วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กลยุทธ์..ไม่ได้ยาก(ขนาดนั้น)



กลยุทธ์เป็นเรื่องที่คุยกันมากและคุยกันให้มันยาก  ยิ่งปัจจุบันมีหลายสำนัก หลายครูให้ติดตามอีก มันเลยดูเหมือนซับซ้อน เป็นวิชาการมาก ศัพท์แสงมากจนไม่รู้จะเริ่มอะไรก่อนดี ความรู้มันมากจนบางทีคนก็งงว่าจะทำอย่างไร  อันที่จริงมันเป็นเรื่องของ “การเลือก” การเลือกทำ หรือ ไม่ทำ  อันนี้ใช่ อันนี้ไม่ใช่ ไม่ต้องคิดอะไรมาก ลองดูขั้นตอนแบบนี้น่าจะเป็นประโยชน์กว่า 

  1. กลยุทธ์เป็นการตัดสินใจในไม่กี่เรื่อง และเรื่องที่สำคัญต้องตัดสินใจ คือ 
  • กลุ่มไหนที่เป็น target market ของเราและกลุ่มไหนที่ไม่ใช่
  • สินค้า บริการอะไรที่จะเสนอให้กลุ่มที่เลือก และอะไรบ้างที่ไม่รวมในนั้น
  • จะทำอย่างไรให้ได้ใจ target market  ที่เราเลือก อะไรบ้างที่จะทำ และอะไรบ้างที่จะไม่ทำ
จุดใหญ่ใจความสำคัญ คือ ความชัดเจนในสิ่งที่เลือกและไม่เลือก  เหตุผลสนับสนุนง่ายมาก your business cannot be everything for everyone!!!  นอกจากนั้นเราไม่เพียงแต่ตัดสินใจในเรื่องสามเรื่องดังกล่าวมาข้างต้น  แต่เราต้องเลือกในสิ่งที่ต่างจากคู่แข่งขันเคยทำมาแล้ว  ทางเดียวที่จะประสบความสำเร็จ คือ  เรามี distinctive strategic position ที่ทำให้เรายืนกินส่วนแบ่งตลาดได้อย่างชิวๆ

2. กลยุทธ์ต้องถักทอทางเลือกเข้าด้วยกันเพื่อสร้างพลังในการบูรณาการ:  อันนี้เหมือนกับการต่อจิ้กซอว์ให้เห็นเป็นภาพรวม  ทำอย่างเป็นระบบให้เชื่อมกันได้ระหว่างธุรกิจกับสิ่งแวดล้อม  ซึ่งการออกแบบระบบธุรกิจนี้จะทำได้ต้องขึ้นกับเรื่องต่อไปนี้ คือ 
  • สิ่งที่เลือกทำ...ต้องตอบสนองตลาด
  • กิจกรรมที่ทำ..ต้องสอดประสานกันได้
  • กิจกรรมที่เลือก...ต้องมีความสมดุลกัน
มันแปลว่าเราต้องเข้าใจถึงสิ่งที่เลือกอย่างถ่องแท้ ต้องรู้ว่ามันเป็นระบบที่สัมพันธ์กัน จะมาอยากทำอย่างนู้นอย่างนี้ คนละเรื่องไม่ได้ ทุกเรื่องที่ทำต้อง compliment กัน ต้อง compatible กัน ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นเหมือนเพลง ลามะลิลา ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ แต่เหลาลงไปกลายเป็นบ้องกัญชา

3. กลยุทธ์ต้องเหมาะสมและมีความยืดหยุ่น: การสร้างความเหมาะเจาะระหว่างสิ่งที่ธุรกิจเรานำเสนอกับความต้องการของตลาดไม่ได้ประกันความสำเร็จที่ยั่งยืน เราอยู่ในโลกที่ผันผวน ถ้าไม่เปลี่ยนตาม ไม่สามารถตอนสนองความเปลี่ยนแปลงได้ เราอาจเจ๊งได้ก่อนจะรู้ตัวเสียอีก ของมันเปลี่ยน มันปรับกันได้

