วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

รักในหลวง ห่วงอภิสิทธิ์ อิดใจ๋สีแดง

รักใครไม่เท่า...รักพระองค์ ธ ทรงเป็นมิ่งขวัญตะวันฉาย
ส่องแสงมาในใจมิเคยคลาย ชีพถวายองค์ราชันย์.. มั่นสัญญา

คนดีๆจะยิ้มได้อีกเมื่อไหร่ จัญไรพล่านเต็มเมือง เรื่องหนักแสน
ใจอภิสิทธิ์คิดอย่างไร อย่าคลอนแคลน แน่วแน่แน่นอุดมการณ์ อย่าพาลกลัว...

สีแดง (ขอประทานอภัย) มึงอย่าหมายทำลายชาติ อย่าบังอาจใช้กำลังดังเดรัจฉาน
เวรกรรมมีจริง ไอ้พวกพาล อีกไม่นานคงรู้ ใคร(จะ)อยู่(ใครจะ)ไป....
สำนึกรักชาติ ก่อนจะสาย ตัวเจ้านายเขาไม่สนคนหรือหมา
รับจ้างเขาไว้แล้วมรณา ไอ้หน้าหนามันเสวยสุข บนทุกข์ (ขอประทานอภัย อีกที)มึง...

 
เงินและเงินซื้อได้คนใจบาป กล้าจ้วงจาบเบื้องสูง มุ่งล้างผลาญ
ใครจะยอม ฉันไม่ยอมพวกสามานย์ มันระรานละเลงเลือด เชืือดเนื้อไทย
ต่อให้กราบอีกกี่ครั้งยังไม่หมด ราคีคดโกงชาติบาดลึกล้ำ
ไทยไม่ฟื้น เวรกรรมเป็นของมัน ชั่วโคตรนั้นยังไม่พอ ต่อทุกข์ไทย

วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553

๙ ประการ ๒๕๕๓

วิทยากรใจถึง ตอนที่ 3

บทบาทของวิทยากร


การพัฒนาวิธีการการมีส่วนร่วมที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า ความสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคนิค หรือ การติดต่อสื่อสารเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ทัศนคติ (attitude) ของวิทยากร ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการเป็นครู อาจารย์ หรือ หัวหน้างาน ในการสัมมนาหรือฝึกอบรมนั้น โดยเฉพาะ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วมกลุ่มใหญ่ Participatory Approach จะมี Team of Facilitators ที่มีบทบาทต่างกันไประหว่าง moderator และ resource person กล่าวคือ 

moderator : มีบทบาทในการช่วยกลุ่มผู้เข้าร่วมในการอธิบาย ให้คำจำกัดความ กำหนดขอบข่ายที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และอำนวยความสะดวกให้หาคำตอบ หรือ คลี่คลายแนวทางในการแก้ไข ตลอดจนกระตุ้นเร่งเร้าให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และตัดสินใจ แต่ ไม่ก้าวก่ายเรื่องของเนื้อหาที่อภิปราย 

resource person : จะมีบทบาทในการจัดหา เตรียมให้ข้อมูลเฉพาะสำหรับกลุ่ม ช่วยให้ผู้เข้าร่วมเกิด ความเข้าใจเกี่ยวกับหัวข้อที่อภิปราย ตลอดจนช่วยเหลือในการค้นหาทางเลือกต่าง ๆ ใน การแก้ไขปัญหา

บุคคลคนเดียวกันอาจจะเป็นทั้ง moderator และ resource personได้ แต่ไม่ควรเล่นทั้งสองบทบาทในเวลาเดียวกัน  แยกให้ดี และหากมีทีมที่สามารถเปลี่ยนบทบาทหน้าที่กันได้จะดีกว่า แต่จะดีมากมาก คือ การที่ facilitator จะยอมรับว่า "วิทยากรทุกคนคือผู้เข้าร่วม และผู้เข้าร่วมแต่ละคนคือวิทยากร" เท่าเทียม one man one vote  เนื่องจาก "ไม่มีใครรู้ทุกเรื่อง ทุกคนรู้บางเรื่อง"

หน้าที่ moderator ในวิธีการมีส่วนร่วม คือ
  • ระดมพลังแห่งการสร้างสรรค์และความรู้ที่ผู้เข้าร่วมมีอยู่ โดยการเปิดช่องสื่อสารกว้างเพื่อให้แสดงบทบาท ปฏิกิริยาอย่างคึกคักสำหรับทุกคน 
  • เลือกเทคนิคที่เหมาะสม เพื่อปรับความสัมพันธ์เกี่ยวกับเนื้อหา ให้เข้ากับปัญหาที่แท้จริงของผู้เข้าร่วม 
  • จูงใจโดยการใช้คำถามต่อผู้เข้าร่วมและหลีกเลี่ยงการกำหนดภาระหน้าที่ให้กลุ่ม 
  • สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายและไม่เป็นทางการ ให้กลุ่มผู้เข้าร่วมเกิดความมั่นใจในการแสดง ความคิดเห็น
  • ช่วยหรืออำนวยความสะดวกให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือ แนวทางการแก้ไขปัญหาใน ระหว่างการอภิปรายให้ง่ายขึ้น ไม่ร่วมในการอภิปรายโดยตรง แต่ใช้วิธีถามคำถามกับคนอื่น ๆ (No one-way information!!) 
  • ถ้าจำเป็น ควรกระตุ้นการอภิปรายมากขึ้น เพื่อให้เผยข้อขัดแย้งที่ซ่อนอยู่ ซึ่งจะทำให้ทุกความคิดเห็นมีความโปร่งใส และ เป็นการเข้าถึงการบูรณาการสำหรับกระบวนการทำงานของผู้เข้าร่วมได้ดีมากขึ้น 
  • แนะนำกฎระเบียบและเทคนิคของวิธีการมีส่วนร่วม ให้ข้อเสนอเพื่อความเป็นเอกภาพของกลุ่ม และถามถึงความเชื่อมั่นในวิธีการตลอดจนให้ความสนับสนุนและร่วมมือต่อกลุ่ม
moderator ต้องมีความยืดหยุ่น โดยการปรับโปรแกรม ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้าร่วมให้ได้มากที่สุด แต่ ต้องชี้ให้เห็นถึงผลที่จะเกิดขึ้นของการเปลี่ยนแปลงนั้น และเพื่อความชัดเจน moderator ควรจะอธิบายคำถามอย่างระมัดระวัง และควรทำให้ผู้เข้าร่วมมองเห็นภาพรวมและขั้นตอนในการดำเนินงาน ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจบทบาทของ moderator 

