การจุดไฟวาระเร่งด่วน: เป็นการสร้างการรับรู้ว่าต้องเปลี่ยน create a sense of urgency แต่ยังไม่สามารถรับประกันถึงความสำเร็จนะ มันเป็นแค่เหตุแค่ผลที่ให้คนรับรู้ว่าต้องเปลี่ยน คนไทยอาจพอรู้แต่ไม่ได้เข้าใจ อยู่ในหัวแต่ไม่ได้เข้าถึงใจ การบอกต่อความจริงที่พรรคประชาธิปัตย์ทำอย่างต่อเนื่อง การชุมนุมของกองทัพประชาชนล้มล้างระบอบทักษิณที่สวนลุม กลุ่มเครือข่ายนักศึกษาและประชาชนปฏิรูปประเทศไทยที่อุรุพงษ์ และการชุมนุมรวมตัวกันที่สถานีรถไฟสามเสน เป็นการจุดไฟแห่งการเปลี่ยนแปลงขึ้น โดย
- มีการระบุถึงอุปสรรคใหญ่ คือ ระบอบทักษิณที่ทำลายความเป็นธรรมของประเทศและการโกงกิน การปราศรัยสร้าง scenario ที่จะแสดงให้เห็นถึงว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับคนไทย ลูกหลานไทยบ้างในอนาคต เราจะชิบหายอย่างไร และในขณะเดียวกันก็เท่ากับเป็นการสำรวจตรวจตราดูโอกาสที่เป็นต่อ ลองจุ่มดูว่าน้ำอุ่นหรือเย็นกันเลยทีเดียว
- มีการเปิดโอกาส สร้างเวทีให้คนเสวนา วิพากษ์วิจารณ์ ถกเถียงกันอย่างมีสีสรรและสร้างสรรค์ ไม่เผาบ้านเผาเมือง ใช้ความสงบ สันติ อหิงสา
- พร้อมกันนั้นก็หากองหนุนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชนและภาครัฐเอง มาสนับสนุน ตอกย้ำวาระเร่งด่วนให้ทั่ว
ที่ต้องทำแบบนี้เพราะคนในประเทศไทยนี้ มีทั้งพวก everything is fine ไร้กังวล ซึ่งอาจพลาดพลั้งไม่สามารถตอบสนองต่อสัญญาณ ทำให้พลาดมานักต่อนัก และยังมีพวกหลับหูหลับตาทำงาน work hard for the money ไม่สนว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่สำคัญในขั้นตอนนี้ คือ จะสร้าง spark ได้หรือไม่ ซึ่งกำนันสุเทพ spark ได้ทุก shot ชวนคนเดินจากสถานีรถไปสามเสน ไม่บอกว่าจะไปไหน แต่ในที่สุดก็จอดที่ราชดำเนิน มัน spark เห็นๆ spark ชัดเจน คนทั้งหลายเข็มขัดสั้นไปเลย คือ คาดไม่ถึง อันนี้เป็นจุดเริ่มที่ให้คนกลายเป็นกลุ่มคนที่ชัดเจนขึ้น มีพฤติกรรมรวมตัวแบบเร่งด่วนมากขึ้น ทำให้เกิด gut-level determination ที่จะเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกิดขึ้นได้เพราะกลุ่มกำนันสุเทพ กลุ่มพล.อ.ปรีชา กลุ่มคุณนิติธร คุณอุทัย และแกนนำทุกกลุ่ม มุ่งที่ใจ เชื่อมค่านิยมดีๆ สำนึกใฝ่ดีที่อยู่ลึกๆในใจคนไทยทุกคน สร้างความหวังให้คน ลากเอาจิตสำนึกและประสบการณ์ออกมาตีแผ่ สร้าง message ที่ชัด ง่ายที่ inspire คน ได้ชะงัด ไปดูเอาเองได้ในเฟสบุค มีเยอะแยะ จึงสามารถทำให้ทุกคนลุกขึ้นมาลุยพร้อมกันแบบใจเกินร้อย
