วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ความสุขเป็นทักษะ...ฝึกได้...ซ่อมได้

ส่วนใหญ่เรามองว่าความสุขเป็นเรื่องของโอกาส หรือ สิ่งแวดล้อม บางคนเกิดมาพร้อมกับ happy brains มองโลกรื่นรมย์ บางคนเกิดมาแวดล้อมด้วยครอบครัวที่ดี ไม่มีปัญหา พวกนี้โชคดีนัก แต่เมื่อคุณ Richard Davidson จาก Center for Healthy Minds, University of Wisconsin ผู้เขียนหนังสือ  The Emotional Life of Your Brain  มองอีกแบบ มองตาม neuroscientific research แล้วพบว่า ความสุขไม่ใช่ของขวัญจากจักรวาล มันเป็น “ทักษะ” ที่ทุกคนเรียนรู้ได้  เมื่อฝึกบ่อยๆเหมือนฝึกเล่นดนตรี จะเก่งขึ้น สมองจะเปลี่ยนไป ผู้คนที่ฝึกจะมีความสุขมากขึ้น เรื่องที่ต้องฝึกมีอยู่ 4 เรื่อง คือ 

1. การคืนสภาพ Resilience
หรือจะเรียกว่ายืดหยุ่นก็ได้  มันคือการฟื้น คืนกลับจากสิ่งที่เป็นปัญหา คืนกลับจากสภาพทุกข์ทนของคนได้เร็ว  Davidson ว่าเรื่องนี้ไม่ง่าย แต่ฝึกได้ แม้ว่าต้องใช้ความพยายามมาก มีงานวิจัยแสดงว่าการมีสติ การทำสมาธิสามารถทำให้วงจรคืนสภาพทำงานได้ดี แต่ต้องใช้เวลาฝึกประมาณ 6,000 ถึง 7,000 ชั่วโมง

2. การมองเชิงบวก Positive Outlook
ทักษะนี้ คือ ความสามารถในการมองเรื่องดีดี เรื่องบวกของคนอื่น เป็นความสามารถจับประสบการณ์บวกต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต  อันนี้ก็เกี่ยวข้องกับสมองคนเช่นกัน  แต่ใช้เวลาฝึกไม่มากนัก การฝึกมองเชิงบวกนั้นใช้เรื่องของความเอื้ออาทรเป็นหลัก เมื่อรู้สึกดีต่อคนอื่น สมองจะเก็บไว้ในวงจรมันอย่างเร็ว อันนี้ตามที่เขาวิจัยมานะ ใช้เวลาแค่ 7 ชัวโมงเอง ลองดูก็ได้

3. ความใส่ใจ Attention
จิตใจที่ว้าวุ่นเป็นสาเหตุของความทุกข์  การมี focus ในสิ่งที่ทำสำคัญต่อความสุข  มีงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ smartphone ในชีวิตประจำวัน พบว่า 47 % ของคนที่ใช้แบบไม่มีจุดหมายนั้นใจมันกระจัดกระจายมีผลต่อระดับความสุข  Davidson เชื่อว่าการฝึกให้มี focus นั้นฝึกได้เช่นกัน จริงๆแล้วมันคงเป็นเรื่องของสตินั่นแหละนะ ไม่ใช่เอะอะอะไรก็หยิบโทรศัพท์มาดูนั่นดูนี่เรื่อยเปื่อย วางโทรศัพท์ลงมั่ง มันไม่ถึงตาย !!

4. ความใจดี Generosity
ความใจดี ใจกว้าง กรุณา เอื้อเฟื้อนี่เป็นกุญแจสำคัญเลยนะ การใจดี ไม่เห็นแก่ตัวแม้เพียงเล็กน้อย ไม่เพียงแต่ทำให้คนอื่นมีความสุข เราก็มีความสุขไปด้วย ฝึกได้แน่นอน ความสุขมาทันที


สรุป คือ เราเป็นผู้รับผิดชอบความสุขของตัวเองแต่เพียงผู้เดียว ไม่มีใครช่วยได้  ลองฝึก 4 เรื่องนี้ดูแล้วจะพบว่าเราสามารถ remodel สมองตัวเองเพื่อเพิ่มความสุขได้จริงๆ

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คิดวันละอย่าง # 49


แสงแดด...อุ่นกาย
ใจ...เติมเต็ม
ปัญญา...สงบใจ
ศรัทธา...ความสุข
ร่าเริง...สุขภาพดี
กล้าหาญ....ผ่านวันยุ่งยาก
สนุกสนาน...ยิ้มได้ทุกวัน
......................................
จะเอาอะไรมากไปกว่านี้

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

too nice…ดีเกินไป

 มันมีหลายเหตุผลที่คนต้องดี ต้อง nice ต่อกัน  แม้แต่ผลงานวิจัยจาก University of Kent at Canterbury ก็แสดงให้เห็นว่าการอวยไปตามคนอื่นทำให้เกิดการยอมรับในกลุ่มมากขึ้น หรือ ผลวิจัยของคุณ Amy Cuddy จาก Harvard Business School ก็บอกว่าถ้าผู้นำเน้นที่ความอบอุ่น ความเป็นมิตรจะได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจกลับคืนมามากกกว่า 

แต่ถ้า...too nice  ดีเกินไปละ คงไม่ไหวเหมือนกัน

nice ในที่นี้หมายถึง พยายามอย่างมากที่จะรื่นรมย์ เอาใจ น่ารัก มีความสุข คิดบวกตลอด ทำแต่เฉพาะสิ่งที่คนคาดหวังและต้องการ  ไม่มีโต้แย้ง กลัว เกรงใจ  หน้าฉาก คือ เล่นไปตามความคาดหวังของชาวบ้าน แต่เก็บตัวเอง ตัวตนของตัวเองไว้ในซอกมุมลึกๆข้างหลัง...แบบนั้นแหละ nice !!

