เกศ ชวนะลิขิกร
ผลงานจิตรกรรมแบบนามธรรม เป็นผลงานที่ผู้ชมผลงานส่วนใหญ่มักมีคำถามหาความเข้าใจในความหมายของภาพที่ดูไม่รู้เรื่อง ในขณะเดียวกันผลงานจิตรกรรมแบบที่ดูรู้เรื่อง เช่น ภาพเขียนหุ่นนิ่ง หรือทิวทัศน์ ผู้ชมทั่วไปกลับไม่ต้องการความเข้าใจในเนื้อหาของภาพ ผู้ชมสามารถเห็นและชื่นชมในความงาม โดยไม่ถามหาความหมาย
สำหรับข้าพเจ้า ผลงานจิตรกรรมทั้งสองแบบต่างไม่ได้แสดงเนื้อหาในด้านการสื่อความหมาย เพียงแต่แสดงอารมณ์ความรู้สึก ผู้ชมผลงานไม่จำเป็นต้องเข้าใจหรือค้นหาความหมายในภาพ เพียงรู้สึกตามขณะที่มองภาพอยู่ จะรู้สึกอย่างไรก็ได้ตามที่ตนเองรู้สึกจริง ซึ่งต่างคนจะได้รับความรู้สึกจากภาพต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพื้นฐานและประสบการณ์ของแต่ละคน ผู้ที่มีพื้นฐานและประสบการณ์คล้ายคลึงกันจะเกิดอารมณ์ความรู้สึกที่ใกล้เคียงกันได้ ภาพเขียนทั้งสอบแบบนี้จึงเป็นตัวอย่างของศิลปะที่ไม่ได้มีเจตนาแสดงเนื้อหาสาระในการสื่อความหมาย
โดยเฉพาะจิตรกรรมแบบนามธรรมบางชนิด ที่ผู้ชมส่วนใหญ่มักคิดว่าไม่เข้าใจหรือดูไม่รู้เรื่อง ไม่ได้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อให้รู้เรื่องหรือเข้าใจ ไม่ได้มีความหมาย ไม่มีสาระ ไม่มีเรื่องให้ค้นหา ผลที่ได้รับจากการชมผลงานคืออารมณ์ความรู้สึก
ข้าพเจ้าต้องการแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างและความเหมือนกันของภาพเขียนแบบนามธรรม ที่ไม่มีรูป กับภาพเขียนแบบรูปธรรมที่เป็นภาพของสิ่งที่เรามีชื่อเรียก รับรู้ได้ว่าเป็นวัตถุ สิ่งของ หรือภาพทิวทัศน์ ผลงานจิตรกรรมทั้งสองแบบต่างรับรู้ หรือเสพได้เพียงด้วยอารมณ์ความรู้สึก รู้สึกได้ด้วยจิตใจ และไม่มีความจำเป็น ต้องรู้หรือเข้าใจความหมาย
ป๋อมแปล:
No Valid Matters
Kade Javanalikikorn
Most art viewers tend to have questions about abstract paintings regarding their meanings because what they see usually does not make sense to them. On the other hand, when they look at paintings that “make sense” to them, such as a portrait or a landscape, they seem to be satisfied with what they see and do not seem to care about the meaning of the painting.
For me, both kinds of paintings do not communicate with meaning but rather with emotions and feelings. It’s not necessary for viewers to “understand” or look for meanings; they simply need to get the mood and the feeling of the paining. The feelings that occur in the viewers obviously differ from person to person depending on personal background and experiences. Viewers who come from the same social background or experiences may feel similarly when looking at a painting. Therefore both kinds of paintings are examples of art that does not intend to convey meanings.
Some abstract paintings that most people think they do not understand and cannot make sense of, are not created to be understood; they do not offer meanings, they do not provide valid matters and do not offer anything for the viewer to seek. These paintings convey only emotions and feelings.
I want to show differences and similarities between abstract paintings which do not show any concrete things and paintings of things that we know and are familiar with. I want to show that both kinds of paintings can be perceived through moods, emotions and feelings, through the heart, without the need for meaning.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น