เอาดินพอกหางหมูออก...จากประสบการณ์ของ Benjamin Franklin:
เรื่องที่ 1: Start a group and share knowledge
ตอนอายุ 21 ปี Benjamin Franklin กำลังลุยธุรกิจหนังสือพิมพ์ เพื่อเพิ่มเครือข่ายและเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับธุรกิจ Benjamin Franklin ได้ตั้งกลุ่ม Junto group เป็นเครือข่ายพ่อค้านักธุรกิจที่ต้องการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน กลุ่มนี้มีหนังสือดีดีกันอยู่เยอะแยะ จึงเริ่มสร้างห้องสมุดขึ้นโดยยืมหนังสือมาจากสมาชิกในกลุ่ม การสร้างเครือข่ายแบบนี้ทำให้ Benjamin Franklin ได้รับการยอมรับและเคารพแม้ว่ายังอายุน้อย
บทเรียน: หากลุ่ม like-minded people กลุ่มคอเดียวกัน ทำการแลกเปลี่ยนแนวคิด การสร้างกลุ่มสร้างสรรค์จะช่วยทำให้เกิดความกระตือรือล้นมากขึ้น ดินที่พอกจะค่อยๆหลุดออกไป
เรื่องที่ 2: Attack opportunities
เพื่อความสำเร็จ Benjamin Franklin ให้โดดใส่ทันที เราคงเห็นด้วย แต่ครั้นเมื่อโอกาสมาเคาะประตู เราดันหันไปมองทางอื่น ไม่ใช่ว่าเราเพิกเฉยหรือละเลย แต่เพราะว่าโอกาสมันไม่ได้แต่งตัวมาตามที่เราคาดหวังไว้ เรามักคิดว่ามันต้องเป็นไก่ที่ออกไข่เป็นทองคำชัดๆ แต่โอกาสก็ยังมาในรูปของ package อันเล็กๆที่มักหลุดจากสายตา
คนหนุ่มสาวมองเห็นโอกาสมากกว่าคนแก่ เพราะพวกนี้ยังชอบเรื่องท้าทายของชีวิต ซึ่งตรงกับที่ Benjamin Franklin เคยเขียนไว้
“Some people die at 25 and aren't buried until 75.”
บทเรียน: หลีกเลี่ยงการอยู่นิ่งให้ดินพอกหาง โดดเข้าใส่ทุกโอกาสที่เห็น แม้ว่าบางครั้งมันดูไม่ค่อยสวย ออกไปพบเจอคนใหม่ๆ สร้างความสัมพันธ์ เพื่อเปิดให้โอกาสวิ่งมาหาเรา
เรื่องที่ 3: Time is a commodity in short supply
Benjamin Franklin เขียนว่า “Lost time is never found again.” เวลาที่หายไปไม่มีวันพบได้อีก ที่เขียนไว้คงไม่ใช่เกี่ยวกับเรื่องจะต้องมานั่งเสียใจ แต่เป็นเรื่องที่เป็นแรงบันดาลใจ เรื่องที่เราต้อง call to action!!
Benjamin Franklin จึงใช้ชีวิตด้วยการทำงาน สร้างสรรค์สิ่งดีดีบนพื้นฐานของแนวคิดว่าเวลาเป็นทรัพยากรที่จำกัด
“You may delay, but time will not, and lost time is never found again.”
บทเรียน: พวกดินพอกหางทั้งหลาย..ควรมองให้ได้แบบนี้ แต่ละวันที่ผ่านไปมันต้องเหมือนการอยู่ในห้องทดลองที่เราทำงาน ที่เราค้นพบสิ่งใหม่ ที่เราสร้างสรรค์สิ่งดีงาม ไม่ใช่อยู่ในคุก หรือ ในห้องขังที่เรานั่งรอโชคว่ามันต้องมีวันจะแหกออกมาได้
เรื่องที่ 4: Make a list
Benjamin Franklin ชื่นชอบการเขียน pro-and-con list ทุกครั้งที่จะต้องมีการตัดสินใจในเรื่องยากๆ เขาจะแบ่งกระดาษเป็นสองฟาก ฟากหนึ่งเป็น “pro” และอีกฝั่งเป็น “con” แล้วเขียนสิ่งที่ดีที่สุดและะแย่ที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้ถ้ามีการตัดสินใจเกิดขึ้น เมื่อเสร็จแล้ว..ขีดข้อดีข้อเสียที่มันค้านกันทิ้งไป ที่เหลือก็มาดูว่าด้านไหนมากกว่า...ด้านนั้นก็ชนะไป
บทเรียน: การทำรายการแบบนี้เหมาะสำหรับพวกดินพองหางเพราะยังไม่ต้องลงมือทำ ก็นั่งเขียนไปบ่อยๆ ดูว่าอันไหนที่จะก่อให้เกิด productivity และการเผชิญกับข้อเสียนั้นสามารถเป็นแรงฮึด ในขณะที่ข้อดีก็สามารถเป็นแรงบันดาลใจ
เรื่องที่ 5: Fail often; fail hard-;but don’t expect to
Benjamin Franklin เป็นนักประดิษฐ์ที่สามารถคนหนึ่ง ถ้าดูจากสมุดที่ได้ร่าง ได้เขียนความคิดต่างๆ จะเห็นว่ามีหลายแนวคิดที่ไกลความจริง เกินจะเป็นไปได้และล้มเหลว เส้นที่ลากๆไว้บางอันก็ลางเลือน ไม่เฉียบคมซึ่งเขาก็ยังรู้สึกดีกับมัน
Benjamin Franklin กล่าวว่า
“Do not fear mistakes. You will know failure. Continue to reach out.”
พวกดินพอกหางหมูมืออาชีพจะกล้วความล้มเหลว เพราะคาดหวังว่างานแรก ความพยายามครั้งแรกมันต้อง perfect ตั้งแต่ต้นจนจบ และไม่อยากใช้ความพยายยามมาก แต่พวกดินพอกหางหมูแบบมือสมัครเล่นนี่...พร้อมจะล้มเหลวทันที ทำให้นึกถึงที่ Benjamin Franklin ว่าไว้ คือ
“By failing to prepare, you are preparing to fail.”
บทเรียน: อย่าคาดหวังความสมบรูณ์แบบ แต่ก็อย่ากระโดดเข้าใส่ความล้มเหลวแต่แรก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น