เรื่องของคนใจดี
ฝรั่งเรียก empathy แต่อยากเรียกว่า ใจดี
เป็น habit ที่เก็บเกี่ยวได้นะ เพราะมันเป็นความสามารถที่เราเข้าถึง เข้าใจความรู้สึก มุมมองคนอื่นได้โดยไม่เอาแต่ตัวเองไปตัดสิน แต่ตรงกันข้ามเรียนรู้จากความรู้สึก มุมมองคนอื่นแล้วจึงมี action ประมาณเอาใจเขามาใส่ใจเราดังกฎทองของ George Bernard Shaw ที่ว่า
“do not do unto others as you would have them do unto you—they might have different tastes ”
และความใจดี คือ การค้นพบ พวก tastes ทั้งหลายนี่แหละ คนเราเป็นสัตว์สังคม ความใจดีจึงจำเป็นต้องมีไว้ให้โลกมันหมุนไปได้สวยงาม ไม่เบียดเบียนกัน
มีงานวิจัยใหม่ที่พูดถึง habit ของคนใจดีว่า...คนใจดีนั้นย่อม...
1.ไม่กลัว ไม่รังเกียจคนแปลกหน้า : คนใจดีจะไม่อยู่แต่ในวงของตัวเอง แต่จะเผื่อแผ่การเคารพ รับฟังและสังเกตุคนอื่นไปด้วย คือ นอกจากเข้าใจโลกตัวเองแล้ว ยังพยายามเข้าใจโลกที่อยู่ในหัวคนอื่นด้วย
2. ท้าทายอคติและมองหาความเหมือน : คนเรามีสมมุติฐาน (แปลว่าไม่จริง) ของตัวเอง มักติดตราคนอื่นไปอัติโนมัติ เช่น คนดำ พวกมุสลิม ซึ่งทำให้เราพลาดการชื่นชมปัจเจกบุคคลไปเสียฉิบ ทำให้ใจดีละลายหายไป
3. กล้าเข้าไปมีชีวิตอยู่ในที่ๆคนอื่นดำรงชีวิต : ถ้าคิดว่าโดดร่มหรือปีนเขาเป็นประสบการณ์ ใจดีก็เป็นประสบการณ์ได้เช่นกัน การเดินทางเข้าไปในที่ๆคนอื่นอยู่อย่างลำบาก ฝึกการเป็นคนใจดีนะ ลองเข้าไปลำบากๆดูบ้าง ใจจะดีขึ้นมาก เข้าใจชีวิตขึ้นเยอะ มันเป็นการฝึกที่ทุกคนฝึกได้
4. เปิดกว้างและฟังเยอะ : อันนี้ถือเป็นคุณลักษณะสำคัญของคนใจดีทีเดียว คงไม่ต้องอธิบายมากนะ คนใจดีมีพื้นที่ว่างให้คนอื่นเสมอด้วยการฟังเพื่อรับรู้ความรู้สึกไม่แย่งซีนและการเปิดหน้าชก ไม่หมกเม็ดทำแอ๊บนางฟ้า
5. เห็นเรื่องส่วนรวมสำคัญ : เรื่องอะไรที่เกี่ยวกับโลก ชาติ ชุมชน คนใจดีจะเข้าไปช่วยผลักเสมอ จะไม่ peaceful ignorance คือ อินกับความอยู่เย็นเป็นสุขของมนุษย์โลก จะเจอได้แถวที่ชุมนุมที่มีการเกื้อกูลช่วยเหลือกัน
ใจดีดีกว่าใจร้าย...ของมันฝึกกันได้