4. กลยุทธ์ต้องสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมในองค์กร: สิ่งแวดล้อมในองค์กรมี 4 ประการที่สำคัญ คือ  วัฒนธรรมองค์กร ระบบการให้ผลตอบแทน โครงสร้างองค์กรและคนในองค์กร  เราคงต้องถามตัวเองตั้งแต่แรกเริ่มว่า เราต้องการให้องค์กรของเรามีค่านิยมวัฒนธรรมแบบไหน เราจะใช้อะไรจูงใจ โครงสร้างการบริหารจะเป็นอย่างไรและเราต้องการคนแบบไหน ทั้งสี่อย่างนี้สำคัญมากที่จะทำการขับเคลื่อนกลยุทธ์ที่เลือกได้  ถ้าเปรียบเป็นกลยุทธ์เป็นต้นไม้ มันจะแตกกิ่งเติบโตงอกงามได้ขึ้นกับวัฒนธรรม คือ ราก ผลตอบแทน คือ ดิน คืออาหารต้นไม้ คือน้ำที่รินรดใจ โครงสร้างองค์กรเป็นเครื่องมือตัดแต่งต้นไม้ให้สวยตามใจเราได้ และไม่มีคนสวนมาช่วยบำรุงต้นไม้ก็ตัวใครตัวมัน  

5. ไม่มีกลยุทธ์ใดอยู่ค้ำฟ้า: กลยุทธ์เราอาจ unique วันนี้ แต่สำหรับวันพรุ่งนี้มันคนละเรื่อง สมัยนี้ใครๆก็สามารถลอกเลียน business model หรือกลยุทธ์ใหม่ๆได้ทั้งนั้นในโลกนี้ ซึ่งมันจะทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดน้อยลงทันที  ต้องถามตัวเองตลอดเวลาว่าเชยแล้วหรือยัง ถามตัวเองว่าใจลูกค้าพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไปหรือเปล่า และถ้าคู่แข่งเสนอสิ่งที่เหมือนเราแต่ราคาถูกกว่าจะทำอย่างไร

อันนี้เป็นขั้นตอนให้ฉุกคิดอย่างง่ายๆในการที่เราจะสร้างกลยุทธ์ให้ประสบความสำเร็จ มันไม่สำคัญว่าเรามี business ideas อะไร หรือเราอยู่ในอุตสาหกรรมธุรกิจอะไร สิ่งสำคัญกว่านั้นคือเรารู้ทิศทางที่จะไปหรือเปล่าและมองเห็นมันชัดหรือไม่   การมองให้ทะลุถึงผลลัพธ์สุดท้ายที่เราต้องการสำคัญมาก เพราะจะทำให้เราสามารถตอบสนองสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ถูกเรื่องและบอกได้ว่าเราต้องทำอะไรเพื่อสามารถยืนอย่างสง่าผ่าเผย โดดเด่นในตลาด

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ชีวิตอิสระ ทำดีไม่มีท้อ ไม่ต้องรอให้ถึง...วันพรุ่งนี้


ในบ้านเมืองเวลานี้ต้องการคนที่ทำ ”ความดี” “ทำประโยชน์”   มีหลายคนอาจคิดว่าทุกวันก็ทำหน้าที่ของตัวเองอยู่แล้ว หรือคิดว่าธุระไม่ใช่ หรือคิดว่าโปรดสัตว์ได้บาป เพราะทำอะไรไป ทำความดีทำความดีไปแล้ว ได้รับสิ่งที่ไม่ดีกลับมา ทำให้เกิดความรู้สึกที่ “ไม่อยาก” “ไม่ยุ่ง”   มันจึงเกิดสังคมของความเห็นแก่ตัว ไม่เอื้อเฟื้อถ้าไม่ใช่เรื่องของตัว  ต่างคนต่างอยู่ไป อันนี้อันตรายต่อลูกหลานไทย  อย่างน้อยเป็นคนไทยน่าจะต้องมีจิตใจฮึกเหิมที่จะทำเพื่อบ้านเมือง  เพื่อคนไทยด้วยกัน  หากผู้คนหยุดหมด หยุดทำความดี เอาแต่ทางรอดของตัว อะไรจะเกิดขึ้นกับบ้านเมืองของเรา  และถ้าคนเหล่านี้คิดว่าตัวใครตัวมัน ไม่ใช่ธุระ อะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย..

เรื่องจากคนค้นคน...

