วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

ละเอียดอย่างไรดี


เมื่อวานได้ของดีจากท่านนันมาอีกหนึ่งดอก... คำว่า ละเอียด 
ท่านว่าญี่ปุ่นเป็นชาติที่ละเอียดที่สุด.. เนี๊ยบ ระเบียบวินัยจัด แต่ไม่มีความสุข..ทุกข์ที่สุดเพราะละเอียดที่เป็นอยู่ เป็นละเอียดแบบสุขเวทนา ทุกขเวทนา มันเหนื่อย
แต่ละเอียดของพระพุทธเจ้า.. เป็นละเอียดแบบ เบา โล่ง 
คิดว่าน่าจะเป็นความละเอียด.....ที่เกิดจากการปล่อยจริต พิจารณาจริตของคนบนโลกนี้ที่พระพุทธเจ้าว่ามีอยู่ 6 ประเภทด้วยกัน 
จริต = ความประพฤติของคนใดคนหนึ่งจนเคยชินเป็นนิสัย มาจากพื้นฐานใจของแต่ละคน
มาดูกันว่า จะละเอียดอะไรได้บ้าง...
ราคจริต = รักสวยรักงามเป็นสำคัญ ประมาณว่า พอใจในรูปสวย เสียงไพเราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล ชอบความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด ประณีต เกลียดความสกปรก ไม่ชอบอารมณ์ประเภท เศร้าโศก ความพินาศย่อยยับ การทำลายล้าง เป็นต้น 
ยัง freitag อยู่เลยน่ะ ยังชอบกินเนื้อ เซ็งความวุ่น รก สกปรก.. จะละเอียดยังไงดี

โทสจริต = ใจร้อน ใจเร็ว กระด้าง อะไรนิดอะไรหน่อยก็โกรธ รีบร้อน ว่ากันว่าจะเป็นคนแก่เร็ว พูดเร็ว พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ ไม่มีถี่ถ้วน ไม่พิถีพิถัน
อันนี้..พอได้ พอดับได้เมื่อมีสติ...
โมหจริต = เป็นลักษณะเฉื่อยชา ไม่คล่อง อยู่ในความรู้สึกมากกว่าความคิด ไม่ค่อยชอบคิด หรือคิดไม่ออก อาจถึงขั้นมองตัวเองว่าไม่ดี ไม่เก่ง ไม่สวย ไม่หล่อ ไม่มีความสามารถ ใบหน้าไม่เบิกบาน ถึงเวลาพูดไม่พูด ถึงพูดก็ไม่มีพลัง ต้องให้อารมณ์มากระตุ้นจึงจะทำงาน
ยังมีอยู่..แต่น้อยละ ติดอยู่ที่ต้องใช้อารมณ์กระตุ้นนี่แหละ อย่างอื่นไม่มี
วิตกจริต = คิดมาก ชอบคิด แสดงความคิด มีคำถามเยอะ ฟุ้งซ่าน ต้องคิดอยู่อย่างนั้น ไม่กล้าตัดสินใจ ใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองเพราะคิดเยอะเกิน หน้าตาเหนื่อยตลอด หาความสุขสบายใจได้ยาก
ยังมี ยังอยู่  แต่หน้าตาไม่เหนื่อยนะ ยังระรื่น
สัทธาจริต = มีความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ ทำตามความเชื่อ เอาความเชื่อออกหน้า ยึดมั่นความเชื่อเหนือเหตุผล อะไรที่ไม่เป็นไปตามที่ตัวเองเชื่อถือก็จะเห็นว่าไม่ถูกต้อง ใครแนะนำอะไรก็ใจง่ายเชื่ออย่างเดียวไม่ได้พิจารณา
ยังมีอยู่บ้าง เหมือนกัน... แต่ให้น้อยลงได้
พุทธจริต = เจ้าปัญญาเจ้าความคิด ฉลาด มีไหวพริบปฏิภาณดี คิดอะไรเป็นเหตุเป็นผล ใช้ความรู้และเหตุผลในการพิจารณาตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ทำ มองปรากฏการณ์ต่างๆ ตามสภาพความเป็นจริง บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ไม่มีปรุงแต่งหรือใช้อคติส่วนตัว
อันนี้ดีจัง.. ยังไม่ถึง..
ทั้งนี้ทั้งนั้น “ละเอียด” ที่ท่านนันว่า น่าจะเป็น "ไม่สุขไม่ทุกข์"  เป็นอุเบกขาเวทนา มันจึงเบา ละเอียด โล่ง  ไม่ยึด ไม่ติด..ลองดู ต้องลอง..

2 ความคิดเห็น: