ถ้าจะชัดไปกว่านี้ คือ ศักยภาพเดิมๆ
• Innovative organizations อันนี้เน้นที่กระบวนการนวัตกรรม เน้นเทคโนโลยีใหม่ บริการใหม่ กลยุทธ์ใหม่ มุ่งคิดแต่การปฏิบัติในอนาคต แต่ไม่คิดจะปรับปรุงการดำเนินงานที่มีอยู่
• Fragile organizations เป็นองค์กรบอบบางเหลือเกิน...แตะนิดเดียวมีแตกมีเจ๊งได้ เพราะขาดความสามารถในการกำหนดและสำรวจโอกาส ไม่มีความสามารถด้านนวัตกรรม เมื่อเจอแรงกดดันทางการตลาดมากๆเข้า เจอสภาวะผันผวนบ่อยๆ องค์กรแบบนี้จะหืดขึ้นคอทีเดียว ไม่ว่าจะสำนึกแล้วและเริ่มพยายามปรับปรุงหรือมุ่งนวัตกรรมก็ไม่ทันแล้ว
• Innovative organizations อันนี้เน้นที่กระบวนการนวัตกรรม เน้นเทคโนโลยีใหม่ บริการใหม่ กลยุทธ์ใหม่ มุ่งคิดแต่การปฏิบัติในอนาคต แต่ไม่คิดจะปรับปรุงการดำเนินงานที่มีอยู่
• Fragile organizations เป็นองค์กรบอบบางเหลือเกิน...แตะนิดเดียวมีแตกมีเจ๊งได้ เพราะขาดความสามารถในการกำหนดและสำรวจโอกาส ไม่มีความสามารถด้านนวัตกรรม เมื่อเจอแรงกดดันทางการตลาดมากๆเข้า เจอสภาวะผันผวนบ่อยๆ องค์กรแบบนี้จะหืดขึ้นคอทีเดียว ไม่ว่าจะสำนึกแล้วและเริ่มพยายามปรับปรุงหรือมุ่งนวัตกรรมก็ไม่ทันแล้ว
ที่ว่ามาอยากให้เห็นภาพองค์กรตัวเองให้ชัด... แต่ที่เห็นๆก็คือบริษัทส่วนใหญ่ก็ทำมันควบคู่กันไปทั้งปรับปรุงทั้งสร้างนวัตกรรมในกระบวนงานและสินค้านั่นหละ แต่ว่าระดับในการให้ความสำคัญของกิจกรรมทั้งสองนี้จะเป็นตัวสะท้อน ตัวตัดสินความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสนามการแข่งขัน และยังยืนยันว่า speed คือ key factor ตัวอย่างคลาสสิคที่จะเล่าให้ฟังคือ บริษัท Procter & Gamble เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่มีชื่อในด้านสร้าง category ใหม่ๆของสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างสม่ำเสมอ ดูได้จาก Pampers ผ้าอ้อมใช้แล้วทิ้ง มายัง Crest ยาสีฟันอันแรกที่มีฟลูออไรด์ จนถึง Tide ผงซักฟอกที่ถือเป็น first synthetic laundry detergent แต่ในปี 2000 ยอดขายของ P&G ลงฮวบฮาบ ราคาหุ้นสั่นไหว จนต้องใช้ CEO คนใหม่ชื่อ A.G. Lafley มายกเครื่อง สร้างกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง ปรับมุมมองด้านนวัตกรรมกันใหม่ คือใช้กลยุทธ์ Connect & Develop หา product ideas จากภายนอกบริษัท เพราะที่ผ่านมาโครงการนวัตกรรมสำเร็จไปแค่ 15% ของโครงการนวัตกรรมทั้งหมด P&G จึงตั้ง "innovation assembly lines" หาช่องการเติบโตดังต่อไปนี้ คือ
• รักษานวัตกรรมสินค้าที่มีอยู่ เช่น Gillette Fusion
• นวัตกรรมเหนือชั้นที่จะให้หลุดจาก mass market ไปสู่ตลาด high-end เช่น Crest White Strips
• นวัตกรรมต่อยอดที่มีพื้นฐานจาก performance breakthroughs เช่น Olay Pro-X
• นวัตกรรมการค้าเพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้ลูกค้า เช่น BrandSaver events
P&G ถือว่าได้รับการยอมรับว่าเป็น innovator ตัวกลั่นของวงการธุรกิจที่อาศัยกลยุทธ์ “create operate trade” เพื่อจะได้ยืนแถวหน้าในการแข่งขันท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลง
• รักษานวัตกรรมสินค้าที่มีอยู่ เช่น Gillette Fusion
• นวัตกรรมเหนือชั้นที่จะให้หลุดจาก mass market ไปสู่ตลาด high-end เช่น Crest White Strips
• นวัตกรรมต่อยอดที่มีพื้นฐานจาก performance breakthroughs เช่น Olay Pro-X
• นวัตกรรมการค้าเพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้ลูกค้า เช่น BrandSaver events
P&G ถือว่าได้รับการยอมรับว่าเป็น innovator ตัวกลั่นของวงการธุรกิจที่อาศัยกลยุทธ์ “create operate trade” เพื่อจะได้ยืนแถวหน้าในการแข่งขันท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลง
Make Distributed and Collaborative Decisions