อย่าเข้าใจผิดว่าไม่เห็นด้วยกับการที่คนจะ nice ต่อกัน
ยังชื่นชมความใจดี ความเอาใจใส่และยังเคารพคนที่ nice ว่าเก่งจริงๆ (ทำมาได้ตั้งนาน ทั้งที่ไม่ใช่ตัวตน 55)

มันก็แค่เป็นความคิดว่า อยากให้คนจริงใจ จริงต่อคำพูด จริงต่อการกระทำที่สะท้อนออกมาจากข้างใน (อันนี้ไม่เกี่ยวกับมารยาทแต่อย่างใดนะ) เพราะบางทีการดีเกินไปทำให้เกิดปัญหา คือ...

  1. ไม่มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด : การดีเกินไปตลอดเวลาไม่ได้ทำให้เราแสดงตัวตนที่แท้ ความชอบ ความไม่ชอบและความต้องการที่แท้จริง มันทำให้คนสนิทใจด้วยลำบาก เพราะคนต้องการความซื่อตรงต่อกัน ถ้าเราทำทุกอย่างเพื่อให้ทุกคนแฮบปี้ตลอด ทุกอย่างราบรื่นตลอด  คนอยู่ใกล้ไม่นาน เพราะว่า...too nice is boring มันน่าเบื่อ  ความสัมพันธ์ที่ดี คือ การผลัดกันให้ ผลัดกันรับ คนเป็นปัจเจกชนที่มีทั้ง complete และ complex มันสนุกกว่ากันเยอะ
  2. จิตตก : การดีเกินไป จะตกเป็นเหยื่อความคิดของตัวเอง ประมาณว่า ฉันดีขนาดนี้ พยายามที่สุดในการทำทุกอย่างให้ทุกคนแฮบปี้ ทำไมไม่มีใครดีกับฉันแบบนี้มั่ง ขออะไรแค่นิดหน่อยก็ไม่ได้  ปฎิเสธฉันได้ยังไง ไม่มีใครรักฉันเลย ฯลฯ  คุ้นๆมั๊ย  ความรู้สึกแบบนี้มันไม่ได้มาจากการมีวุฒิภาวะอีกต่อไป สติเริ่มแตก การให้ตลอดเวลามันเหมือนโดนหลอกเข้าไปทุกวัน มันต้องหา better และ healthier approach มากกว่าที่จะมานั่งนับว่าเราดีกับชาวไปกี่ครั้งแล้ว ทำไมคนไม่ดีกับเรามั่ง  อย่าจิตตกอีกต่อไป การยืนยันความต้องการของตัวเองไม่ได้ยากขนาดนั้น  เรามีสิทธิ์เต็มที่นะ
  3. กลายเป็นคนแปลกหน้าสำหรับตัวเอง : การอวยใส้แตกแหกใส้ดม เอาใจ ทำให้คนอื่นมีความสุขโดยไม่นึกถึงตัวเองนั้น มันคือการหลีกเลี่ยงตัวตน ประมาณว่า it's not always about me, and no, it's not never about me แบบนี้มันเศร้า เราไม่เคยเล่นแบบเท่าเทียมในชีวิต ไม่เคยให้โอกาสตัวเองได้เห็น ได้รู้สึกถึงคุณค่าของตัวเองเลย  ระวังมองเข้าไปในกระจกจะไม่รู้จักว่านี่เป็นใคร  บางทีมันต้องฝึกที่จะไม่ too nice ฝึกจริงใจกับคนอื่นและตัวเอง ฝึกการแบ่งปันความคิดแม้คนอื่นจะไม่เห็นด้วย 


เอาใจใส่ เมตตา เคารพคนอื่นต่อไปได้...แต่อย่า pleasing หลบซ่อนอยู่ข้างหลัง...การดีเกินไป...



วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เบื้องแรกของการปฏิบัติภาวนา โดย ท่านพระอาจารย์ชา สุภทฺโท