วัตถุประสงค์หลัก คือ ทำให้กลุ่มสามารถทำงานด้วยตัวเองอย่างอัตโนมัติโดยมีการแทรกแซงน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และเพื่อให้เกิดการมองเห็นภาพร่วมกันทั้งกระบวนการ moderator ต้อง
  • ย้ำหรือเชื่อมโยงถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาก่อนที่จะดำเนินการในเรื่องใหม่ 
  • ให้ภาพในอนาคตหรือเหตุการณ์ที่จะดำเนินการต่อไปเมื่อจบช่วงและ
  • ควรติดภาพโครงสร้างของโปรแกรมไว้ที่ผนังห้องประชุม 
เพื่อรักษาการติดต่อสื่อสารที่แน่นแฟ้นกับกลุ่ม บางครั้งจำเป็นต้องมี co-moderator ในการสังเกตุภาษากายของกลุ่ม กระบวนการกลุ่ม ตลอดจนภาพรวมของการอภิปราย
  • หลีกเลี่ยงการอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการในระหว่างอภิปรายเนื้อหา 
  • ไม่ควรตอบสนองโดยตรงต่อข้อวิจารณ์หรือข้อขัดแย้ง 
  • ห้ามแก้ตัวเกี่ยวกับกฎในการดำเนินรายการ และถ้าผิดจริง การยอมรับกับกลุ่มถือเป็นทางออกที่สวยงาม

ย้ำความสำคัญของวิธีการด้วยการประยุกต์ใช้กับผู้เข้าร่วม

ทัศนคติ 100 % 

ทัศนคติมีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการใช้ Participatory Approach ข้อคิดต่อไปนื้จึงเป็นสิ่งที่ facilitator ทุกคนต้องจำใส่ใจ 
  • ความคิดเห็นของ facilitator จะสะท้อนไปยังกลุ่มผู้เข้าร่วมเสมอโดยไม่รู้ตัว จึงจำเป็นต้องรู้ถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของตนเอง และ มีการระมัดระวังในการแสดงออกไม่ว่าจะด้วยคำพูดหรือภาษากาย 
  • ต้องมี เสาอากาศ ที่จะรับรู้ความรู้สึกส่วนตัวของผู้เข้าร่วม หมายความว่าต้องไวต่อปฏิกิริยาของกลุ่มไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบซึ่งจะช่วยให้มีการปรับเปลี่ยน แก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงที 
  • อย่า offside เกี่ยวกับข้อสรุปที่ไม่ถูกต้องของกลุ่ม 
  • ต้องไม่ก้าวก่ายผลลัพธ์ที่เกิดจากการระดมความคิดของกลุ่ม ไม่ว่าจะถูกหรือผิดให้ปล่อยเป็นการวินิจฉัยในกลุ่มผู้เข้าร่วม ภายใต้การอำนวยการของ facilitator 
  • ถ้าโดนจู่โจมให้เข้าใจ ทำใจเสียว่าตนเองตกเป็นแพะรับบาปเกี่ยวกับเรื่องที่กลุ่มไม่ต้องการอภิปราย เพราะบางครั้งเป็นการยากสำหรับกลุ่มผู้เข้าร่วมที่จะยอมรับความผิดพลาด หรือ การเสียหน้าในบางเรื่อง facilitator จึงเป็นเป้าหมายที่ดีในการเบี่ยงเบนประเด็น 
สำคัญ คือ ต้องถอยออกมาจากความต้องการของตนเอง และ จำไว้ว่าหน้าที่ของตน คือ การอำนวยความสะดวกให้ผู้เข้าร่วมค้นพบแนวทางของตนเองเท่านั้น เวทีนี้ไม่ได้เป็นของ facilitator ให้ถือเป็นทางเลี่ยงของการใช้บทบาทที่ผิดในการประเมินและตัดสินความคิดเห็นของผู้เข้าร่วม 

ทัศนคติง่ายในการพูด แต่ยากในการปฏิบัติ

การเรียนรู้กฎ หลักการอย่างเดียวไม่เพียงพอ facilitator สามารถใช้วิธีการได้ดีโดยการประยุกต์ใช้อย่างด้วยตนเองเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม resource person จะแตกต่างจาก moderator ถ้า facilitator เป็น resource person จะเป็นการเหมาะสมกว่าถ้าจะมี  facilitator อีกคนเป็น moderator  ขอย้ำ..
resource person พึงพิจารณาว่า
  • ตนมีหน้าที่จัดหา เตรียมและให้ข้อมูลเบื้องต้นสั้น ๆ เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาหรือปัญหาเฉพาะที่เป็นความต้องการของผู้เข้าร่วมหรือที่กำหนดไว้ในโปรแกรม การนำเสนอภาพรวม  ข้อมูล ทุกครั้งจะต้องตามด้วยการอภิปรายของกลุ่มเสมอโดย moderator 
  • ไม่ยัดเยียดข้อมูลให้กับผู้เข้าร่วม โดยผลักดันไปในทิศทางที่ตนต้องการ แต่ข้อมูลที่ให้นั้นควรถูก ย่อย หรือ สังเคราะห์ โดยกลุ่มผู้เข้าร่วม 
  • ต้องเข้าร่วมตลอดเวลาในระหว่างการประชุม สัมมนา หรือฝีกอบรม และต้องพร้อมที่จะนำเสนอข้อมูลที่เตรียมไว้ล่วงหน้าเสมอ ถ้าเป็นการนำเสนอเฉพาะช่วง ส่วนใหญ่ ผู้เข้าร่วมจะไม่อยากถามหรือแสดงความคิดเห็น ซึ่งการไม่เข้าร่วมตลอดนอกจากจะเป็นการไม่ให้ความสำคัญต่อกลุ่มแล้ว ยังเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับประเด็นที่มีการอภิปรายในเวลาที่ตนไม่อยู่ 
ในสถานการณ์ที่เน้นวิธีการมีส่วนร่วม วิทยากรทุกคนพึงสังวรว่าตนเองเป็นผู้เข้าร่วมคนหนึ่งด้วยและใช้กฎเกณฑ์เดียวกันในการอภิปราย ซึ่งในโอกาสนี้วิทยากรก็สามารถเรียนรู้จากผู้เข้าร่วมคนอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
ไม่มีใครรู้ทุกเรื่อง ทุกคนรู้บางเรื่อง