การรวมพล “คนที่ใช่”: การรวมกลุ่มเครือข่ายที่มี power ทั้งกลุ่ม position power ผู้เล่นตัวสำคัญที่เป็นหมากตัวแรกอย่างคุณชวน คุณอภิสิทธิ์ คุณกรณ์และคนในพรรคประชาธิปัตย์ทีี่ออกเดินสายทั่วประเทศ พวก expertise เช่น กลุ่มนักวิชาการ คณาจารย์ในมหาวิทยาลัย อาจารย์แก้วสรร ดร.เสรี ดร.เจิมศักดิ์ เป็นต้นซึ่งเป็นผู้ชำนาญการ เป็นคนเก่งที่ฉลาดในการใช้ปัญญาและข้อมูล ให้พาเหรดทะยอยกันออกมา คนที่มี credibility อย่างเช่น หลวงปู่พุทธอิสระ ที่ได้รับการยอมรับ เพราะท่านประกาศอะไรออกไปคนจะเชื่อและจริงจังด้วย ผู้เสียหายอย่างคุณนิชาภรรยาพลเอกร่มเกล้าที่เสียชีวิตปกป้องความสงบของชาติ ยังมีดาราทั้งหลายอย่างคุณสินจัย แต่ที่สำคัญ คือ กลุ่มพวกนักศึกษาที่เป็นพลังบริสุทธิ์ รวมถึงกลุ่มที่มี leadership มีภาวะผู้นำที่เด่นชัด คนที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นคนที่ “สามารถ” เช่น คุณสุริยะไส เป็นต้น การรวมพล"คนที่ใช่"สำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะเห็นว่าแกนนำทำโดย
- สร้างวิสัยทัศน์ที่ใช่ นั่นคือ ประเทศไทยต้องมีความเป็นนิติรัฐ นิติธรรม
- ใช้การสื่อสารกว่้างไกลทุกรูปแบบครอบคลุมกลุ่มคนจำนวนมาก เรียกได้ว่ากระหน่ำทั้งข่าวสาร สัญลักษณ์ คำคมบาดใจในทุกสื่อ (ยกเว้นฟรีทีวีและสื่อขี้ข้า)
- กำจัดจุดอ่อนหลัก คือ ตัวกำนันสุเทพเองยังเป็น สส.ประชาธิปัตย์ มันเป็นข้อกังขาที่ไม่อาจให้เกิดขึ้นได้ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ กำนันและสส.ประชาธิปัตยหลายคนจึงลาออกจากการเป็น สส. ออกมาต่อสู้กับปะชาชนอย่างสามารถติดคุกอย่างเท่าเทียมกัน
- ฝังวิธีการใหม่ๆการคิดใหม่ๆเข้าไปในการปราศัยทุกครั้ง คือ กะให้ซึมเข้าเลือดกันไปเลย
- Imaginable: ให้ภาพชัด คนสามารถจินตนาการตามได้
- Desirable: ให้ประโยชน์มากพอต่อความต้องการของคนไทยที่รักชาติ รักความเป็นธรรม
- Feasible: เป็นจริง..คว้าได้ในชาตินี้ ไม่ต้องรอชาติหน้า
- Focused: ชัดพอที่จะใช้ช่วยในการตัดสินใจ...ออกมา ออกมา ออกมา
- Flexible: คนสามารถปฎิบัติได้ถึงแม้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรืออุปสรรค
- Communicable: เห็นแล้วเข้าใจ สื่อสารต่อได้ทันที
การกระจายอำนาจอย่างแนบเนียน: เมื่อเห็นคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษตริย์เป็นประมุข (กปปส.) ที่ยืนกันพรึ่บเต็มเวทีแล้วให้รู้สึกหนาวแทนรัฐบาล ทุกเครือข่ายได้รับการกระจายอำนาจกันไปเต็มๆ ทั้งรัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา พันธมิตร คปท กองทัพธรรม กองทัพประชาชน มันเป็นความร่วมมือที่สวยงามและ empower กลุ่มคนอย่างเซียน คือมันเป็นการก้าวข้าม structural barrier และพวก troublesome แบบไม่เห็นหัวเห็นหาง