"จงหายใจเข้า หายใจออก อยู่อย่างนี้แหละ อย่าใส่ใจกับอะไรทั้งนั้น อยู่แต่กับลมหายใจ เข้า-ออก ให้ความรู้สึกกำหนดอยู่กับลมหายใจ..ไม่ไปเอาอะไรอื่น ไม่ต้องคิดว่าจะเอานั่นเอานี่ ไม่เอาอะไรทั้งนั้น ให้รู้จักแต่ลมเข้า ลมออก อยู่กับลมหายใจอย่างนี้แหละ เอาอันนี้เป็นอารมณ์
ลมเข้าก็รู้จักลมออกก็รู้จัก ให้รู้จักอย่างนี้จนจิตสงบหมดความรำคาญ ไม่ฟุ้งซ่านไปไหนทั้งสิ้น ให้มีแต่ลมออก ลมเข้า ลมออก ลมเข้า อยู่เท่านั้น ให้มันเป็นอยู่อย่างนี้ ยังไม่ต้องมีจุดหมายอะไร นี่แหละเบื้องแรกของการปฏิบัติ
ถ้ามันสบาย ถ้ามันสงบ มันก็จะรู้จักของมันเอง ทำไปเรื่อยๆ ลมก็จะน้อยลง อ่อนลง กายก็อ่อน จิตก็อ่อน มันเป็นไปตามเรื่องของมันเอง นั่งก็สบาย ไม่ง่วง ไม่โงก ไม่หาวนอน จะเป็นอย่างใด ดูมันคล่องของมันเองไป ทุกอย่างนิ่ง สงบ
สิ่งที่ติดตามเรา เรียกว่า สติ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว เราจะพูดอะไร จะทำอะไร ก็ให้รู้จักเรื่องของมัน ให้มีสติอยู่เสมอ
เดินจงกรมมันก็เหมือนกับทำสมาธิ ให้กำหนดความรู้สึกขึ้นในใจว่า " บัดนี้ เราจะทำความเพียร จะทำจิตให้สงบ มีสติสัมปชัญญะให้กล้า"
การกำหนดก็แล้วแต่ แต่ละคน ตามใจ บางคนออกเดินก่อน ก็แผ่เมตตาสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง สารพัดอย่าง แล้วก็ก้าวเท้าขวาออกก่อนให้พอดี พอดี
ให้นึก " พุทโธ พุทโธ " ตามก้าวเดินนั้น ให้มีความรู้ในอารมณ์นั้นไปเรื่อย 
ถ้าใจเกิดฟุ้งซ่าน หยุด ให้มันสงบ ก้าวเดินใหม่ ให้มีความรู้ตัวอยู่เรื่อย 
นี่เป็นวิธีทำ กำหนดเดินจงกรม เดินจงกรมคือเดินกลับไป กลับมา เหมือนคนบ้า แต่หารู้ไม่ว่า การเดินจงกรมนี้ ทำให้เกิดปัญญานักละ
เดินกลับไป กลับมา ถ้าเหนื่อยก็หยุด กำหนดจิตให้นิ่ง กำหนดลมหายใจให้สบาย เมื่อสบายพอควรแล้ว ก็ทำความรู้สึกกำหนดการเดินอีก
แล้วอิริยาบถมันก็เปลี่ยนไปเองหรอก การยืน การเดิน การนั่ง การนอน มันเปลี่ยน คนเราจะนั่งรวดเดียวไม่ได้ ยืนอย่างเดียวไม่ได้ นอนอย่างเดียวไม่ได้ มันจะต้องอยู่ตามอิริยาบถเหล่านี้ ทำอิริยาบถทั้งสี่นี้ให้มีประโยชน์ ให้มีความรู้สึกตัว อยู่อย่างนี้ นี่คือ การทำ ทำไป ทำไป
มันก็จะคิดของมันไปตามเรื่อง ใครจะว่าอะไรก็ช่าง ยกอยู่อย่างนั้นสองนาทีนะอย่าเผลอ ไม่ใช่ห้านาที พอสองนาทีก็เอามาตั้งไว้นี่ กำหนดอยู่อย่างนี้ เป็นเรื่องของการกระทำ
จะดูลมหายใจเข้า-ออกก็เหมือนกัน ให้นั่งขาขวาทับขาซ้าย ให้ตัวตรง สูดลมหายใจเข้าไปให้เต็มที่ ให้หายใจลงไปให้หมดในท้อง สูดเข้าให้เต็ม แล้วปล่อยออกให้หมดปอด อย่าไปบังคับมัน
ลมจะยาวแค่ไหน จะสั้นแค่ไหน จะค่อยแค่ไหนก็ช่างมัน ให้มันพอดี พอดีกับเรา
นั่งดูลมเข้า ลมออก ให้สบายอยู่อย่างนั้น อย่าให้มันหลง ถ้าหลง หยุดดูว่ามันไปไหน มันจึงไม่ตามลม ให้หามันกลับมา ให้มันมาเล่นตามลมอยู่อย่างนั้นแหละ แล้วก็จะพบของดีสักวันหนึ่งหรอก
ให้ทำอยู่อย่างนั้น ทำเหมือนกับว่า จะไม่ให้อะไร ไม่เกิดอะไร ไม่รู้ว่าใครมาทำ แต่ก็ทำอยู่เช่นนั้น 
นั่งเฉย ๆ บางครั้งก็จะนึกว่า " จะนั่งเฝ้าดูมันทำไมนะ ลมนี่น่ะ ถึงไม่เฝ้า มันก็ออก เข้า ของมันอยู่แล้ว "
มันก็หาเรื่องคิดไปเรื่อย และมันเป็นความเห็นของคนเรียกว่า " อาการของจิต " ก็ช่างมัน พยายามทำไป ทำไป ให้มันสงบ