Team of Facilitators 
moderator และ resource person จะสร้างทีมของ facilitator โดยเฉพาะในกรณีของการฝึกอบรม และถ้าเปรียบเทียบกับวิธีการดั้งเดิมแล้ว การครอบงำโดยคนใดคนหนึ่งจะลดลงอัตโนมัติ บทบาทในทีมนี้มีการเปลี่ยนแปลงได้ ยกตัวอย่างเช่น คนในทีมคนใดคนหนึ่งอาจมีบทบาทเป็น moderator ซึ่งจะรับผิดชอบสำหรับการเตรียมการ การจัดระบบงานประจำวัน เป็นต้น นอกจากนั้นการที่มีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ซับซ้อนและมีระยะเวลาเกิน 1 วัน ควรจะมี   facilitator อย่างน้อย 2 คน แต่สำหรับกลุ่มที่ใหญ่มากจะต้องใช้ facilitator อย่างน้อย 3 คนใน 1 ทีม กล่าวคือ คนหนึ่งเป็น moderator อีกคนหนึ่งควรเป็นผู้ช่วย moderator และสังเกตทั้งกลุ่มผู้เข้าร่วมเอง ปฏิกิริยา ตลอดจนการนำของ moderator และอีกคนหนึ่งจะมีบทบาทเป็น resource person

ในบางครั้งในทีมอาจมีความจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตอบปัญหาเฉพาะเรื่อง แต่ผู้เชี่ยวชาญนั้นต้องเป็นหนึ่งในทีมด้วยเช่นกัน ซึ่งการทำงานเป็นทีมนั้นต้องอาศัยการทำตามกฎเกณฑ์ที่ยอมรับร่วมกัน ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น มีความเป็นเอกฉันท์ และค้นหาวิธีการในการทำงานร่วมกัน

ทุกคนต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

วันเสาร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2553

ความเป็นกลาง

เห็นไหมว่า..มันบังวิว
ไอ้ที่อยู่ตรงกลางน่ะ

แอบจิต แอบกลาง ขวางทางเลือก
เป็นไอ้เบื๊อก หรือ เป็นไทย ใคร่ขอถาม
เป็นไทยได้แต่ตัวกลัวไม่งาม
คนเลวทรามได้หน้าพาราพัง

จะโทษใคร คนไทยชอบแอบจิต
ผู้ดีนิด ผู้ดีหน่อย ดูล้ำค่า
สนใจแค่ความมีราคา
ค่าคนจริงกลับทิ้งไปไม่ใยดี

หยุดเสียทีความเป็นกลางเรื่องถูกผิด
คิดสักนิดไม่เสียหาย คลายปมเปิด
คนจะได้เข้าใจไม่โดนเชิด
เป็นบ่อเกิดความจริง ทิ้งสิ่งลวง

เลือกข้างเถิดพี่น้องสนองรัฐ
เขาจะได้จัดเรื่องถูกเป็นสุขทั่ว
แต่ถ้าเราเขลาขลาดมัวแต่กลัว
ระวัง(อดีต)นายกชั่วจะกลับมา


ในสถานการณ์ผันผวนของเมืองไทย โดยเฉพาะเวลานี้ (เมษายน ๒๕๕๓) 
สิ่งที่เกิดขึ้น อยากโทษคนเป็นกลาง
(ดูไม่ดีหรือเปล่า...)
ไม่รู้ไปเอาค่านิยมอะไรที่ไหนมาว่า การเป็นคนดี (อยากให้ตัวเองดูดี) ต้องเป็นกลาง
ไม่เพราะความเป็นกลางหรือที่ทำให้เกิดเสื้อแดง
นปก=นรกป่วนกรุง แล้วกลายพันธุ์เป็น นปช=นรกป่วนชาติ
และ (ควรจะ)สุดท้ายแล้วกลายเป็นไพร่ (ขอยืมมา..)
การไม่เลือกข้างทำให้กลุ่มนี้แพร่พันธุ์ชั่ว มากขึ้น มากขึ้น
เพราะ(มันอยาก)นึกไป(เอง)ว่าพวกมันมีจำนวนมาก
 ถือเอาเอนจัสติไฟมีนส์-แมคคิอาเวลลี เป็นพ่อ
จึงทำทุกวิถีทาง เพื่อบรรลุสิ่งที่ต้องการ (ผิดๆ) 
ไม่สนว่าจะเบียดเบียน หรือแม้กระทั่งฆ่าใคร
คน(ดัดจริต)เป็นกลาง เพราะอยากดูดีมีชาติตระกูล ทำให้มันได้ใจ... 
อยากให้คนอื่นมองว่า ตัวเป็นผู้ดี (ตัวดีมากกว่า) 
ตัวรักสันติสงบ ตัวมีการศึกษา สีขาว บริสุทธิ์...
เห็นไหมว่า... ความเป็นกลางทำอะไรเลวร้ายแก่ชาติบ้านเมืองบ้าง
ไม่เลือกข้าง.. อยากจะอ้วก..
คิด คิด สักนิด
ถูกกับผิด ดีกับชั่ว
ต้องเลือก...