เรื่องที่หนึ่ง...
ชุดปฏิบัติการเหยี่ยวดง 60 กลุ่มชายชาติทหารผู้ต้องเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิดทั้งหมด 15 ชีวิต นำทีมโดย ร้อยตำรวจตรีแชน วรงคไพสิฐ ทุกคนในทีมล้วนผ่านเหตุการณ์ระเบิดมาหลายต่อหลายครั้ง ผ่านเหตุการณ์เสี่ยงตายมามากมาย บาดเจ็บมาจนนับครั้งไม่ถ้วน แต่ทว่าก็ไม่มีใครยอมแพ้และขอลาออก เพราะหัวใจยัง "สู้" เพื่อบ้านเมือง   ไม่มีใครรู้ว่า สถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด เช่นเดียวกับคนเหล่านี้ที่ไม่มีใครรู้ว่า วันนี้จะออกไปปฏิบัติหน้าที่เป็นวันสุดท้าย แต่คนเหล่านี้ตระหนักไว้เสมอว่า หากต้องตายก็ขอตายอย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ในฐานะของข้าราชการที่ปวารณาตัวเป็นข้าของแผ่นดิน 



"พวกผมเกิดเป็นคนไทย เกิดในสามจังหวัดภาคใต้ พวกผมต้องตอบแทนพระคุณแผ่นดิน พวกผมทั้งหมดที่ยืนตรงนี้เป็นลูกชาวสวน ชาวนา ชาวไร่ อุปกรณ์ที่ชาวสวน ชาวนาใช้ทำงานก็คือ "ขวาน" หาก "ขวาน" ไม่มีด้าม ก็ใช้ทำอะไรไม่ได้ พวกผมขอสัญญาต่อหน้าพระคุณเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตรงนี้ว่า พวกผมจะดูแลรักษาด้ามขวานตรงนี้ตลอดไป" 

คำพูดนี้นี้คงเป็นคำตอบว่า ทำไมทั้ง 15 ชีวิตต้องยืนหยัดที่จะอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อปกป้องคนไทยอย่างเราให้นอนหลับฝันดี  บางคนอาจคิดว่า..นั้น คือ หน้าที่ของทหาร มันก็ใช่  แต่ถามว่าเขาเลือกได้ไหม  เลือกได้แน่นอน เลือกที่จะทำ หรือ ไม่ทำ  แต่คนไทยเหล่านี้..เลือกที่จะทำความดีเพื่อแผ่นดินเกิดของตน

เรื่องที่สอง

วิชิต คำไกร หมออนามัยที่ตัดสินใจเลือกบรรจุตัวเองให้มาทำงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทับพริก อำเภออรัญประเทศ พื้นที่ชายขอบซึ่งคงจะมีน้อยคนนักที่อยากจะมาอาศัยอยู่ แต่วิชิตเลือกเส้นทางนี้ เพราะได้เห็นความทุกข์ยากของคนไข้ในเขตชายแดนที่ห่างไกล  ซึ่งนอกจากการรักษาคนไข้ในโรงพยาบาลแล้ว ภารกิจหลัก คือ การลงพื้นที่ไปเคาะประตูดูแลสารทุกข์สุกดิบด้านสุขภาพให้กับชาวบ้าน ตระเวนตรวจความเรียบร้อยของหมู่บ้านร่วมกับผู้นำชุมชนเพื่อป้องปรามปัญหายาเสพติดในหมู่เยาวชนภายในตำบลทับพริก โดยหวังขจัดปัญหาต่าง ๆ และยกระดับชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น ซึ่งเป็นงานที่ลงมาทำด้วยตัวเอง ด้วยจิตใจที่หวังให้เกิดประโยชน์กับชุมชน



"เราเป็นข้าราชการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ทรงบอกว่า เมื่อจะทำงานอย่ายกเอาความขาดแคลนมาเป็นข้ออ้าง แต่ให้ทำงานท่ามกลางความขาดแคลนนั้นให้บรรลุผล เพราะฉะนั้นความขาดแคลนในพื้นที่ตำบลทับพริกอาจจะมีบ้าง แต่เราต้องแปรเปลี่ยนความขาดแคลนนั้นให้เป็นพลังในการที่จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ ก็จะทำให้เรามีพลังใจในการทำงานช่วยเหลือผู้อื่น"

ถือเป็นต้นแบบคนดีของแผ่นดินคนหนึ่ง ซึ่งไม่เคยคิดว่า “ธุระไม่ใช่” ถ้าเป็นเรื่องของบ้านเมืองที่ตนอาศัย  เราก็ทำประโยชน์ได้เช่นกัน ไม่ต้องลงไปถึงภาคใต้ หรือดินแดนชายขอบ  แค่เลิกคิดเฉพาะเรื่องตัวเองและสร้างโอกาสให้สังคมไทยตามกำลังความสามารถที่มีอยู่ 