เมื่อสงบแล้ว ลมจะน้อยลง ร่างกายก็อ่อนลง จิตก็อ่อนลง มันจะอยู่พอดีของมัน จนกระทั่งว่า นั่งเฉยๆ เหมือนไม่มีลมหายใจเข้า - ออก แต่มันก็ยังอยู่ได้
ถึงตอนนี้ อย่าตื่น อย่าวิ่งหนี เพราะคิดว่า เราหยุดหายใจแล้ว นั่นแหละ มันสงบแล้ว ไม่ต้องทำอะไร นั่งเฉย ๆ ดูมันไปอย่างนั้นแหละ
บางที่จะคิดว่า " เอ เราหายใจหรือเปล่านี่ " อย่างนี้ก็เหมือนกัน มันคิดไปอย่างนั้น แต่ อย่างไรก็ช่างมัน ปล่อยไปตามเรื่องของมัน ไม่ว่าจะเกิดความรู้สึกอะไรขึ้น ให้รู้มัน ดูมัน แต่อย่าไปหลงใหลกับมัน
ทำไป ทำให้บ่อยๆ ไว้ ไม่ใช่เดินยอกแยก ยอกแยก คิดโน่น คิดนี่ เที่ยวเดียว แล้วเลิกขึ้นกุฏิ มองดูพื้นกระดาน " เออ มันน่านอน " ก็ลงนอนกรนครอกๆ อย่างนี้ ก็ไม่เห็นอะไรเท่านั้น
ไม่ใจมาพูดบอกตัวเองว่า " สงบ สงบ สงบ " แล้วพอนั่งปุ๊บ ก็จะให้มันสงบเลย ครั้นมันไม่สงบอย่างที่คิด ก็เลิก ขี้เกียจ ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่มีวันได้สงบ แต่พูดมันง่าย หากทำแล้วมันยาก 
หาความสงบอย่างนี้ ใคร ๆ ก็อยากสงบด้วยกันทั้งนั้นแหละ แต่เราไม่ทันจะรู้จักมัน จะถาม จะพูดกันสักเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักขึ้นมาได้หรอก
ฉะนั้นให้ทำ ให้ตามรู้จักให้ทันว่า กำหนดลมเข้า ออก กำหนดว่า " พุทโธ พุทโธ " เอาเท่านั้นแหละ ไม่ให้คิดไปไหนทั้งนั้น ในเวลานี้ ให้มีความรู้อยู่อย่างนี้ ทำอยู่อย่างนี้ ให้เรียนรู้อยู่อย่างนี้แหละ
ให้ทำไป ทำไป อย่างนี้แหละ จะนึกว่า " ทำอยู่นี้ ก็ไม่เห็นเป็นอะไรเลย " ไม่เป็น ก็ให้ทำไป ไม่เห็น ก็ให้ทำไป ให้ทำไปอยู่นั่นแหละ แล้วเราจะรู้จักมัน
เอาละนะ ทีนี้ลองทำดู ถ้าเรานั่งอย่างนี้ แล้วมันรู้เรื่อง ใจมันจะพอดี๊ พอดี พอจิตสงบแล้ว มันก็รู้เรื่องของมันเองดอก ต่อให้นั่งตลอดคืนจนสว่างก็ไม่รู้สึกว่านั่น เพราะมันเพลิน
ฉะนั้น ให้ทำ อย่าหยุด อย่าปล่อยไปตามอารมณ์ให้ฝืนทำไป ถึงจะขี้คร้านก็ให้ทำ จะขยันก็ให้ทำ จะนั่งก็ทำ จะเดินก็ทำ
เวลาจะนอนก็สอนมัน เวลาจะฉันจังหันก็สอนมัน ให้เป็นอย่างนี้ไปเรื่อย จะยืนก็ให้รู้สึก จะทำอะไรสารพัดอย่างก็ให้ทำอย่างนั้น
อย่าไปมองดูผู้อื่น อย่าไปเอาเรื่องของผู้อื่น ให้เอาแต่เรื่องของตัวเองเท่านั้น
การนั่งสมาธินั้น นั่งให้ตรง อย่าเงยหน้ามากไปอย่าก้มหน้าเกินไป เอาขนาดพอดี เหมือนพระพุทธรูปนั่นแหละ มันจึงสว่างไสวดี
ครั้นจะเปลี่ยนอิริยาบถก็ให้อดทนจนสุดขีดเสียก่อนปวดก็ให้ปวดไป อย่าเพิ่งรีบเปลี่ยน อย่าคิดว่า " บ๊ะไม่ไหวแล้วพักก่อนเถอะน่า " อดทนมันจะปวดถึงขนาดก่อน พอมันถึงขนาดนั้นแล้วก็ให้ทนต่อไปอีก
ทนไป ทนไป จนมันไม่มีแก่ใจจะว่า " พุทโธ " เมื่อไม่ว่า "พุทโธ" ก็เอาตรงที่มันเจ็บนั่นแหละมาแทน " อุ๊ย เจ็บ เจ็บแท้ๆ หนอ " เอาเจ็บนั่นมาเป็นอารมณ์แทน "พุทโธ" ก็ได้ กำหนดให้ติดต่อกันไปเรื่อย นั่งไปเรื่อย ดูซิว่าเมื่อปวดจนถึงที่สุดแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น
พระพุทธเจ้าท่านว่า มันเจ็บเอง มันก็หายเอง ให้มันตายไป อย่าเลิก บางครั้งมันเหงื่อแตกเม็ดโป้ง ๆ เท่าเม็ดข้าวโพดไหลย้อยมาตามอก " ถ้าครั้นทำจนมันได้ข้ามเวทนา อันหนึ่งแล้ว มันก็รู้เรื่องเท่านั้นแหละ " ให้ค่อยทำไปเรื่อยๆ อย่าเร่งรัดตัวเองเกินไป ให้ค่อยทำไป ทำไป