ไม่เลือกก็บังวิวอยู่นั่นแหละ... 
ความจริง ความต้องการแท้จริงก็ไม่ปรากฎ
วรนุชเลยมากันซะเต็มเมือง เล่นกันเต็มที่ ไม่มีเกรงกลัวกฎหมาย
แล้วยังจะเป็นกลางอยู่ได้...
นี่เท่ากับสนับสนุนให้คนผิด ทำผิดอยู่นั่นแหละ
ไม่พัฒนา คนไทยเลยโง่ซะ จะโทษใคร
ต้องโทษพวกที่ไม่ออกมาเลือกข้าง...
เลือกไปเลยว่าจะเอายังไง
การเฉยเฉย.. ทำให้คนอื่นลำบากนะ เป็นการยากที่สุดที่จะการจัดการ
เพราะอมอยู่นั่น..อะไรก็ไม่ชัด
แอบอยู่ได้

วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2553

การมองเห็น

มาจากเมืองฝรั่ง....
ประชาธิปไตยเป็นของดี
เป็นประเด็นสำคัญขนาดที่คนต้องต่อสู้ ฆ่ากันเพื่อให้ได้มา
เป็นหลักการที่ทุกชาติ ทุกประเทศต้องมี
ไม่มีถือว่าไม่เจริญ ไม่อารยะ
... จริงหรือ...

ไม่ต้องอ้างว่าคนที่อเมริกา ต่อสู้ระหว่างเหนือใต้กว่าจะได้มาคนตายเป็นแสน
หรือสเปน ฝรั่งเศสคนตายเป็นล้าน
นี่ คือ การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แบบฝรั่งฝรั่ง
แล้วฝรั่งก็นำบรรทัดฐานของตัวมาตัดสินคนทั้งโลกว่า..เถื่อน ไม่มีเสรีภาพ
ไม่เป็นประชาธิปไตย 
สื่อก็ไม่เสนอตามบริบทที่เป็นจริงของประเทศอื่น
การไม่เข้าใจ ไม่เคารพในความเป็นไปของคนอื่น
ยังถือว่าเป็นต้นแบบประชาธิปไตยหรือ
ที่สำคัญคนของเรา (โดยเฉพาะพวกที่สำคัญว่าตัวเองมีการศึกษา) ก็เชื่อไปด้วย

เวลานี้ก็มานั่งมองเราว่า... นี่กำลังอารยะ กำลังจะเปลี่ยนระบบการเมืองใหม่
ด้วยความเคารพ... บีเอส แอน มายแอส
ประเทศเรามีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในหัวใจคนไทย
ไม่ใช่แค่สัญลักษณ์ 
อย่างที่คนอกตัญญูไม่มีหรือมีปริญญา..แต่ไม่มีจิตสำนึก อยาก

ประเทศสุขสงบ ทุกคนรู้หน้าที่ รู้ความแตกต่าง
ไม่เรียกประชาธิปไตยได้ไหม
ความเท่าเทียม...มีแต่ในตัวหนังสือที่จารึก
นึกให้ดีว่ามีจริงไหม...
ไม่เช่นนั้นฝรั่งมันจะมีคำว่า พริวีเลช มาทำไม
คนมีกรรมต่าง วาระต่าง จะเท่ากันได้อย่างไร
มันเป็นธรรมชาติ
แต่คนอยากฝืนธรรมชาติ.. ไม่เข็ด 

คนที่ไม่รู้ ก็ไม่รู้ ก็ดี ถ้าไม่วุ่นวาย
คนที่รู้ ที่ศึกษามาแต่หลง แต่มัวเมาเขลา
อันนี้ได้แต่มอง...แต่ไม่เห็น

วันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2553

คิดไม่ดีอยู่ได้

ความคิดไม่ดี ตอนนี้เป็นธารน้ำแข็ง
คิดชั่วไม่เลิก หาอุเบกขาไม่เจอ
ชีวิตมันยุ่งจริงจริง... มีมารมาทดสอบตลอดเวลา
มารใกล้ๆนี่หละ... มาบ่อย...
พยายามรู้เท่า..แต่ไม่ทัน 
หายใจอยู่ หายใจอยู่ ยังไม่ลืม ยังมีให้ขุ่นใจ

คิดทางออกแบบโง่ๆ ..คิดได้ยังไง
ใกล้มากไม่ดี.. เป็นเหตุผลที่ทำไมต้องปลีกวิเวก
แต่มันไม่ใช่ทางออกแท้....
ชีวิตที่เป็นอยู่ทุกวัน จะทำอย่างไร...
จะทำอย่างไรให้อยู่ในความอึดอัด ความไม่ชอบ ความรำคาญ
ให้รู้อยู่กับมัน...

การอยู่กับคนหลากสี.. หลายที่มา 
คนไม่รู้สึกในสิ่งที่เราทำให้ 
คนไม่สำนึกในความเหนื่อยยากของเรา
คนไม่ให้ความสำคัญกับความจริงใจ
คนเห็นแก่ตัว คนเลือกที่รักมักที่ชัง
คนไม่จริงใจ คนโกหก คนไม่รักเรา
ทั้งหมดนี้ หรือ มากกว่านี้...มันเรื่องของเราใช่หรือไม่... 
ไม่ใช่....มันเรื่องของเขา

การพยายามละลายน้ำแข็ง.. คิดว่าทำได้
 ต้องไม่โกรธ ไม่โมโห ไม่น้อยใจ ไม่อิจฉา ... 
ไม่ต้อง ห้ามไม่อยู่  เลิกให้เร็ว... 
ไม่ถือสา ไม่คิด ว่างไปเลย ว่าง...
หายใจอยู่ หายใจอยู่....

แต่ยังไม่เลิกคิด น่าเสียดาย

วันจันทร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2553

เสียใจ เจ็บใจ ช้ำใจ

ขอมอบใจ...ไว้อาลัยให้ทหารกล้า
ถูกคนไทยด้วยกันฆ่าอย่างขลาดเขลา
หวังใจว่า (คนไทย) ที่เหลือไม่ดูเบา
ไม่มัวเมา หลงผิด คิดแค่ตัว....

แผ่นดินนี้เกื้อกูลไม่เลือกชั้น
แต่คนนั้นกลับชั่วทำมัวหมอง
ทักษิณบ้าโง่เง่า ใจลำพอง
ไม่มองถึงเลือดเนื้อเชื้อชาติไทย

ละเมิดกฎหมายหายนะมาสู่ชาติ
มันยังขลาดหดหัวใต้ตัวเหี้ย
เอาสีแดงมาพรางกาย..หน้าตัวเมีย
ไม่คิดเสีย เอาแต่ได้ดังใจมัน

ประชาธิปไตยนั้นหรือที่กล่าวอ้าง
ชาติอับปางไม่สำนึก ไอ้พวกชั่ว
ถึงกับฆ่าทหาร..ไม่เกรงกลัว
ปลุกปั่นทั่วแผ่นดิน..สิ้นปัญญา

หรือประเทศนี้สิ้นแล้วผู้แกล้วกล้า
ยอมสิ้นท่าให้คนเลวมันฮึกเหิม
อนุพงศ์ให้ยุบสภาว่าการเมือง
ปลดเปลื้องคำสาบาน มารทัพไทย

เห็นแดงทั้งแผ่นดินเหมือนสิ้นชาติ
อนาจใจคนไทยไร้สมอง
บทเรียนครั้งนี้ น้ำตานอง
ร้องเพลงชาติให้ตายก็สายไป

เกิดเป็นไทยรักแต่ตัว ไม่กลัวนรก
ใจโสโครกฆ่าคนไทยหน้าตาเฉย
โยนความผิด ไม่สำนึก แบกศพเย้ย
คนไทยเอย.. ทนได้อย่างไรกัน

ความสุข

ทิ้งอะไรบ้าง.. แค่คิดก็เริ่มดีแล้วนะ 
เริ่มจากที่ไม่ดี ไม่ดีก่อนก็ได้ 
ใจที่มันเห็นแก่ตัว ใจที่คิดจะเบียดเบียน ใจที่คาดหวัง
เริ่มตรงนี้แหละดี..

วันอาทิตย์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2553

กาารเรียนรู้

ในชีวิต... คนบางกลุ่มรู้มาก บางกลุ่มรู้น้อย.. ล้วนเป็นทุกข์
แล้วยังไง จะรู้ไปทำไม  
รู้แล้วยังไง ไม่รู้แล้วยังไง
ไม่ต้องสงสัย ไม่ต้องสัญญา
ตื่นในปัจจุบัน หลับให้สบาย ตายให้สงบ

วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2553

การใคร่ครวญ

ถามบ่อยๆ ถามตัวเอง
ถามเอง ตอบเอง เพราะคนอื่นจะรู้ดีกว่าเราได้อย่างไร
แต่ใจให้เป็นธรรมก่อน
การตั้งคำถามเป็นทักษะ
ฝึกได้ ฝึกไป... ถามไม่ต้องรู้

การใช้ชีวิต

คนเราเกิดมาแค่ตาย.. ไม่กลัวตายไม่มีอะไรต้องกลัว
พูดง่าย.. แต่คิดแล้วจริงๆก็ง่าย มันไม่มีอะไร
ชีวิตไม่มีอะไร ไม่มีอะไรสำคัญ
one life....just live it
เข้าใจปัจจุบันที่กำลังเป็นอยู่ กำลังทำอยู่
รู้บ่อยๆ ไม่ต้องถาม...กำลังทำอยู่ ไม่ต้องเข้าใจ

วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553

การปล่อยวาง

ลงมานิ่งๆ ลงมาดีๆ
ต้องหัด.. ทำไม่ค่อยได้ ถ้าพอได้ ต้องรีบๆ
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ
ไม่มีอะไรน่าดีใจ หรือ เสียใจ ในการเกิดมาเป็นคน
เกิดมาตามกรรม ไปตามกรรม สุขทุกข์ตามกรรม
รีบลง..
ลงไม่ได้..เป็นพิษ ติดใจ ไม่ไปไหน
ยึดไว้...เสื่อม ยึดไว้...เสี่ยง 

วันอังคารที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2553

ความกล้า

ความกล้าที่สุดของคน คือ...การกล้าให้อภัย
อภัยคนอื่น อภัยตัวเอง
ไม่ง่าย.. ต้องอาศัยจิตใจที่เข้มแข็งในการละวาง
ละวางอัตตา ตัวตน
แค้นไปก็เจ็บ... ไม่มีอะไรดีขึ้น
ทำได้จะโล่ง... 

วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2553

ความรัก

ความรู้สึกอยู่ข้างใน.. อยากได้ใจ ต้องแสดงออก
ไม่ใช่แค่อยากมีแฟนหรอก.. แต่เป็นความเอื้ออาทรให้คนรอบข้างด้วย
ความรัก แสดงออกได้ แต่ไม่ต้องคาดหวัง...

วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553

วิทยากรใจถึง ตอนที่ 2



There is a big difference between recognizing a situation may be out of your control 
and letting it drive you out of control.

Grant M. Bright












สถานการณ์ที่เหมาะสมในการใช้วิธีการมีส่วนร่วม (Situations to Apply the Approach)



เรื่องของสถานการณ์ที่เหมาะสมในการใช้วิธีการการมีส่วนร่วมนั้นน่าคิด บ่อยครั้งที่เจอคำถามว่าสถานการณ์ใดบ้างที่เหมาะสมสำหรับการประยุกต์ใช้ Participatory Approach หรือ มีข้อจำกัดหรือไม่ถ้าพิจารณาตามกลุ่มของผู้เข้าร่วม ประเภทของเนื้อหา ที่เด็ดคือคำถามว่า..มีสถานการณ์ใดที่ใช้ Participatory Approach แล้วไม่เกิดประโยชน์บ้าง อันนี้ถือว่าท้าทายกันเลย หรือ อาจมีอีกหลายคำถามที่ยังค้างคาใจแต่ไม่กล้าถาม   จะยังไงก็ตาม..จากประสบการณ์แล้ว คิดว่าถ้าเป็นสถานการณ์ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งหลาย การฝึกอบรมและการวางแผนแล้ว   Participatory Approach จะมีส่วนช่วยได้มาก ทั้งนี้มาช่วยกันพิจารณาสถานการณ์ต่อไปนี้
  • สถานการณ์เกี่ยวกับการฝึกอบรมและการเรียนรู้