การสร้าง short-term wins: อันนี้สร้างมาอย่างต่อเนื่องเป็นคลื่นกระทบฝั่งรัฐบาลเลย ทั้งเดินขบวน ทั้งยึดสถานที่ราชการที่สำคัญๆและที่เป็นสัญญลักษณ์ของการต่อสู้ ที่คนคาดไม่ถึงคือกระทรวงการคลัง มันเป็นสัญญาณว่าการโกงกินต้องสิ้นสุด ที่ต้องมีชัยชนะเล็กๆน้อยๆก่อนเพราะเราขี้เกียจรอ คนไทยม่อดทนพอที่จะรอความสำเร็จใหญ่แต่ยาวนาน แกนนำรู้ดีว่าการสร้างการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวทำไม่ได้ในสถานะการณ์นี้ การเปลี่ยนแปลงที่คิดแต่ในระะยาวมีแต่แพ้และเสี่ยง ความสำเร็จระยะสั้น คือ การประกันความสำเร็จของกระบวนการเปลี่ยนแปลง มันเป็นขวัญกำลังใจ การได้พวกเพิ่มและเป็นการยืนยันความเป็นไปได้ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ของกลุ่มแกนนำ อย่าลืมว่า ไม่มีอะไรที่จูงใจคนได้เท่ากับความสำเร็จ ที่ผ่านมาล้วนแต่สำเร็จโดยปราศจากการใช้กำลัง ไม่เสียเลือดเนื้อ เป็นอารยะขัดขืนมี่นับได้ว่าสวยงามที่สุดในโลก (ถ้ารัฐบาลและตำรวจไทยจะไม่ทำพังซะก่อนนะ)
การ “กัดแล้วต้องไม่ปล่อย” : ประชาชนได้ใจมากงานนี้ เรากัดแล้ว งับให้ถึงที่สุด การกัดไม่ปล่อย คือ การหาแนวร่วมให้มากขึ้น การเคลื่อนไหวแบบต่อเนื่อง การเสียสละตัวตน ตำแหน่ง ทรัพย์ เวลา และทำให้เกิดการลดช่องว่างในกลุ่มคน ตอนนี้ไม่มีเหลือง ไม่มีสีสันพันธุ์ไหนๆแล้ว ไม่มีชนชั้นอาชีพกันแล้ว นี่ คือ การกัดไม่ปล่อยที่สามารถรักษา sense of urgency ไว้ได้เหนียวแน่น ปราศจากความรู้สึกเร่งด่วน มันจะแผ่ว ที่สำคัญแกนนำมีวิธีการใหม่ๆมาทำให้คนประหลาดใจได้เสมอ
A long road
การเปลี่ยนแปลงประเทศไทยนั้นทางยังอีกยาวไกล การเปลี่ยนแปลงที่แท้นั้นมันลึกล้ำ มันเป็นการเดินทางไกลของทุกคน เพื่อพบกับความสำเร็จใหม่ อนาคตใหม่ของประเทศ พวก quick wins เป็นเพียงจุดเริ่มที่ต้องทำเพื่อการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว ความสำเร็จแต่ละครั้งเป็นการเปิดโอกาสในการสร้างสิ่งที่ถูกที่ใช่สำหรับประเทศไทย
ดังนั้น หลังจากความสำเร็จระยะสั้น ต้องมานั่งวิเคราะห์ถึงสิ่งที่ต้องทำ ตั้งเป้าหมายเพื่อสร้างความสมดุลในการเปลี่ยนแปลง ทำให้ต่อเนื่องและทำการเปลี่ยนแปลงมันต้องสดใส ต้องใหม่ทั้งคน วิธีการและกระบวนงาน
Make It Stick
ต้องช่วยกันปลูกฝังค่านิยมใหม่ที่ดีให้ลูกหลานไทยเพื่อความยั่งยืนในการเปลี่ยนแปลง