วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553

วิทยากรใจถึง ตอนที่ 3

บทบาทของวิทยากร


การพัฒนาวิธีการการมีส่วนร่วมที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า ความสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคนิค หรือ การติดต่อสื่อสารเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ทัศนคติ (attitude) ของวิทยากร ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการเป็นครู อาจารย์ หรือ หัวหน้างาน ในการสัมมนาหรือฝึกอบรมนั้น โดยเฉพาะ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วมกลุ่มใหญ่ Participatory Approach จะมี Team of Facilitators ที่มีบทบาทต่างกันไประหว่าง moderator และ resource person กล่าวคือ 

moderator : มีบทบาทในการช่วยกลุ่มผู้เข้าร่วมในการอธิบาย ให้คำจำกัดความ กำหนดขอบข่ายที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และอำนวยความสะดวกให้หาคำตอบ หรือ คลี่คลายแนวทางในการแก้ไข ตลอดจนกระตุ้นเร่งเร้าให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และตัดสินใจ แต่ ไม่ก้าวก่ายเรื่องของเนื้อหาที่อภิปราย 

resource person : จะมีบทบาทในการจัดหา เตรียมให้ข้อมูลเฉพาะสำหรับกลุ่ม ช่วยให้ผู้เข้าร่วมเกิด ความเข้าใจเกี่ยวกับหัวข้อที่อภิปราย ตลอดจนช่วยเหลือในการค้นหาทางเลือกต่าง ๆ ใน การแก้ไขปัญหา

บุคคลคนเดียวกันอาจจะเป็นทั้ง moderator และ resource personได้ แต่ไม่ควรเล่นทั้งสองบทบาทในเวลาเดียวกัน  แยกให้ดี และหากมีทีมที่สามารถเปลี่ยนบทบาทหน้าที่กันได้จะดีกว่า แต่จะดีมากมาก คือ การที่ facilitator จะยอมรับว่า "วิทยากรทุกคนคือผู้เข้าร่วม และผู้เข้าร่วมแต่ละคนคือวิทยากร" เท่าเทียม one man one vote  เนื่องจาก "ไม่มีใครรู้ทุกเรื่อง ทุกคนรู้บางเรื่อง"

หน้าที่ moderator ในวิธีการมีส่วนร่วม คือ
  • ระดมพลังแห่งการสร้างสรรค์และความรู้ที่ผู้เข้าร่วมมีอยู่ โดยการเปิดช่องสื่อสารกว้างเพื่อให้แสดงบทบาท ปฏิกิริยาอย่างคึกคักสำหรับทุกคน 
  • เลือกเทคนิคที่เหมาะสม เพื่อปรับความสัมพันธ์เกี่ยวกับเนื้อหา ให้เข้ากับปัญหาที่แท้จริงของผู้เข้าร่วม 
  • จูงใจโดยการใช้คำถามต่อผู้เข้าร่วมและหลีกเลี่ยงการกำหนดภาระหน้าที่ให้กลุ่ม 
  • สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายและไม่เป็นทางการ ให้กลุ่มผู้เข้าร่วมเกิดความมั่นใจในการแสดง ความคิดเห็น
  • ช่วยหรืออำนวยความสะดวกให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือ แนวทางการแก้ไขปัญหาใน ระหว่างการอภิปรายให้ง่ายขึ้น ไม่ร่วมในการอภิปรายโดยตรง แต่ใช้วิธีถามคำถามกับคนอื่น ๆ (No one-way information!!) 
  • ถ้าจำเป็น ควรกระตุ้นการอภิปรายมากขึ้น เพื่อให้เผยข้อขัดแย้งที่ซ่อนอยู่ ซึ่งจะทำให้ทุกความคิดเห็นมีความโปร่งใส และ เป็นการเข้าถึงการบูรณาการสำหรับกระบวนการทำงานของผู้เข้าร่วมได้ดีมากขึ้น 
  • แนะนำกฎระเบียบและเทคนิคของวิธีการมีส่วนร่วม ให้ข้อเสนอเพื่อความเป็นเอกภาพของกลุ่ม และถามถึงความเชื่อมั่นในวิธีการตลอดจนให้ความสนับสนุนและร่วมมือต่อกลุ่ม
moderator ต้องมีความยืดหยุ่น โดยการปรับโปรแกรม ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้าร่วมให้ได้มากที่สุด แต่ ต้องชี้ให้เห็นถึงผลที่จะเกิดขึ้นของการเปลี่ยนแปลงนั้น และเพื่อความชัดเจน moderator ควรจะอธิบายคำถามอย่างระมัดระวัง และควรทำให้ผู้เข้าร่วมมองเห็นภาพรวมและขั้นตอนในการดำเนินงาน ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจบทบาทของ moderator 