ในสถานการณ์นี้....ระดับความรู้เบื้องต้นและความเหมาะสมของเนื้อหาวิชาเป็นสิ่งที่สำคัญมากซึ่งสามารถจำแนกได้เป็นสองกรณี คือ

1. เนื้อหาวิชาที่ผู้เข้าร่วมมีประสบการณ์อยู่แล้ว
ถ้าเนื้อหาวิชาเป็นเรื่องราวที่กลุ่มผู้เข้าร่วมมีประสบการณ์อยู่แล้ว จุดประสงค์ของการพบปะ คือ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่งจากการแลกเปลี่ยนนี้ น่าจะเกิดองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ ถ้าคนเห็นว่าในสถานการณ์ที่คล้ายกันนั้นคนอื่นมีการแก้ปัญหาอย่างไร ผู้เข้าร่วมจะได้ความคิดในการแก้ไขปัญหาของเขาเองจากผลลัพธ์ของประสบการณ์ทั้งหมดที่แบ่งปันกัน กลุ่มไม่เพียงแต่จะได้แนวคิดใหม่และหลักการ แต่หากได้ know-how ในการนำไปใช้ ซึ่งล้วนแล้วแต่ได้มาจากการเคลื่อนไหวของข้อมูลและความคิดสร้างสรรค์ที่ไหลเวียนกันไปมาในระหว่างกลุ่มผู้เข้าร่วม และแน่นอน..จากการอำนวยการของทีมวิทยากรเพราะไม่ได้มีการกำหนดแนวทางไว้ล่วงหน้า แต่จะเกิดขึ้นในระหว่างการอภิปราย

2. เนื้อหาวิชาที่อยู่นอกเหนือจากประสบการณ์และความรู้ของผู้เข้าร่วม
อันนี้ยากกว่าเพราะว่าการฝึกอบรมนั้นจะประกอบไปด้วยเนื้อหาวิชาหลายส่วน ซึ่งอาจจะใหม่เอี่ยมถอดด้ามเลยก็ได้สำหรับกลุ่มผู้เข้าร่วม ดังนั้นใช้วิธีการอภิปรายไม่ค่อยเหมาะ เพราะในกลุ่มผู้เข้าร่วมที่ไม่มีความรู้หรือประสบการณ์ จะไม่สามารถทำให้เกิด know-how ได้ในการอภิปราย  ควรเน้นใช้การเรียนรู้แทน  ใช้วิธีการการมีส่วนร่วม โดยอาจใช้กรณีศึกษาหรือกิจกรรม เพื่อสร้างประสบการณ์ ความคุ้นเคยต่อเนื้อหาก่อน ซึ่งจะทำให้กลุ่มผู้เข้าร่วมมองเห็นภาพรวมของเนื้อหา ภาพตามความเป็นจริง ซึ่งถือเป็นขั้นตอนพื้นฐานก่อนจะประยุกต์ใช้และอภิปรายใน know-how ใหม่ ๆ     

ส่วนใหญ่...ในกรณีของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์หรือการฝึกอบรมนั้น สภาพการทำงานจริงของผู้เข้าร่วมจะเป็นตัวกำหนดเนื้อหา แปลว่า..ถ้าวิทยากรรู้ปัญหาจริง รู้รายละเอียด วิทยากรน่าจะเล็งเห็นถึงทางแก้ไขที่เหมาะสม แต่ก่อนอื่นต้องเรียนรู้จากผู้เข้าร่วมก่อนจึงจะทำให้การฝึกอบรมมีประสิทธิภาพได้ และนี่คือรูปแบบของการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมที่ให้ความสำคัญต่อกลุ่มผู้เข้าร่วมเป็นหลัก หรือ ที่เรียกกันว่า Participant-oriented Approach
  • สถานการณ์เกี่ยวกับการวางแผน

ในการสัมมนาเชิงปฎิบัติการที่เป็นการวางแผน (ปกติเห็นแต่นั่งฟังกันสลอน สิ้นวันก็กลับบ้าน เรียกกันได้เต็มปากเต็มคำว่าเป็นการวางแผนร่วมกัน) จะเป็นการวางแผนระยะไหนก็ตาม หรือ จะเป็นการวางแผนกลยุทธ์ วางแผนยุทธศาสตร์ ล้วนเป็นการแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อนต้องอาศัยทั้งการติดต่อสื่อสาร การวางแผนและการตัดสินใจ หากในกรณีมีผู้เกี่ยวข้องมาก กลุ่มผลประโยชน์หรือสถาบันเกี่ยวข้องจำนวนมาก สถานการณ์จะยิ่งยากมากขึ้น (แต่ไม่ใช่ทำไม่ได้ รู้จัก open space technology หรือเปล่า..) คำถามมีอยู่ว่าควรจะให้มีผู้คนเกี่ยวข้องมากหรือน้อยในกระบวนการวางแผน การยอมให้ใช้สิทธิในการออกเสียงตัดสินใจนั้นอาจเป็นสาเหตุแห่งการอภิปรายที่เป็นการโต้เถียง ลองดูความเห็นสามส่วนต่อไปนี้ที่จะชี้ให้เห็นถึง participation dilemma ไม่ร่วมก็ต้องร่วมแล้ว

การติดต่อสื่อสาร
ถ้าการมีส่วนร่วมหมายถึง one man = one vote การมีส่วนร่วมแบบนี้เกิดขึ้นได้เฉพาะในกลุ่มเล็กใช่หรือไม่? คำตอบคือ ไม่ แต่ปกติแล้วในกลุ่มใหญ่ การติดต่อสื่อสารจะเป็นแบบทางเดียว (เพราะมันง่าย วิทยากรดูขลัง..สงสัยอยากเป็นพระเครื่อง)  วิทยากรจะใช้บทบาท(ที่คิดว่ายิ่งใหญ่)ในการเปลี่ยนกลุ่มผู้เข้าร่วมให้กลายเป็นกลุ่มที่เปิดรับเพียงอย่างเดียว (..แย่จัง)  ซึ่งแน่นอน..ลองคิดดูว่าถ้ามีใครระงับสิทธิการพูดของเราหรือเราไม่มีส่วนร่วม จะรู้สึกอย่างไร กลายเป็นคนไม่มีวาสนา คนไม่สำคัญ การตัดสินใจจะเกิดขึ้นได้ยากมาก และนี่เป็นความจำเป็น ไฟล์ทบังคับให้เกิดการมีส่วนร่วมใช่หรือไม่ 

