ถึงเวลา networks และ teamwork
หมดเวลา traditional organizational structures
ต่อไปนี้...มันเป็นเรื่องของการยึดที่ expertise ไม่ใช่เรื่อง rank มันเป็นเรื่องของ sense of urgency และการแก้ไขปัญหาที่รวดเร็วขึ้น การมีโครงสร้างเชยๆเป็นขนมชั้นจะไม่ช่วยอะไร นอกจากเสียเวลาในการประชุมไปสองชั่วโมง แต่ไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้
ถึงยุคของการเร่งความเร็วเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ความคล่องตัวปราดเปรียว คือ “agility” ที่เป็นความสามารถที่จะ reconfigure พวกกลยุทธ์ โครงสร้าง กระบวนงาน คนและเทคโนโลยีให้มันรวดเร็วเพื่อสร้าง “คุณค่า” ซึ่งเป็นคุณค่าที่ป้องกันอุปสรรค หรือเป็นคุณค่าที่ต่อเติมโอกาสในการทำธุรกิจ คือตอนนี้ไม่เร่งก็ต้องเร่งเพราะว่าวิกฤติมาถึงหน้าบ้าน เข้ามาในบ้านแล้ว พวก agile company เป็นองค์กรที่ decentralized มากและ มีการตัดสินใจแบบ top-down และ command-and-control น้อย ในองค์กรจะมี agile teams ที่ถ้าเป็น day-to-day decisions นี่ทำกันเองได้เลย สำหรับพวกปลาตัวใหญ่จะรับผิดชอบการตัดสินใจแบบ big-bet คือไม่ make ก็ break ไปเลย แบบนี้เดี๋ยวจะหาว่า agile teams จะเป็น out-of-control teams มันไม่ใช่นะ ความรับผิดชอบจะมาในรูปแบบ tracking และวัดกันที่ผลลัพธ์ outcomes ที่ตกลงไว้ มันแปลว่าต้องให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบพอๆกับความยืดหยุ่น แนวคิดคือมันครอบคลุมไปถึงเรื่องคนที่ใช่ในตำแหน่งที่เหมาะเพื่อตัดสินใจและลุยงาน
หลักการหนึ่งที่คาดว่าธุรกิจเข้าใจดีขึ้นหลังจากวิกฤตินี้ คือ โครงสร้างการตัดสินใจแบบแบนๆ ไม่มีลำดับชั้นเยอะ flatter decision-making structure มันเร็วกว่าแบบเดิมๆ แบบ traditional ที่เคยใช้ พวก routine decisions ที่เคยไล่เรียงตามสายการบังคับบัญชาจะยกไปให้คนทำงานปกติตัดสินใจ มันเป็น good effect ที่ธุรกิจเห็นชัด เห็นจริง ดูง่ายๆเลย ก็มีนวัตกรรมเรื่องการทำ face shield ใช้กันเองในทีมเล็กๆของคนในโรงพยาบาล ไม่ต้องขออนุมัติให้มันเสียเวลา อันนี้เป็น new organization paradigm คือ empowerment และ speed
อีกเรื่อง คือ ecosystems ส่วนต่างๆในองค์กรมันเข้าล็อคด้วยกันสวยงามมากกว่าแยกกันทำ ธุรกิจที่มี ecosystems แจ๋วๆ พวก supplier พวก partner พวกคนขาย รวมถึงลูกค้าจะช่วยกันหาทางทำงานร่วมกันในช่วงวิกฤติยิ่งกว่าสมัยใดที่ผ่านมา และที่สำคัญที่ทำได้และจะสำเร็จได้ คือ การมีความสัมพันธ์ที่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน มี trust ไม่ใช้แค่ transactions !!
สุดท้าย agility จะไม่ใช่แค่คำสวยหรูดูดี ถ้าธุรกิจตั้งใจสร้างและเร่งความสามารถในการวินิจฉัย วิเคราะห์พวกข้อมูลที่จำเป็นในการสร้างผลงาน ซึ่งมันจำเป็นต้อง reskill คนในองค์กร ทักษะเก่าไม่สามารถสร้างอะไรใหม่ๆได้ มันต้องมีทักษะและศักยภาพใหม่ๆที่จะทำให้เกิดความลื่นไหล เป็นองค์กรที่ปราดเปรียว อย่าหวังถูกหวยโดยไม่ลงทุนซื้อหวย
คำคม :
an organization that is always learning is always improving !!