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คิดวันละอย่าง # 48










เวลาเราเลิกสนใจว่าคนอื่นจะคิดยังไง
กลับมาคิดเรื่องตัวเอง...เราเปิดประตูสู่ชีวิตที่ “คุ้มค่า...คู่ควร”
มันเป็นความรู้สึกว่า...พอ 
...พอในแบบที่เป็น
...พอในสิ่งที่มี
...พอในรัก
...พอใน belonging

ในทางตรงกันข้าม.... เวลาใช้ชีวิตที่มันห่างไกลจากตัวเอง
พยายาม fit กับผู้คนที่เราคิดว่าเราน่าจะเป็นอย่างนั้น
... เรากำลังเดินห่างจากเรื่องราวตัวเอง...
มันรีบ มันเร่ง มันร้อนรน ที่จะ....
performing
perfecting
pleasing และ
proving !!
....ความคุ้มค่าและคู่ควรมันจึงเริ่มวิกฤติ...
ต้องกลับมาอยู่ใน “โหมด” ใน “เรื่อง” ของตัวเอง...

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ยังรักชีวิตเป็นหรือเปล่า...

ยังรักชีวิตเป็นหรือเปล่า...
คนเราจะตื่นรู้ได้ก็ต่อเมื่อทิ้งร่องรอยความทรงจำในอดีต ไม่ติดอยู่กับความคิดแบบเดิม ๆ ยอมรับสิ่งใหม่ ๆ ที่เข้ามาในชีวิต แล้วมองสิ่งใหม่ด้วยความชื่นชม ด้วยความเข้าใจ ด้วยความตระหนักรู้ นี่คือการขับเคลื่อนของชีวิต ซึ่งเป็นการบ่มเพาะให้เป็น "ผู้มองเห็นชีวิต" และมองเห็นโลกนี้ได้อย่างงดงาม ลองพิจารณาคำถามนี้....

“ถ้าคุณมีชีวิตได้อีกหนึ่งชั่วโมง แล้วโทรศัพท์ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น คุณจะโทรถึงใคร จะพูดว่าอะไร” 
อันนี้หมายถึงการใช้ชีวิต หากมีเป้าหมายใดก็เร่งลงมือทำไปเลย ไม่ต้องผัดวันประกันพรุ่ง ทำให้ชีวิตทุกวันของเรามีความสุขตามเป้าหมาย เพราะไม่รู้ว่าอะไร…หรือสิ่งใดจะเกิดขึ้นกับชีวิตเรา...ก็แล้วทำไมถึงต้องคอย?

เมื่อตระหนักถึงทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเองอย่างมีความสุข
แปลว่าเข้าถึงภายในและจะมีความสุขในทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำ
ไม่ว่าจะใช้ชีวิตในรูปแบบใด
มันจะมีแต่ความรู้สึกดี ๆ 

นอกจากนี้...ปัญหา วิกฤตการณ์อาจช่วยให้เราค้นพบตัวเอง
...เมื่อใดที่เจ็บปวด สูญเสีย ทุกข์โศก
อย่าท้อใจ...จมปลัก...
แค่ไม่สิ้นหวัง ไม่โกรธแค้น และให้อภัย 
โดยยอมรับว่ามันเป็นโศกนาฏกรรมที่ "ปลอมแปลง" เข้ามาในชีวิต 
เดี๋ยวมันก็ออกไป...
ชีวิตเรายิ่งใหญ่ มีอะไรมากกว่านั้น 

เริ่มต้นใหม่อย่างไม่อาย บอกตัวเองไปว่า...เราสามารถผ่านความยากลำบากนั้นได้อย่างกล้าหาญ ได้อย่างทระนง ได้อย่างมีคุณค่า
....และได้อย่างมีความสุข

ซื่อสัตย์และเปิดกว้างกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามา
จะทำให้เรามองเห็นทุกด้านได้ชัดเจน
แม้ว่าไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงผู้อื่นได้
แต่เราพร้อมปรับเปลี่ยนสิ่งไม่ดีในตัวเรา
ชีวิตเราจะปล่อยวางได้ดี
มีความรักที่แท้จริงต่อตัวเอง
มองเห็นความรักของคนรอบข้าง
...มอบความรักไป...
การมีชีวิตอยู่ด้วยความรักจะทำให้เราสามารถทำหลาย ๆ สิ่งได้
มีเวลาแบ่งปันสิ่งที่เรามีอยู่ให้คนอื่น
การแบ่งปันจะทำให้เราเห็นคุณค่าของชีวิต

แต่ละคนมีวิธีทำให้ชีวิตสมดุลแตกต่างกัน บางคนไปรำมวยจีน ไปร้องเพลงในโบสถ์ ไปนั่งสมาธิในวัด หรือทำอาหารอร่อย ๆกินเอง เพียงแต่กระทำอย่างมีความสุข 
...หรือตัดสินใจว่าจะนอนก็จงนอนอย่างมีความสุข
เมื่อตื่นขึ้นจะสามารถก้าวต่อไปด้วยความแข็งแรงและมีพลังชีวิต
ขอบคุณ หนังสือ “กุญแจสู่มิติที่ 5”
“เธอไม่ใช่มนุษย์ที่มีจิตวิญญาณ แต่เธอคือจิตวิญญาณที่มาหาประสบการณ์ในร่างมนุษย์”