การวางแผน 
อย่างที่บอก..การวางแผนจะเป็นไปเพื่อแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต เรื่องของปัญหาส่วนใหญ่ซับซ้อน เพราะเราไม่ค่อยกล้าตรง มักจะมีอะไรหมกไว้ เป็นเรื่องยุ่งที่ต้องสาง จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องอาศัยความคิดที่หลากหลายเป็นแนวทางในการวางแผน และถ้าไม่ให้เกิดการมีส่วนร่วมมันจะเป็นการวางแผนที่ดีได้อย่างไร   แต่ส่วนมากแนวทางการวางแผนจะออกมาในรูปของรายงานฉบับใหญ่ ๆที่มาจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการซึ่งมักถูกเก็บไว้ในลิ้นชักหรือชั้นวางเอกสาร ถึงแม้ว่าจะมีแนวความคิดที่สร้างสรรค์ดี ๆ หรือแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้ แต่ผู้คนมักจะขาดการรับรู้ ขาดการมีส่วนร่วม ทำให้ไม่เข้าใจและบางครั้งไม่มีเวลาจะอ่านอีกด้วย...และนี่ก็เป็นความจำเป็นอีก..ที่ต้องมีส่วนร่วม

การตัดสินใจ 
การตัดสินใจที่ดีสามารถทำได้ร่วมกันหรือไม่ (ไม่ได้ก็ต้องได้ ไม่งั้นไม่ดี)  บ่อยครั้งที่คณะกรรมการจะเป็นกลุ่ม(เบ็ดเสร็จ)ที่ตัดสินใจว่าอะไรควรทำ ไม่ควรทำ โดยใคร ใช้เงินเท่าไหร่  ไม่เชื่อก็ไปดูพวกแผนยุทธศาสตร์ แผนจังหวัดได้เลย (คนคิดไม่ได้ทำคนทำไม่ได้คิด)     ซึ่งปรากฎชัดว่าหลังจากนั้นผลของมันไม่เป็นไปดังที่คาดหวังไว้ เพราะอาจจะมีความเข้าใจผิด การต่อต้าน ความไม่ใส่ใจและการขัดขวางเกิดขึ้นได้เนื่องจากการไม่มีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ...และนี่ก็เป็นความจำเป็นอีก

เพื่อการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนวิทยากรต้องการบางสิ่งที่มากกว่าแค่การแก้ปัญหาด้วยเทคนิค หรือ โดยวิธีการ   วิทยากรต้องตระหนักว่าคนเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการวางแผน  ไม่ใช่สิ่งของที่จะผลักดันไปทางใดก็ได้ และต้องรู้ว่าเป็นการยากสำหรับคนที่จะเปลี่ยนทัศนคติในเวลาอันสั้น โดยทั่วไปแล้วการต่อต้านความเปลี่ยนแปลงยังคงมีอยู่ในคน (คนไทยแก่ๆไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง)   ดังนั้นจึงเป็นการยากเหลือเกินเมื่อต้องมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติคนกลุ่มใหญ่  แต่ถ้าเราต้องการจะเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นนี้ เราจะต้องเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติ ช่วยกันเปลี่ยนกระบวนในการนำ ตลอดจนการประเมินผลเพื่อมุ่งไปยังการเรียนรู้ร่วมกัน  การจะได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้ แปลว่าเราต้องให้ผู้เข้าร่วมได้ทำงานตามแนวคิดและเชื่อมโยงการปฏิบัติร่วมกัน และสิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ...คนได้รับความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนการเสริมความมั่นใจและการตัดสินใจที่ดี

ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่ไม่เปลี่ยน... CHANGE สำคัญ.....    Participatory Approach ถือเป็นวิถีแห่งพลวัต  เพราะสถานการณ์ที่เราเจอ..มีปัญหาซับซ้อนเกี่ยวข้องกับหลายคน วิทยากรจะสามารถอำนวยการไปยังสิ่งที่เรียกกันว่าการแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้และยิ่งยืน ก็โดยการกระตุ้นกลุ่มผู้เข้าร่วมที่มีประสิทธิภาพในการแสดงความคิดเห็นร่วมกันเท่านั้น

คำตอบสุดท้าย...กลุ่มของผู้เข้าร่วม 
ในหลายกรณีการอภิปรายที่เกิดขึ้นจะมีความเหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ แต่จากประสบการณ์แล้วปรากฏว่าทุกคนพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ วิทยากรสามารถใช้ Participatory Approach ได้ ซึ่งมีหลายเหตุการณ์ที่แสดงว่าวิธีการนี้สามารถบูรณาการกลุ่มที่มีส่วนประกอบที่หลากหลาย และพิสูจน์แล้วว่าใช้ได้จริง (ไม่เชื่อให้ตามไปดูเวลา facilitate ก็ได้ ถ้ามีเวลา)   การต่อต้านที่เกิดขึ้นนั้นส่วนใหญ่จะมาจากพวกที่เรียกตัวเองว่าผู้เชี่ยวชาญที่ใจแคบทั้งนั้น (ต้องเรียกเป็นภาษาลาวให้เข็ด... ผู้เสียวซ่านเบื้องลึก) 

อย่างไรก็ตามแม้กระทั่งกลุ่มที่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ ก็ยังสามารถประยุกต์ใช้วิธีการนี้ได้เช่นกัน โดยที่วิทยากรใช้กราฟหรือรูปภาพซึ่งจะทำให้เขาสามารถมองเห็นถึงภาพรวมได้ ทว่าวิธีการนี้ที่ได้กล่าวถึงตามหลักการแล้วเหมาะสมจะใช้สำหรับผู้ที่สามารถอ่านออกเขียนได้ และสามารถใช้ได้ทั้งในการประชุมในสำนักงาน ระดับท้องถิ่นหรือแม้กระทั่งการประชุมระดับชาติ .. อยู่ที่ใจยอมรับ

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553

มีก็กิน ไม่มีไม่ต้องกิน

การกิน....ความสุขอย่างหนึ่งของคน

แน่นอนว่าไม่ใช่ที่สุด
แต่สำคัญและเป็นปัญหา เพราะมีกินกันหลายเหตุผล
กินกันตาย กินเพื่ออยู่
กินเพื่อสังสรรค์
กินเพื่อบอกสถานะ
กินเพื่อสุขภาพ
กินเพื่อสวย
กินเพื่อดับทุกข์
กินเพื่อผลประโยชน์ เกี่ยวนิดๆกับกินเพื่อรวย
กินเพื่อชาติ (มีด้วยหรือ)
และ...กินเพื่ออื่นๆ อีกเยอะแยะ แล้วแต่จะกิน
ต่อไปนี้...จะเป็นร้านที่กินและชอบเป็นพิเศษด้วยเหตุผลหลายประการ

ใครมาเชียงใหม่..เชิญกิน

  

เลอ กองคำ
ร้านนี้ต้องกิน..เจ้าของเพื่อนกัน..หล่อและแสนดี
อาหารเวียดนามสุขภาพ เฝอแห้งเด็ดดวง
ปอเปี๊ยะผัก กุ้ง ทั้งสดและทอด เริ่ด
หมูหวานข้าวทอดลีนลีน
มาตามถนนห้วยแก้ว ผ่านกาดสวนแก้ว
ถึงสี่แยกโรงแรมรินคำ U-TURN เลี้ยวเข้าซอยแรกซ้ายมือ
ตรงเข้าไปสุดซอย เจอเลยไม่มีหลง

เฮือนเพ็ญ
พลาดแปลว่าไม่ถึงเชียงใหม่.. อาหารคนเมือง ออเตนติก
แก๋งส้มผักบุ้ง ผักเซียงดาและสารพัดผัก

น้ำพริกอี่เก๋ ซี่โครงเด็ดมาก 
เจ้าของเพื่อนกัน.. น่ารัก ร้าย ขายดี
อยู่กลางเวียง ตรงข้ามโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ ถามใครก็รู้จักเน้อ






นี่กินเพราะร้านสวย ประตูร้านก็สวย
นั่งสบาย อาหารสร้างสรรค์ 
จากถนนห้วยแก้ว..ทางจะไปดอยสุเทพ
ถึงสี่แยกโรงแรมเชียงใหม่ภูคำ เลี้ยวขวา
มาตามถนนคันคลอง...ทางไปสนามกีฬาเจ็ดร้อยปี 
ถึงไฟเขียวไฟแดงแรก เลี้ยวขวา ตรงไปซักพัก ร้านอยู่ด้านขวา

เลิศรสใต้ร่มมะเฟือง
อาหารจีนไทย ไม่มีอะไรไม่อร่อย
ร้านไม่น่าเข้าไปกิน.. แต่ไม่กินจะเสียใจ
ไปยากเล็กน้อย 

อยู่ริมแม่น้ำปิง แถวๆเทนคาราโอเกะ เฮือนสุนทรีเก่า


 
เชียงดาวเนสท์
อาหารฝรั่งลำแต้ๆ เค้กเสาวรส น้ำก็เสาวรส
ไปเชียงดาว ใช้เส้นบายพาส
เห็นป้ายถ้ำเชียงดาว เลี้ยวซ้ายไปตามทาง ซ้ายเข้าไว้
เกือบถึงวัดถ้ำผาปล่อง เห็นป้ายชื่อร้าน เลี้ยวซ้ายไปสุดทางที่ไหนก็ที่นั่น



มาม่าฟ้าธานี
เฮเวนลี่...อร่อยไม่ธรรมดา
จากซุปเปอร์ไฮเวย์ แถววัดเจ็ดยอด
เข้าซอยข้างโรงแรมฮอลิเดย์อินน์เก่า(ตรงข้ามโรงแรมธาริน)
เลี้ยวขวาแรกไปตามทาง ผ่านร้านเบเกอริสต้า (ร้านนี้น้ำผลไม้ดีเลย)
ไปอีกหน่อย ร้านมอมๆอยู่ทางซ้ายมือ



เหมยเจียง
อาหารจีนฮ่องกง ฮ่องกง
ก๋วยเตี๋ยวหลอดใส้กุ้ง ใส้เนื้อ ข้าวเหนียวผัด
โจ๊กไข่เยี่ยวม้า ราดหน้าปลา พุดดิ้งสตรอเบอรี่ มะม่วง
ถนนช้างคลาน มาทางสี่แยกแสงตะวัน
อยู่ในช้างคลานพลาซ่าทางซ้าย
ข้างธนาคารกสิกรไทย ข้างโรงแรมแชงกรีลา




เทนโกกุ
ร้านเล็กน่ารัก อาหารดีมีคุณภาพ
วันอาทิตย์กลางวันมีบุฟเฟหัวละห้าร้อย คุ้มราคา ต้องจอง..
ไปทางสี่แยกสันกำแพง 
ซอยเดียวและตั้งอยู่ตรงข้ามโรงแรมดาราเทวี


(ยังมีต่อ..แต่รอก่อน)


ระยะนี้..คิดเรื่องกินแล้วเศร้า
ทำไมคนจะกินต้องมีเหตุผล
ไม่กิน ได้ไหม ดีไหม ทำไมต้องกิน

ชีวิตคนที่วนเวียนอยู่กับการกิน
ไร้สาระ เป็นโทษ และ เบียดเบียนตัวเอง

แต่...คนยังไม่พอ
กินกันจนฉิบหายแล้วค่อยเลิกกิน
น่ากลัวไปหรือเปล่า
สติหาย ปัญญาหด หมดรูป