อันตรายของการ “ฉันแน่” “ฉัน คือ ฉัน”
โปรเฟสเซอร์ Adam Grant จาก Wharton School, University of Pennsylvania เขียนบทความเรื่อง These are the dangers of being authentic ใน World Economic Forum ไว้อย่างน่าสนใจว่า...
ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา นักจิตวิทยาได้ทำการสำรวจคนที่ทำงานมากกว่า 23,000 คนโดยให้ตอบคำถามว่า ถูก หรือ ผิด ในเรื่องพฤติกรรม คำถามคือ
“ พฤติกรรมของฉันมักจะแสดงออกถึงความรู้สึกข้างใน ทัศนคติและความเชื่อ ฉันจะไม่เปลี่ยนความคิด หรือการกระทำเพื่อจะเอาใจคนอื่น หรือเพื่อให้คนอื่นมาชอบ ฉันเป็นคนที่เห็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น”
“ พฤติกรรมของฉันมักจะแสดงออกถึงความรู้สึกข้างใน ทัศนคติและความเชื่อ ฉันจะไม่เปลี่ยนความคิด หรือการกระทำเพื่อจะเอาใจคนอื่น หรือเพื่อให้คนอื่นมาชอบ ฉันเป็นคนที่เห็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น”
คนที่ตอบว่า “ถูก” คือคนที่แน่ คนที่เป็นตัวของตัวเองของแท้ แสดงความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเองเสมอ
เป็นที่น่าสังเกตุว่าคนเหล่านี้ (จากการศึกษาวิจัย 136 เรื่อง) จะถูกประเมินต่ำกว่าชาวบ้าน และมีโอกาสน้อยที่จะถูกโปรโมทในบทบาทของผู้นำ
จริงๆแล้ว คนที่เป็นตัวของตัวเองนี่ ไม่ได้ผิดอะไร ออกแนวน่าคบนะ (ความคิดตัวเอง 55) เพราะการแสดงความรู้สึกตรงนั้นถือเป็นความดีนะ แต่อย่างว่า มันอยู่ที่มากไป หรือ น้อยไปด้วย
ความดีทั้งหลาย มากหรือน้อยมันส่งผลต่างตามประเภทความดี มันเป็นเหมือนพวกวิตามินน่ะ เราต้องกินเท่าที่จำเป็นต่อสุขภาพ คิดดูนะกินวิตามิน C มากไปก็ไม่มีประโยชน์ ร่างกายก็ขับที่เหลือออกมาอยู่ดี ไม่มีอันตราย แต่ถ้าเป็นวิตามิน D ก็ตัวใครตัวมัน เพราะมันอาจทำร้ายตับเราได้ ถ้ากินมากไป
Aristotle เชื่อว่า ความดีงามเหมือนวิตามิน D
น้อยไปมีปัญหา จะเห็นแก่ตัว
มากไปจะรันทดต้องเสียสละมากเกินไป
น้อยไปมีปัญหา จะเห็นแก่ตัว
มากไปจะรันทดต้องเสียสละมากเกินไป
ความภาคภูมิใจในตัวเอง...
น้อยไป กลายเป็น “อ่อน”
มากไปกลายเป็น “หลง” (ตัวเอง)
น้อยไป กลายเป็น “อ่อน”
มากไปกลายเป็น “หลง” (ตัวเอง)
กลับมาที่เรื่องการเป็นตัวตนที่แท้ชัดๆ น้อยไป คือ พวกหลอกลวง โกหก ทุเรศ โอกาสการพัฒนาก็มีน้อยตามไปด้วย fake ตลอด แต่ถ้ายึดตัวตนตลอดทุกเม็ด สุดโต่งมันก็อันตรายเหมือนกันนะ เขาว่ามันมีอันตรายที่อาจเกิดได้กับคนที่ “แน่” ตลอดเวลา คือ
(1) หมดโอกาสเติบโต (failing to grow) : โปรเฟสเซอร์ Herminia Ibarra จาก INSEAD พบว่า ถ้าเรามัวยึดติดตัวตนเหนียวแน่น มันคือความเสี่ยงของการไม่เปลี่ยนแปลงตามสิ่งต่างๆที่เปลี่ยนไป
(2) แสดงตลอดเวลา (over-sharing) : หนังสือของ Brené Brown เรื่อง Daring Greatly เขียนไว้ว่า การแสดงออกตลอดมันคนละเรื่องกับการเอาใจใส่ และ นักจิตวิทยา ชื่อ Gwendolyn Seidman ก็ออกมาตอกย้ำให้เห็นชัดถึง oversharing ว่าให้ลองไปดูใน Facebook ได้ มันจะมีคนที่แสดงออกมากเกินถึงความรู้สึก โพสอยู่นั่น และเลยเถิดไปกระหน่ำโพสหน้าบ้านชาวบ้านเพื่อแสดงความเป็นตัวตนที่แท้อยู่ตลอด นักวิจัยอีกหลายคนออกความเห็นว่าว่า oversharing นั้น ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล หรือ อะไรก็ตาม มากเกินไปจะทำลายความสัมพันธ์ทางอาชีพการงานได้ เพราะการแสดงออกถึงตัวตนที่แท้ตลอดเวลานั้น มันคือการไม่กรอง ไม่มี filter เลย โป๊มากๆ
(3) ความรู้สึกด้อย (feeling inferior) มีงานวิจัยงานทดลองหลายงานที่พบว่าคนที่มีผู้นำ ผู้บริหารแซ่มั่น คือ แรงในเรื่องตัวตนและความเชื่อของตัวเอง คนรอบข้างโดยเฉพาะลูกน้องจะขาดความคิดสร้างสรรค์ จะปวกเปียก หน่อมแหน้ม ไม่กล้าคิด กล้าทำ อันนี้มันคือเหตุผลที่ทำไมคนที่มั่นมากมากจึงมีโอกาสน้อยที่จะถูกโปรโมทดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว
พอจะมองเห็นละยังว่า “ฉันแน่” “ฉันของแท้” “ฉัน คือ ฉัน” นี่มันมีอันตรายต่อเจ้าตัวนะ มันเป็น costs of authenticity !!
ทีนี้จะจัดการยังไง...ขอให้ไปพิจารณาคำสอนของพระพุทธเจ้า....
พระพุทธองค์เน้นย้ำ “สายกลาง” ที่สุด ก็ตามนั้นไปเลย
ไม่ว่าจะอะไร...มากไปก็ร้อน น้อยไปก็หนาว
พระพุทธองค์เน้นย้ำ “สายกลาง” ที่สุด ก็ตามนั้นไปเลย
ไม่ว่าจะอะไร...มากไปก็ร้อน น้อยไปก็หนาว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น