ใกล้ขึ้นปีใหม่...อะไรที่ "ขัดแย้ง" ต้องกำจัด เพราะคนทำงานร่วมกัน สำคัญไม่แพ้ ‘เป้าหมาย’
จากหนังสือ “The Mediation Process: Practical Strategies for Resolving Conflict” ของ Christopher Moore ให้เราพิจารณา Circle of Conflict เพื่อขุดต้นตอความขัดแย้ง จะได้คิดหาวิธีแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด
Circle of Conflict แบ่งสาเหตุของปัญหาเป็น 5 เรื่อง คือ
1. ความขัดแย้งทางภาษา (Language Conflicts)
2. ความขัดแย้งทางโครงสร้าง (Structural Conflicts)
3. ความขัดแย้งทางคุณค่า (Value Conflicts)
4. ความขัดแย้งของข้อมูล (Data Conflicts)
5. ความขัดแย้งของความสัมพันธ์ (Relationship Conflicts)
----------------------------------
1. ความขัดแย้งทางภาษา (Language Conflicts)
มีคนที่พูดไม่คิดและคิดแต่ไม่พูด ทำให้เกิดปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างกัน
คงต้องมีวิธีรับมือ คือ
- เปิดพื้นที่ให้พูดคุยแบบตรงไปตรงมา
- คำบางคำที่กำกวม ขยายความให้เข้าใจตรงกัน
- ทุกเช้าก่อนเริ่มงานให้ทุกคนอัพเดทสั้น ๆ ว่ากำลังทำอะไรอยู่ จะได้รับรู้กันไป
- ควรรับฟังแต่อย่าเพิ่งตัดสิน (Active Listening)
----------------------------------
2 . ความขัดแย้งทางโครงสร้าง (Structural Conflicts)
เป็นเรื่องโครงสร้างองค์กร เมื่อองค์กรใหญ่ขึ้น อาจเกิดการเกี่ยงงานเพราะไม่รู้ว่าใครต้องรับผิดชอบอะไร เพราะโครงสร้างองค์กรเริ่มไม่ชัด ต้องมาช่วยกัน คือ...
- ช่วยระดมความคิดว่าโครงสร้างส่วนใดที่ไม่เหมาะสม โดยดูว่าโครงสร้างดังกล่าวส่งผลอะไรกับหน้าที่ ความรับผิดชอบ หรือการทำงานของตัวเองบ้าง
- ช่วยกันคิดโครงสร้างที่ทุกคนจะมีความสุขในการทำงานมากขึ้น ทดลองใช้และปรับเปลี่ยนจนกว่าจะหาจุดที่ลงตัวได้
----------------------------------
3. ความขัดแย้งทางคุณค่า (Value Conflicts)
เป็นความขัดแย้งที่มักจะเป็นต้นเหตุให้เกิดความขัดแย้งอื่น ๆ ตามมา มันเป็นเรื่องของแนวคิดที่ช่วงเริ่มต้นอาจจะคิดตรงกัน แต่พอทำงานไปเรื่อย ๆ แนวคิดเปลี่ยน คนเปลี่ยน เริ่มให้ค่ากับสิ่งอื่นมากกว่า ปัญหาก็เกิดได้ เพราะ ทัศนคติเริ่มไม่ตรงกัน เป้าหมายในการทำงานแตกต่างกัน หรือนิสัยเข้ากันไม่ได้ แก้ไขโดย
- แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับทัศนคติของคนทั้งส่วนที่ตรงกันและไม่ตรงกัน เพื่อหาจุดร่วม
- สร้างวัฒนธรรมองค์กรร่วมกันเป็นแกนกลางในการทำงาน
- หาวิธีการรับมือกับแนวคิดที่แตกต่าง
- หากมีปัญหาเกิดขึ้น ลองย้อนกลับไปดูข้อตกลงที่มีร่วมกันในตอนแรกเริ่มว่าเคยตกลงกันไว้อย่างไร และอะไรที่ต้องการปรับเปลี่ยน แล้วสร้างข้อตกลงขึ้นมาใหม่ร่วมกัน
----------------------------------
4. ความขัดแย้งของข้อมูล (Data Conflicts)
การรับข้อมูลที่ผิด ทำให้เกิดการเข้าใจผิด และตัดสินใจผิดพลาด อาจเป็นเพราะได้รับข้อมูลไม่ครบ ข้อมูลผิดพลาด หรือเข้าใจข้อมูลผิด แบบนี้ต้องลองเปิดใจพิจารณาข้อมูล ตรวจสอบข้อมูลจริงก่อน หรือขอความเห็นจากคนอื่นเพื่อป้องกันการตีความพลาด หรือหาแหล่งข้อมูลอ้างอิงอื่น ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมมาช่วยในการตัดสินใจ
- ย้อนกลับไปดูกฏกติกาในการทำงานร่วมกันของทีมว่า เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเราตกลงกันว่าจะตัดสินใจร่วมกันอย่างไร เช่น ประชาธิปไตย หรืออภิปรายด้วยเหตุผล หรืออื่น ๆ แล้วใช้วิธีนั้นในการตัดสิน
----------------------------------
5. ความขัดแย้งของความสัมพันธ์ (Relationship Conflicts)
ความสัมพันธ์เป็นต้นตอใหญ่ของความขัดแย้ง และเป็นสิ่งที่รับมือได้ยากที่สุด เพราะเป็นเรื่องความรู้สึกมากกว่าเหตุและผล มันอาจเป็นเรื่องปัญหาในอดีตฝังใจกับบางคน อคติกับคนอื่น ต้องหาวิธีรับมือ เช่น