วัตถุประสงค์หลัก คือ ทำให้กลุ่มสามารถทำงานด้วยตัวเองอย่างอัตโนมัติโดยมีการแทรกแซงน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และเพื่อให้เกิดการมองเห็นภาพร่วมกันทั้งกระบวนการ moderator ต้อง
  • ย้ำหรือเชื่อมโยงถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาก่อนที่จะดำเนินการในเรื่องใหม่ 
  • ให้ภาพในอนาคตหรือเหตุการณ์ที่จะดำเนินการต่อไปเมื่อจบช่วงและ
  • ควรติดภาพโครงสร้างของโปรแกรมไว้ที่ผนังห้องประชุม 
เพื่อรักษาการติดต่อสื่อสารที่แน่นแฟ้นกับกลุ่ม บางครั้งจำเป็นต้องมี co-moderator ในการสังเกตุภาษากายของกลุ่ม กระบวนการกลุ่ม ตลอดจนภาพรวมของการอภิปราย
  • หลีกเลี่ยงการอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการในระหว่างอภิปรายเนื้อหา 
  • ไม่ควรตอบสนองโดยตรงต่อข้อวิจารณ์หรือข้อขัดแย้ง 
  • ห้ามแก้ตัวเกี่ยวกับกฎในการดำเนินรายการ และถ้าผิดจริง การยอมรับกับกลุ่มถือเป็นทางออกที่สวยงาม

ย้ำความสำคัญของวิธีการด้วยการประยุกต์ใช้กับผู้เข้าร่วม

ทัศนคติ 100 % 

ทัศนคติมีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการใช้ Participatory Approach ข้อคิดต่อไปนื้จึงเป็นสิ่งที่ facilitator ทุกคนต้องจำใส่ใจ 
  • ความคิดเห็นของ facilitator จะสะท้อนไปยังกลุ่มผู้เข้าร่วมเสมอโดยไม่รู้ตัว จึงจำเป็นต้องรู้ถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของตนเอง และ มีการระมัดระวังในการแสดงออกไม่ว่าจะด้วยคำพูดหรือภาษากาย 
  • ต้องมี เสาอากาศ ที่จะรับรู้ความรู้สึกส่วนตัวของผู้เข้าร่วม หมายความว่าต้องไวต่อปฏิกิริยาของกลุ่มไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบซึ่งจะช่วยให้มีการปรับเปลี่ยน แก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงที 
  • อย่า offside เกี่ยวกับข้อสรุปที่ไม่ถูกต้องของกลุ่ม 
  • ต้องไม่ก้าวก่ายผลลัพธ์ที่เกิดจากการระดมความคิดของกลุ่ม ไม่ว่าจะถูกหรือผิดให้ปล่อยเป็นการวินิจฉัยในกลุ่มผู้เข้าร่วม ภายใต้การอำนวยการของ facilitator 
  • ถ้าโดนจู่โจมให้เข้าใจ ทำใจเสียว่าตนเองตกเป็นแพะรับบาปเกี่ยวกับเรื่องที่กลุ่มไม่ต้องการอภิปราย เพราะบางครั้งเป็นการยากสำหรับกลุ่มผู้เข้าร่วมที่จะยอมรับความผิดพลาด หรือ การเสียหน้าในบางเรื่อง facilitator จึงเป็นเป้าหมายที่ดีในการเบี่ยงเบนประเด็น 
สำคัญ คือ ต้องถอยออกมาจากความต้องการของตนเอง และ จำไว้ว่าหน้าที่ของตน คือ การอำนวยความสะดวกให้ผู้เข้าร่วมค้นพบแนวทางของตนเองเท่านั้น เวทีนี้ไม่ได้เป็นของ facilitator ให้ถือเป็นทางเลี่ยงของการใช้บทบาทที่ผิดในการประเมินและตัดสินความคิดเห็นของผู้เข้าร่วม 