สัญญาณความเห็นแก่ตัว

สัญญาณความเห็นแก่ตัว !!
1. คนอื่นเป็นฝ่ายยอมตลอด
อันนี้เป็นสัญญาณแรก คือ การให้คนอื่นเป็นฝ่ายยอมตลอด ไม่ว่าจะทำอะไรหรือคิดอะไร ก็มักจะเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาลและคนอื่นต้องเห็นด้วยกับสิ่งที่คิดที่ทำทุกครั้ง แม้บางครั้งคนอื่นอาจจะไม่ชอบสิ่งที่หยิบยื่นให้ก็ตาม การที่คนยอมนั้นไม่ได้แปลว่ากลัว แต่มันเป็นการรักษามิตรภาพ อย่าลืมว่า "แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร" แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ความหมายนี้
2. ตัวเองก้าวก่ายเรื่องต่างๆได้ คนอื่นอย่าแหยม
ไม่ชอบให้ใครมาพูดหรือคิดเห็นต่าง ยามคนอื่นพูดหรือเตือน กลับมองว่าเป็นการก้าวก่าย อารมณ์เสีย ในขณะที่ตัวเองสามารถวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นได้ทุกเรื่องตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่
3. อยากให้คนอื่นเป็นอย่างที่ต้องการ
เคยถามความต้องการของคนอื่นบ้างหรือเปล่า ต้องกินเหมือนกัน ต้องไปด้วยกัน ต้องไลฟ์สไตล์แบบเดียวกัน อันนี้ไม่ใช่แค่เห็นแก่ตัวเท่านั้น แต่ทำร้ายจิตใจคนอื่นด้วย เพราะมันแสดงถึงว่าไม่เคยพอใจในสิ่งที่คนอื่นมีหรือสิ่งที่คนอื่นเป็น แต่กลับอยากให้เป็นอย่างที่ต้องการไปเสียทุกอย่าง
4. เอาแต่ใจตัวเอง
ไม่ว่าจะถกเถียง โต้แย้ง หรือกำลังหาคำตอบเรื่องใดอยู่ก็ตาม แต่ในท้ายที่สุดแล้วจะผู้ที่เป็นตัวกำหนดทุกอย่าง ในเมื่อมีคำตอบ มีปักธงอยู่ในใจแล้ว จะขอความคิดเห็นทำไม คือ แบบนี้ไม่ได้ต้องการคำตอบ แต่ต้องการคนที่มาสนับสนุนความคิดเท่านั้นแหละ อย่าถามให้เหนื่อยเพราะสุดท้ายแล้วก็เลือกสิ่งที่ตัวเองต้องการอยู่ดี
5. ไม่เคยขอโทษ
เป็นฝ่ายผิดแต่กลับมองว่าตัวเองถูก หรือ รู้ว่าตัวเองผิดแต่ไม่เคยขอโทษ และที่แย่กว่านั้นคือขอโทษแบบไม่จริงใจ ขอโทษแบบขอไปที
6. หงุดหงิดเมื่อไม่ได้ดั่งใจ
อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ หงุดหงิดเสมอ หากสิ่งที่คาดหวังไม่ได้ดั่งใจ ที่หนักไปไปกว่านั้น ไม่ว่าจะหงุดหงิดมาจากไหนก็ตาม มักจะมาระบายหรือหงุดหงิดใส่คนอื่นอีกต่างหาก เช่น การพูดประชดประชัน ตวาด เสียงดัง หรือใครไม่อินไปด้วยกับปัญหาที่เจอหรือสิ่งที่เล่าให้ฟัง ก็มักจะทำสิ่งนั้นเพื่อให้คนอื่นได้รู้สึกแบบเดียวกัน อาจตามมาด้วยคำพูดประมาณว่า "เข้าใจหรือยังล่ะ" หรือ “รู้สึกหรือยังล่ะว่าฉันรู้สึกยังไง"
7. ไม่เคยช่วย หรือ ช่วยก็ทวงบุญคุณ
อย่าคิดว่าเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยที่จะปล่อยให้คนอื่นทำทุกอย่างโดยอ้างว่าเหนื่อย หรือทำมามากแล้ว หรือช่วยก็เพียงเพื่อให้รู้สึกถึงบุญคุณ ทั้งๆที่ประโยชน์ตกอยู่กับตัวเองมากกว่า
=======================
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่าความเห็นแก่ตัวเป็นกิเลสในตระกูลโลภะ และโลภ หนักไปหน่อยจึงเห็นแก่ตัว 
เจอคนเห็นแก่ตัวต้องเข้าใจว่า...นิสัยเห็นแก่ตัวมี 2 สาเหตุใหญ่ ๆ 
สาเหตุแรก เป็นสันดาน คือ นิสัยที่ติดตัวข้ามภพข้ามชาติมา ถ้าเจอประเภทนี้หนักหน่อย เจอต้องทำใจ
สาเหตุที่ 2 เป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นในชาตินี้ คือ เกิดจากสิ่งแวดล้อมไม่ดี คนรอบข้างไม่ดี การเลี้ยงดูไม่ดี ก็เลยทำให้อาจจะต้องแย่งชิง สิ่งเหล่านี้ค่อย ๆ สั่งสมขึ้นมา แล้วกลายเป็นนิสัยเห็นแก่ตัว อันนี้พอจะกล่อมเกลาได้แต่ต้องอดทน
แต่ยังมีอีกสาเหตุหนึ่ง คือ ตัวเองก็ไม่ดีเอง เช่น บริหารงาน บริหารเงิน ไม่เป็น สุดท้ายเศรษฐกิจฝืดเคืองเลยกลายเป็นคนเห็นแก่ได้ เห็นแก่ตัวเข้ามาอีก แบบนี้พออุปสรรคน้อยลง ความเห็นแก่ตัวก็จะคลายลงด้วย

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วิธีสะสมบุญ


วิธีสะสมบุญ คือ
ไม่บ่น..
ไม่กลัว..
ไม่ทำชั่ว..
ไม่คิดมาก..
ทำไปวันละนิด..จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่..ในตัวเอง !!

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

The Cost Of Applause !!