หมดเวลา traditional organizational structures
ต่อไปนี้...มันเป็นเรื่องของการยึดที่ expertise ไม่ใช่เรื่อง rank มันเป็นเรื่องของ sense of urgency และการแก้ไขปัญหาที่รวดเร็วขึ้น การมีโครงสร้างเชยๆเป็นขนมชั้นจะไม่ช่วยอะไร นอกจากเสียเวลาในการประชุมไปสองชั่วโมง แต่ไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้
ถึงยุคของการเร่งความเร็วเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ความคล่องตัวปราดเปรียว คือ “agility” ที่เป็นความสามารถที่จะ reconfigure พวกกลยุทธ์ โครงสร้าง กระบวนงาน คนและเทคโนโลยีให้มันรวดเร็วเพื่อสร้าง “คุณค่า” ซึ่งเป็นคุณค่าที่ป้องกันอุปสรรค หรือเป็นคุณค่าที่ต่อเติมโอกาสในการทำธุรกิจ คือตอนนี้ไม่เร่งก็ต้องเร่งเพราะว่าวิกฤติมาถึงหน้าบ้าน เข้ามาในบ้านแล้ว พวก agile company เป็นองค์กรที่ decentralized มากและ มีการตัดสินใจแบบ top-down และ command-and-control น้อย ในองค์กรจะมี agile teams ที่ถ้าเป็น day-to-day decisions นี่ทำกันเองได้เลย สำหรับพวกปลาตัวใหญ่จะรับผิดชอบการตัดสินใจแบบ big-bet คือไม่ make ก็ break ไปเลย แบบนี้เดี๋ยวจะหาว่า agile teams จะเป็น out-of-control teams มันไม่ใช่นะ ความรับผิดชอบจะมาในรูปแบบ tracking และวัดกันที่ผลลัพธ์ outcomes ที่ตกลงไว้ มันแปลว่าต้องให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบพอๆกับความยืดหยุ่น แนวคิดคือมันครอบคลุมไปถึงเรื่องคนที่ใช่ในตำแหน่งที่เหมาะเพื่อตัดสินใจและลุยงาน
หลักการหนึ่งที่คาดว่าธุรกิจเข้าใจดีขึ้นหลังจากวิกฤตินี้ คือ โครงสร้างการตัดสินใจแบบแบนๆ ไม่มีลำดับชั้นเยอะ flatter decision-making structure มันเร็วกว่าแบบเดิมๆ แบบ traditional ที่เคยใช้ พวก routine decisions ที่เคยไล่เรียงตามสายการบังคับบัญชาจะยกไปให้คนทำงานปกติตัดสินใจ มันเป็น good effect ที่ธุรกิจเห็นชัด เห็นจริง ดูง่ายๆเลย ก็มีนวัตกรรมเรื่องการทำ face shield ใช้กันเองในทีมเล็กๆของคนในโรงพยาบาล ไม่ต้องขออนุมัติให้มันเสียเวลา อันนี้เป็น new organization paradigm คือ empowerment และ speed
อีกเรื่อง คือ ecosystems ส่วนต่างๆในองค์กรมันเข้าล็อคด้วยกันสวยงามมากกว่าแยกกันทำ ธุรกิจที่มี ecosystems แจ๋วๆ พวก supplier พวก partner พวกคนขาย รวมถึงลูกค้าจะช่วยกันหาทางทำงานร่วมกันในช่วงวิกฤติยิ่งกว่าสมัยใดที่ผ่านมา และที่สำคัญที่ทำได้และจะสำเร็จได้ คือ การมีความสัมพันธ์ที่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน มี trust ไม่ใช้แค่ transactions !!
สุดท้าย agility จะไม่ใช่แค่คำสวยหรูดูดี ถ้าธุรกิจตั้งใจสร้างและเร่งความสามารถในการวินิจฉัย วิเคราะห์พวกข้อมูลที่จำเป็นในการสร้างผลงาน ซึ่งมันจำเป็นต้อง reskill คนในองค์กร ทักษะเก่าไม่สามารถสร้างอะไรใหม่ๆได้ มันต้องมีทักษะและศักยภาพใหม่ๆที่จะทำให้เกิดความลื่นไหล เป็นองค์กรที่ปราดเปรียว อย่าหวังถูกหวยโดยไม่ลงทุนซื้อหวย
คำคม :
an organization that is always learning is always improving !!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น