- หากิจกรรมสานสัมพันธ์
- เปิดโอกาสให้มีการสนทนา พูดคุย อย่างเปิดใจซึ่งกันและกัน
1. ความขัดแย้งทางภาษา (Language Conflicts)
2. ความขัดแย้งทางโครงสร้าง (Structural Conflicts)
3. ความขัดแย้งทางคุณค่า (Value Conflicts)
4. ความขัดแย้งของข้อมูล (Data Conflicts)
5. ความขัดแย้งของความสัมพันธ์ (Relationship Conflicts)
----------------------------------
1. ความขัดแย้งทางภาษา (Language Conflicts)
มีคนที่พูดไม่คิดและคิดแต่ไม่พูด ทำให้เกิดปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างกัน
คงต้องมีวิธีรับมือ คือ
- เปิดพื้นที่ให้พูดคุยแบบตรงไปตรงมา
- คำบางคำที่กำกวม ขยายความให้เข้าใจตรงกัน
- ทุกเช้าก่อนเริ่มงานให้ทุกคนอัพเดทสั้น ๆ ว่ากำลังทำอะไรอยู่ จะได้รับรู้กันไป
- ควรรับฟังแต่อย่าเพิ่งตัดสิน (Active Listening)
----------------------------------
2 . ความขัดแย้งทางโครงสร้าง (Structural Conflicts)
เป็นเรื่องโครงสร้างองค์กร เมื่อองค์กรใหญ่ขึ้น อาจเกิดการเกี่ยงงานเพราะไม่รู้ว่าใครต้องรับผิดชอบอะไร เพราะโครงสร้างองค์กรเริ่มไม่ชัด ต้องมาช่วยกัน คือ...
- ช่วยระดมความคิดว่าโครงสร้างส่วนใดที่ไม่เหมาะสม โดยดูว่าโครงสร้างดังกล่าวส่งผลอะไรกับหน้าที่ ความรับผิดชอบ หรือการทำงานของตัวเองบ้าง
- ช่วยกันคิดโครงสร้างที่ทุกคนจะมีความสุขในการทำงานมากขึ้น ทดลองใช้และปรับเปลี่ยนจนกว่าจะหาจุดที่ลงตัวได้
----------------------------------
3. ความขัดแย้งทางคุณค่า (Value Conflicts)
เป็นความขัดแย้งที่มักจะเป็นต้นเหตุให้เกิดความขัดแย้งอื่น ๆ ตามมา มันเป็นเรื่องของแนวคิดที่ช่วงเริ่มต้นอาจจะคิดตรงกัน แต่พอทำงานไปเรื่อย ๆ แนวคิดเปลี่ยน คนเปลี่ยน เริ่มให้ค่ากับสิ่งอื่นมากกว่า ปัญหาก็เกิดได้ เพราะ ทัศนคติเริ่มไม่ตรงกัน เป้าหมายในการทำงานแตกต่างกัน หรือนิสัยเข้ากันไม่ได้ แก้ไขโดย
- แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับทัศนคติของคนทั้งส่วนที่ตรงกันและไม่ตรงกัน เพื่อหาจุดร่วม
- สร้างวัฒนธรรมองค์กรร่วมกันเป็นแกนกลางในการทำงาน
- หาวิธีการรับมือกับแนวคิดที่แตกต่าง
- หากมีปัญหาเกิดขึ้น ลองย้อนกลับไปดูข้อตกลงที่มีร่วมกันในตอนแรกเริ่มว่าเคยตกลงกันไว้อย่างไร และอะไรที่ต้องการปรับเปลี่ยน แล้วสร้างข้อตกลงขึ้นมาใหม่ร่วมกัน
----------------------------------
4. ความขัดแย้งของข้อมูล (Data Conflicts)
การรับข้อมูลที่ผิด ทำให้เกิดการเข้าใจผิด และตัดสินใจผิดพลาด อาจเป็นเพราะได้รับข้อมูลไม่ครบ ข้อมูลผิดพลาด หรือเข้าใจข้อมูลผิด แบบนี้ต้องลองเปิดใจพิจารณาข้อมูล ตรวจสอบข้อมูลจริงก่อน หรือขอความเห็นจากคนอื่นเพื่อป้องกันการตีความพลาด หรือหาแหล่งข้อมูลอ้างอิงอื่น ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมมาช่วยในการตัดสินใจ
- ย้อนกลับไปดูกฏกติกาในการทำงานร่วมกันของทีมว่า เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเราตกลงกันว่าจะตัดสินใจร่วมกันอย่างไร เช่น ประชาธิปไตย หรืออภิปรายด้วยเหตุผล หรืออื่น ๆ แล้วใช้วิธีนั้นในการตัดสิน
----------------------------------
5. ความขัดแย้งของความสัมพันธ์ (Relationship Conflicts)
ความสัมพันธ์เป็นต้นตอใหญ่ของความขัดแย้ง และเป็นสิ่งที่รับมือได้ยากที่สุด เพราะเป็นเรื่องความรู้สึกมากกว่าเหตุและผล มันอาจเป็นเรื่องปัญหาในอดีตฝังใจกับบางคน อคติกับคนอื่น ต้องหาวิธีรับมือ เช่น
- หากิจกรรมสานสัมพันธ์
- เปิดโอกาสให้มีการสนทนา พูดคุย อย่างเปิดใจซึ่งกันและกัน
ลองดู...ชีวิตน่าจะดีขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น