บริษัทที่ว่องไวปราดเปรียวได้นั้นล้วนแล้วแต่นำเอาความดีความงาม ความเชื่อในเวอร์ชั่นต่างๆมาใช้กันให้พรึ่บและแปลงลงไปให้เข้ากับพันธกิจ วัตถุประสงค์ที่สามารถใช้สื่อสารเข้าใจได้ง่าย ไม่ต้องตีความมากจนงงไปทั้งองค์กร ไอ้ที่เป็นอะไรเชยๆ ยืดยาว หยดย้อยแต่จำไม่ได้ หรือใช้การควบคุมโดยไม้เรียวมันหมดสมัยแล้ว มันไม่สามารถใช้บังคับคนสมัยนี้ได้อีกต่อไป พวกนี้จะใช้กลไกที่กระตุ้นให้บุคคล กลุ่ม หน่วยงานทำการ improvise ได้เอง ดำเนินการได้เองโดยอาศัยการผลักดันไปที่พฤติกรรมกลุ่มที่สร้างสรรค์ให้กระจายทั่วองค์กร เป็นมือที่มองไม่เห็นแต่เปี่ยมพลัง มันไม่มีองค์กรไหนหรอกที่นิ่งอยู่ในสูญญากาศ ผู้บริหาร ผู้จัดการ พนักงาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องล้วนสามารถหาช่องจะพัฒนา หาโอกาสที่จะเติบโตทั้งนั้น และเราจะพบว่าแหล่งข้อมูลและแนวคิดดีๆก็มาจากพวก suppliers พวก strategic partners พวก distributorsและพวกลูกค้ารอบๆตัวเรานี่แหละ ที่กระจายข้อมูลให้เรา ให้เราสามารถตัดสินใจได้ดีในภาวะการเปลี่ยนแปลง อยากยกตัวอย่างของ Berlitz Corporation ที่เป็นสถาบันการศึกษาและฝึกอบรมระดับโลกที่ใช้ความเชื่อในการขับเคลื่อนธุรกิจ ความเชื่อที่ว่าไว้ คือ การเปิด เปิดทัศนคติ เปิดกว้างเพื่อการพัฒนาองค์กรให้มีวัฒนธรรมความว่องไวปราดเปรียว ซึ่งจะช่วยให้คนเกิด self-awareness ช่วยให้ตระหนักถึงความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆในโลกนี้และช่วยให้เกิดการใช้ทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้ในการทำงานเพื่อเรียนรู้และเติบโต ผู้นำของ Berlitz มีความว่องไวในการวินิจฉัยธุรกิจเพื่อทำการเปลี่ยนแปลง ดูได้จากการมีสาขามากกว่า 550 แห่งทั้งที่ลงทุนเองและเป็นแฟรนไชส์ในการสอนคนจำนวนเป็นล้านๆในด้านภาษาและพัฒนาทักษะในการเป็นผู้นำและการเข้าใจความแตกต่างด้านวัฒนธรรม Berlitz เอง มีการใช้ internal websites สำหรับแต่ละภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นแถบเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง ยุโรป อาฟริกาและอเมริกา ซึ่งมันยากในการเชื่อมโยง สื่อสารกับพนักงานทั่วโลก เพราะความเชื่อเรื่องการเปิดกว้างทำให้ Berlitz เห็นความสำคัญ จึงออกแบบโครงสร้างและกระบวนการในการแลกเปลี่ยน แบ่งปันข้อมูลที่เหมือนกันในทุกภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับทิศทาง กลยุทธ์ รายรับ เป้าหมาย เป็นต้น เพื่อขับเคลื่อนและสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นร่วมกันในสาขาทั่วโลก มีการให้ guidelines อย่างเป็นทางการที่พนักงานสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกัน แบ่งปันประสบการณ์ ทักษะ ความชำนาญกัน ติดตามการดำเนินงานและความสามารถในการทำงานเพื่อเป็นแรงจูงใจที่จะพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั่วโลก
The Anatomy of Business Agility
ลักษณะบริษัทที่ปราดเปรียวมีความสามารถจะ sense & respond ต่อการเคลื่อนไหวทางกลยุทธ์ของคู่แข่งขันในตลาด และยังเร็วต่อการรับรู้สัญญาณการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของสิ่งแวดล้อม ของเทคโนโลยีจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
- เป็นเหมือนเครื่องสแกน ตรวจตราสม่ำเสมอเพื่อให้เห็นถึงอุปสรรคที่กีดขวางตำแหน่ง จุดยืนของธุรกิจรวมถึงแสวงหาโอกาสในการเปลี่ยนไปสู่ตำแหน่งใหม่ที่ใครก็ตามไม่ทัน
- เป็นเหมือนสนามทดลองที่ทดลองกลยุทธ์ในสนามบ้านตัวเองเพื่อสร้างประสบการณ์ก่อนจะไปเจอกับของจริงน่าปวดหัวที่อยู่นอกบ้าน
- เป็นเหมือนสถาปนิกที่วางแผน วางผัง ออกแบบธุรกิจเพื่อประสานทรัพยากรให้สามารถขยับตัว เคลื่อนตัวได้ทันท่วงที
- เป็นเหมือนนักเรียนที่เรียนรู้ สร้างและฝึกฝนศักยภาพใหม่ๆที่ต้องใช้เพื่อการแข่งขัน
ทุกวันนี้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมันเรียกได้ว่าแทบจะพยากรณ์อะไรไม่ได้ เช่น เศรษฐกิจอยู่ๆก็ดิ่งลงเหวซะงั้น วิกฤติหนี้สินของโลก คู่แข่งรายใหญ่รายใหม่ที่ไฉไลกว่าเรา พฤติกรรมลูกค้าที่เดาใจยากชีวิตนี้ไม่เคยพอใจอะไรเลย สิ่งต่างๆเหล่านี้จะผุดขึ้นมาที่ไหนเมื่อไหร่ไม่รู้ ผู้นำทางธุรกิจต้องให้ไว ให้ทัน การใช้ traditional business practice มันไม่พอ มันไม่สามารถที่จะทำให้ยั่งยืน หรือเติบโต ต้องปรับ ต้องเปลี่ยนให้ไวก่อนสูญพันธุ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น