กว่าจะสำเร็จ
กว่าจะดีงาม
กว่าจะได้ดังใจ
ต้องลงมือลงแรงไปกับมัน เพราะไม่มีอะไรที่ได้มาโดยง่าย

...ไม่มีอะไรได้มาง่ายดาย
...ไม่มีอะไรได้มาโดยไม่เสียหยาดเหงื่อ
...ไม่มีอะไรได้มาโดยไม่ใช้ความพยายาม

สิ่งที่เห็นอาจเป็นความสวยงาม ความสำเร็จ...ที่น่าชื่นชม
แต่ทุกอย่างมี
"ต้นทุน" ทั้งสิ้น
ทุกคนต้องผ่านสิ่งที่เรียกว่า "หล่ม" ของชีวิต
...ที่้ต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพราะว่าจะตะกายผ่านมาได้...
มีแต่ความตั้งใจจริง ความมีวินัยและความพยายามเท่านั้น

คิดวันละอย่าง # 47
























ที่ไหน...มันใช่ที่
ไม่ใช่ทุกที่ที่เราอยู่ได้..จะเหมาะ จะใช่ จะโดน !!
not every place you fit is where you belong !!

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ปีศาจแห่งความกลัว 6 ประการ

ปีศาจแห่งความกลัว 6 ประการ
Napoleon Hill ว่ามีปีศาจแห่งความกลัว 6 ประการ ที่จะทำให้คนไม่สำเร็จ นั่นคือ 
1. กลัวแก่ 
2. กลัวเจ็บ
3. กลัวตาย
4. กลัวคำวิพากษ์วิจารณ์
5. กลัวการสูญเสียความรัก และ
6. กลัวจน
การที่คนหลายคนไม่ก้าวไปตามความฝันก็เพราะความกลัว 6 ประการนี้
และสุดท้ายทำให้มีชีวิตเหมือนคนส่วนใหญ่บนโลก ที่ใช้ชีวิตไปตามกระแส
คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตเป็นคนส่วนน้อยที่กล้าสวนกระแสของโลกใบนี้

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

โชคดี....สร้างได้

ศาสตรจารย์ Richard Wiseman ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับเรื่องโชค เพราะต้องการทราบว่าทำไมคนบางคนจึงมักอยู่ถูกที่ถูกเวลาเสมอ ขณะที่คนอีกกลุ่มดูเหมือนว่าประสบแต่ชะตากรรมที่ไม่พึงประสงค์
หนึ่งในการทดลองอย่างง่ายเพื่อหาคำตอบว่ามีความแตกต่างใดๆ ในความสามารถในการพบเจอโอกาสต่างๆ คือ ให้หนังสือพิมพ์เล่มหนึ่ง แล้วให้ตอบคำถามว่ามีรูปภาพกี่รูปในหนังสือพิมพ์ ทั้งนี้ได้แอบใส่ข้อความขนาดใหญ่ในหนังสือพิมพ์ว่า 

"บอกเราว่าคุณเห็นข้อความนี้ แล้วคุณจะได้รางวัล $50"

ข้อความนี้ใช้พื้นที่ประมาณครึ่งหน้า โดยที่ตัวอักษรมีความสูงมากกว่า 2 นิ้ว เรียกได้ว่าเตะตาคนอย่างแน่นอน แต่มันมีกลุ่มอับโชคไม่เห็นข้อความนี้ แต่คนโชคดีส่วนใหญ่มองเห็น !!

คนอับโชคมีลักษณะเป็นคนตึงๆ เครียดๆ มากกว่าคนโชคดี ซึ่งอารมณ์ความรู้สึกแบบนี้เป็นตัวรบกวนความสามารถในการสังเกตเห็นเรื่องที่เหนือความคาดหมายต่างๆ จึงมักจะพลาดโอกาสต่างๆ เสมอ (โดยที่ไม่รู้ตัว) เพราะคนอับโชคมักจะเพ่งความสนใจมากเกินไปกับเรื่องบางเรื่อง มองอะไรแคบๆ อยู่ในโลกแคบๆ เวลาไปไหนก็จะคอยมองหาแต่กลุ่มเพื่อนสนิทจนพลาดโอกาสที่จะรู้จักเพื่อนใหม่ๆ เวลาอ่านหนังสือพิมพ์ ก็จะมองแต่เรื่องที่อยากอ่าน จนถึงกับทำให้พลาดเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ไปเลย

ในทางตรงข้าม คนโชคดีจะมีลักษณะนิสัยที่ผ่อนคลายและเปิดกว้างมากกว่า จึงมักจะเห็นสิ่งต่างๆ ว่าอะไรเป็นอะไร มากกว่าจะเห็นแค่สิ่งที่กำลังค้นหา งานวิจัยของศาสตรจารย์ Richard Wiseman บอกว่าคนโชคดีสร้างโชคขึ้นมาเองโดยผ่านคุณลักษณะที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่
1. MAXIMIZE CHANCE OPPORTUNITIES 
ทักษะในการสร้างโอกาส และมองเห็นโอกาส
2. LISTEN TO YOUR LUCKY HUNCHES
ตัดสินใจอย่างฉลาด โดยฟัง “การหยั่งรู้ที่เกิดขึ้นในใจ” ของคนอื่น
3. EXPECT GOOD FORTUNE 
สร้างความคาดหวังในด้านบวกด้วยตัวเอง เชื่อในอนาคตที่สมหวัง
4. TURN BAD LUCK INTO GOOD
มีทัศนคติที่ยืดหยุ่นที่สามารถเปลี่ยนโชคไม่ดีในชีวิต ให้เป็นเรื่องดีได้
คนที่โชคดีอยู่แล้ว ดียิ่งขึ้น
คนอับโชค ควรเริ่มมีโชคดีบ้างนะ

คิดวันละอย่าง # 46


walk of life....
ยิ่งเดิน ยิ่งไกล ยิ่งเข้าไป ยิ่งหลง

“We are what we pretend to be, so we must be careful about what we pretend to be.” Kurt Vonnegut

อันนี้ไม่รู้ใครเขียน...
คนหนึ่ง ขี่ควาย หมายที่หนึ่ง
ขี่ไปครึ่ง ลืมที่หมาย จะไปไหน
เดินเวียนวน ไร้ปลายทาง ที่จะไป
หมดอาลัย ต้องทนอยู่ คู่กับควาย

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คิดวันละอย่าง # 45


กับดักความคิดเกี่ยวกับความสุข
มันเป็นเรื่อง “ประสบการณ์” หรือ “ความทรงจำ” ?