ทัศนคติง่ายในการพูด แต่ยากในการปฏิบัติ

การเรียนรู้กฎ หลักการอย่างเดียวไม่เพียงพอ facilitator สามารถใช้วิธีการได้ดีโดยการประยุกต์ใช้อย่างด้วยตนเองเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม resource person จะแตกต่างจาก moderator ถ้า facilitator เป็น resource person จะเป็นการเหมาะสมกว่าถ้าจะมี  facilitator อีกคนเป็น moderator  ขอย้ำ..
resource person พึงพิจารณาว่า
  • ตนมีหน้าที่จัดหา เตรียมและให้ข้อมูลเบื้องต้นสั้น ๆ เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาหรือปัญหาเฉพาะที่เป็นความต้องการของผู้เข้าร่วมหรือที่กำหนดไว้ในโปรแกรม การนำเสนอภาพรวม  ข้อมูล ทุกครั้งจะต้องตามด้วยการอภิปรายของกลุ่มเสมอโดย moderator 
  • ไม่ยัดเยียดข้อมูลให้กับผู้เข้าร่วม โดยผลักดันไปในทิศทางที่ตนต้องการ แต่ข้อมูลที่ให้นั้นควรถูก ย่อย หรือ สังเคราะห์ โดยกลุ่มผู้เข้าร่วม 
  • ต้องเข้าร่วมตลอดเวลาในระหว่างการประชุม สัมมนา หรือฝีกอบรม และต้องพร้อมที่จะนำเสนอข้อมูลที่เตรียมไว้ล่วงหน้าเสมอ ถ้าเป็นการนำเสนอเฉพาะช่วง ส่วนใหญ่ ผู้เข้าร่วมจะไม่อยากถามหรือแสดงความคิดเห็น ซึ่งการไม่เข้าร่วมตลอดนอกจากจะเป็นการไม่ให้ความสำคัญต่อกลุ่มแล้ว ยังเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับประเด็นที่มีการอภิปรายในเวลาที่ตนไม่อยู่ 
ในสถานการณ์ที่เน้นวิธีการมีส่วนร่วม วิทยากรทุกคนพึงสังวรว่าตนเองเป็นผู้เข้าร่วมคนหนึ่งด้วยและใช้กฎเกณฑ์เดียวกันในการอภิปราย ซึ่งในโอกาสนี้วิทยากรก็สามารถเรียนรู้จากผู้เข้าร่วมคนอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
ไม่มีใครรู้ทุกเรื่อง ทุกคนรู้บางเรื่อง

Team of Facilitators 
moderator และ resource person จะสร้างทีมของ facilitator โดยเฉพาะในกรณีของการฝึกอบรม และถ้าเปรียบเทียบกับวิธีการดั้งเดิมแล้ว การครอบงำโดยคนใดคนหนึ่งจะลดลงอัตโนมัติ บทบาทในทีมนี้มีการเปลี่ยนแปลงได้ ยกตัวอย่างเช่น คนในทีมคนใดคนหนึ่งอาจมีบทบาทเป็น moderator ซึ่งจะรับผิดชอบสำหรับการเตรียมการ การจัดระบบงานประจำวัน เป็นต้น นอกจากนั้นการที่มีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ซับซ้อนและมีระยะเวลาเกิน 1 วัน ควรจะมี   facilitator อย่างน้อย 2 คน แต่สำหรับกลุ่มที่ใหญ่มากจะต้องใช้ facilitator อย่างน้อย 3 คนใน 1 ทีม กล่าวคือ คนหนึ่งเป็น moderator อีกคนหนึ่งควรเป็นผู้ช่วย moderator และสังเกตทั้งกลุ่มผู้เข้าร่วมเอง ปฏิกิริยา ตลอดจนการนำของ moderator และอีกคนหนึ่งจะมีบทบาทเป็น resource person

ในบางครั้งในทีมอาจมีความจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตอบปัญหาเฉพาะเรื่อง แต่ผู้เชี่ยวชาญนั้นต้องเป็นหนึ่งในทีมด้วยเช่นกัน ซึ่งการทำงานเป็นทีมนั้นต้องอาศัยการทำตามกฎเกณฑ์ที่ยอมรับร่วมกัน ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น มีความเป็นเอกฉันท์ และค้นหาวิธีการในการทำงานร่วมกัน

ทุกคนต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ดี ที่ช่วยเสริมเติมปัญญาค่ะ

    ถ้ารวมเล่ม ทำเป็น Pocket Book เมื่อไหร่ บอกด้วยนะคะ

    จะได้ขอ...555+ ล้อเล่น ๆๆๆ จะซื้อเก็บน่ะค่ะ ^_^

    ตอบลบ