ขอลั่นระทมสักหน่อย..
สำหรับโลกใบนี้...
การให้คืนกลับแก่สังคม..ดีทั้งนั้น
ในเชิงธุรกิจ..การให้.. มีแบ่งเป็นหลายอย่าง.. อย่างเป็นที่กังขากันอยู่ (ฉันสงสัยเธอ) คือ CSR (corporate social responsibility) กับ SE (social enterprise) ซึ่งต่างกันแน่ๆ อย่าสับสน อย่าสับสน มันปวดใจ..
CSR เป็นโครงการเพื่อสังคมของธุรกิจที่แสวงหากำไรสูงสุด...เพื่อกระเป๋าใครกระเป๋ามัน
SE เป็นธุรกิจแสวงหากำไร....เพื่อประโยชน์ของสังคม
เอาแค่นี้..ต่างกันไหม.. จะสร้างคนให้เป็น social entrepreneur จึงต้องขับเคลื่อน " ใจ " แบบมีนวัตกรรม..(ขอเน้นว่า แบบมีนวัตกรรม) เน้นแค่ใจอย่างเดียว อาจกลายเป็นติดสมถะเป็นพระ เป็นชีไป (ไม่ได้บอกว่าไม่ดี) สำหรับคนทั่วไปคงดีหละ...แต่คงเข้าข่ายคนดีที่ไม่มีนวัตกรรม คิดอ่านอะไรให้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมไม่ได้จริง...
ถ้าเราบอกว่า social entrepreneurship ต่อยอด แตกแขนง ขยายมาจากแนวคิด entrepreneurship มันต้อง focus อยู่ 3 เรื่องหลัก คือ
CHANGE
OPPORTUNITY และ
ORGANIZATION WIDE RANGE MANAGEMENT
และต้องมีอีก 2 เรื่องจำเป็นที่ถือว่าอยู่ในข่ายเชิงประกอบการ.. entrepreneurship คือ
QUALITY & INNOVATION
จะเพื่อสังคม หรือ เพื่อกระเป๋าตัวเอง.. มีห้าตัวนี้เป็นได้ก็แล้วกัน.. ไม่มี ไม่ใช่เชิงประกอบการ ชีวิตนี้มันต้องมีคำจำกัดความ หลักเกณฑ์เสียหน่อย..เดี๋ยวจะคุยกันคนละเรื่อง
ส่วนการขับเคลื่อนใจแบบยุให้ กวาดบ้าน ทำความสะอาดองค์กร ปลูกต้นไม้ แล้วทำหนังสือเผยแพร่ประชาสัมพันธ์มาเล่มนึงสองสามเล่ม...มันจะเป็น social entrepreneur ได้อย่างไรตรงไหนหรือ.. เรียกกันแค่ว่า การ "ให้" จะดีกว่าไหม..หรือจะเก๋หน่อยก็ "คืนกำไรให้สังคม" ก็เหมาะเหม็งอีกนิด ไม่ต้องเสียเวลาแปลให้ปวดหัว...เพราะหานวัตกรรมไม่เจอ หา change ไม่เจอ.. change agent อยู่ที่ไหน
ชอบพี่ Milton Friedman ที่ว่า ธุรกิจเอกชนไม่มีกงการอะไรไปยุ่งกับการตอบแทนสังคม หน้าที่หลักคือสร้างกำไรตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นตามบทบาทหลักของตนเอง ไม่ต้องมือถือสากปากถือศีลมาก การบริหารอย่างมีประสิทธิภาพและธรรมมาภิบาลก็ถือว่าเป็น CSR แล้ว.. เอาแค่ไม่โกงภาษี โปร่งใสก็เด็ดจะแย่..แต่มีหลายคนกังขา..ก็ช่างเถิด
คนเรามันไม่รู้จักพอ..เลยบอกว่า CSR ไม่พอ..ต้องเป็น social enterprise (ซึ่งงงกันหนัก..) เหมือนบอกไปแล้ว...(อยากบอกอีกที...) social enterprise เป็นธุรกิจเอกชนดีๆนี่เอง เป็นการทำมาค้าขาย สร้างกำไร (แต่ไม่สูงสุด) นำกำไรไปสร้างสรรค์สังคมแบบมีนวัตกรรมและสนับสนุนสิ่งแวดล้อมด้วย เป็น triple bottom line เป็น third sector .. social entrepreneur อยู่ใน sector นี้.. ( first sector คือ ภาครัฐ.. second sector คือ ธุรกิจเอกชนล้วนๆไม่ต้องแอบสังคม..แต่เผื่อได้พองาม ) บางคนเรียก ธุรกิจสังคมอริยะ.. ยิ่งยากไปกันใหญ่.. ยากไม่เป็นไร..อย่าสับสนใช้ได้
เรื่องแบบนี้ไม่ได้ใหม่..ทำกันมาตั้งแต่ชาติที่แล้ว แต่จะทำทั้งที..เลือกให้ถูกเรื่อง พวกอาจารย์ทองนี่แหละตัวดี..เรียกผีผิดๆเข้าสิงคนขับเคลื่อน..เลยขับไปผิดที่ผิดทาง ทำเอาผู้ประกอบการงงกันทั่ว..คิดว่าตัวเองเป็น social entrepreneur ไปซะฉิบ.. ต้องกลับไปดูตัวเป็นๆอย่างในบ้านเราก็คุณมีชัย วีระไวทยะ หรือมองเลยไปนิด..บังคลาเทศ ก็พี่ Yunus แห่ง Grameen Bank ก็น่าจะชัดขึ้นว่าแบบนี้แหละเขาเรียกว่า social entrepreneur ที่สร้าง social enterprise เพื่อเขย่าความสมดุลระหว่างทุนนิยมกับสังคมนิยมไม่ให้เอียง ไม่ใช่การไถ่บาบที่ไปเอากำไรเขาไว้เยอะ... จบดีกว่า..เรียกอุเบกขามาหน่อยเถอะ..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น