ได้ฟัง Daniel Kahneman เจ้าของรางวัล Noble Prize ด้าน behavioral economics ในรายการ TED Talk พูดเกี่ยวกับประสบการณ์และความทรงจำที่ทำให้คนรับรู้ความสุขต่างกัน ไว้น่าสนใจมาก

เขาว่า...
being happy in your life กับ being happy about your life 
มันต่างกัน
มันเป็นเรื่องของ “ความทรงจำ” และ “ประสบการณ์” ที่ทำให้คนแยกไม่ถูกว่าอะไรเป็นอะไรกันแน่ ทำให้คนที่น่าจะมีความสุข ก็อาจไม่มีความสุข เพราะไม่ยอมรับความซับซ้อนของความสุข

นึกถึงเวลาเราฟังเพลง หรือ ดูคอนเสิต เพลงไพเราะจับใจ เราเคลิ้มไปเลย...
จนกระทั่งตอนท้ายๆของเพลงเครื่องเสียงมันเกิดหอนขึ้นมา เราว่ามันทำลายประสบการณ์ดีดีไปเสียได้...
มันไม่ใช่ !! ประสบการณ์ที่ดียังมีอยู่นะ
ความทรงจำต่างหากที่ถูกทำลาย

คนเราน่ะ มีสองตัว..ตัวหนึ่ง คือ "experiencing selves" ตัวประสบการณ์ ตัวปัจจุบัน และอีกตัว คือ "remembering selves" ตัวรับประสบการณ์ ตัวความทรงจำ....ที่มันรับรู้ความสุขต่างกัน
ตัวความทรงจำ คือ ตัวเก็บคะแนน เก็บทุกอย่างในชีวิต
memory tells story !!
ไม่ใช่ประสบการณ์ มันคนละเรื่องกัน
ความสับสนเรื่องนี้ คือ การทำลายความสุข

ถ้าตามประสาชาวพุทธ คือ ตัวปัจจุบัน กับ ตัวอดีตนั่นเอง (อันนี้คิดเอง เพราะ Daniel Kahneman คงไม่ได้นับถือพุทธ ก็คิดไปตามทางวิทยาศาสตร์ไป) Daniel Kahneman มีตัวเวลาเป็นปัจจัยที่ทำให้มองความสุขต่างกัน

คนคิดความสุขจากความทรงจำ (อดีต) ต่างกับ คนคิดความสุขจากประสบการณ์ (ปัจจุบัน) อันนี้ส่งผลต่อการตัดสินใจเลยนะ เรามักใช้ความทรงจำ (อดีต) ตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคต เช่น ถ้าจะย้ายที่อยู่ คนส่วนใหญ่อยากมาอยู่เชียงใหม่ อากาศดี ต้นไม้เยอะ คนเป็นมิตร คงจะมีความสุขมากกว่าอยู่กรุงเทพ อันนี้คิดจากความทรงจำ ลองย้ายมาอยู่จริงๆ อาจไม่เป็นแบบที่คิด ย้ายมาจริงๆเมื่อมาอยู่จริงมันเป็นเรื่องประสบการณ์แล้วนะ ไม่เกี่ยวกับความทรงจำแล้ว...

ทำไมเราให้น้ำหนักกับความทรงจำมากกว่าประสบการณ์ก็ไม่รู้นะ !!
มันทำให้เราคิดผิด บิดเบี้ยวไปต่างๆนานา
เราตัดสินใจไปกินอาหารร้านนี้เพราะประสบการณ์ที่เคยมีมันดี มันเป็นความทรงจำที่มี มัน คือ อดีต มันไม่ใช่ประสบการณ์
ประสบการณ์ คือ ตอนกินเนี่ย (ปัจจุบัน) มันยังดีอยู่ไหม
แต่เราก็เลือกไปตามความทรงจำเสมอนะ

เราใช้ความทรงจำตัดสิน เรา “คิดว่า” แต่มันไม่ได้เป็นจริงเสมอไป
...เพราะเราคิดไปเอง...จากความทรงจำ
...เรา “เอาใจ” ความทรงจำ...
ไม่ใช่ประสบการณ์ !!

อยากบอกว่า Daniel Kahneman ฮะ...มันยากไปมั๊ย
แล้ว Daniel Kahneman ยังพูดถึงการวัดความสุข (ประสบการณ์ ปัจจุบัน) ว่ามันต่างจากการวัดความพึงพอใจ (ความทรงจำ) มันก็จริงอยู่ แต่ โอโห เข้าใจยากจัง...มันซับซ้อนไปนะ (ฝรั่งชอบซับซ้อน)

เอากันชัดชัด...สรุปกันเลยง่ายๆ
อย่าใช้อดีต (ความทรงจำ) มาตัดสินใจอนาคต
จะมีความสุข (ประสบการณ์) ได้ 
ให้อยู่กับปัจจุบันไป !!
จบมั๊ย???