เรื่องที่สาม

พีระพงษ์ วงศ์ศรีจันทร์สอนศิลปะในโรงเรียนซับมงคลวิทยา พื้นที่ไกลปืนเที่ยง อำเภอเทพสถิตย์ จังหวัดชัยภูมิ ครูเลือกมาประจำการเพราะเห็นว่าเด็กอีสานเป็นเด็กที่ขาดโอกาสมากกว่าพื้นที่อื่นและก็ขอเป็นส่วนเล็ก ๆ ที่จะมาเติมเต็มโอกาส  ครูได้ใช้ศิลปะสร้างความสุนทรีย์และเพลิดเพลินหลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการเรียนและการทำงานหนักช่วยพ่อแม่ที่บ้าน แต่เหนือสิ่งอื่นใดครูหวังให้ศิลปะเป็นใบเบิกทางให้เด็ก ๆ ได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น 

"ผมเป็นศิลปินประเภทที่ไม่ได้จะสร้างผลงานทางศิลปะบนเฟรมผ้าใบ แต่เฟรมของผมคือชีวิตของเด็ก ผมต้องรับผิดชอบสิ่งที่ผมเขียน ซึ่งก็คือชีวิตคน"



"ถามว่าข้าราชการคืออะไร ข้าของแผ่นดิน ข้ารับใช้ของประชาชน เงินที่เราได้มาเป็นอยู่ทุกวันนี้คือเงินของประชาชน เราต้องทำงานให้เต็มกำลัง ผมสอนเด็กเสมอว่า ถ้าเขาจ้างเราให้แบกของไปสัก 3 กิโล เราควรแบกสัก 4 กิโล คือทำให้มากกว่า ไม่ใช่แค่หมดเวลาตอกบัตรกลับบ้าน เราควรเป็นข้าราชการ 24 ชั่วโมง"

สำหรับตัวเอง ครูไม่ได้คาดหวังอะไรมากเพราะนี่คือความสุขแล้ว แค่ทำวันนี้ให้ดีที่สุด เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมาแก้ไขอะไรอีก แม้ว่าอาจจะเสียโอกาสกับอาชีพที่ก้าวหน้า เงินทองก้อนโต แต่การที่ลงมาทำอย่างนี้ทำให้มีความสุขทุกวัน และยิ่งเห็นเด็กมีอาชีพ มีความสุข มันคือสิ่งที่เงินซื้อไม่ได้ และเป็นความสุขที่สุดของคนที่ได้ชื่อว่าเป็น "ครู" แล้ว  นี่คือการ "สร้าง" และ "เปลี่ยน" ชีวิตของผู้อื่นให้ดำเนินอยู่ในเส้นทางแห่งความถูกต้องและได้รับโอกาสทางสังคมมากขึ้น

เรื่องที่สี่
ป้าหาบ

ในยุคข้าวยากหมากแพงนี้ ยังมีแม่ค้าวัยย่างหกสิบปี ชื่อ บุญยัง พิมพ์รัตน์ ลูกค้าเรียกว่า “ป้าหาบ” อาชีพหาบเร่ขายกับข้าวในซอยจรัญสนิทวงศ์ 33 แยก 3 มานานกว่า 30 ปีและยังคงตรึงราคาเดิมที่ 5 บาท แม้ว่าของจะแพง น้ำมันจะปรับขึ้นราคา แต่แม่ค้าคนนี้ก็ไม่เคยแม้แต่จะคิดปรับขึ้นราคา

"นึกถึงตัวเองเวลาไม่มี ท้องหิวมันทรมานมากนะ คนเงินเดือนน้อย ๆ ก็อยากให้เขากินอิ่ม บางคนมีเงินมา 10 บาท มาซื้อกับป้า ป้าก็ให้เขาเยอะ ๆ เป็นข้าวเหนียวเป็นอะไรอย่างนี้ บางคนมาไกล ๆ ไม่มีเงินมา ป้าก็ให้ไปบ้าง หรือไม่ก็คิดเขาแค่ครึ่งเดียว 20 บาท เอา 10 บาทพอ"



ณ วันนี้ป้าหาบสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวจนพอมีพอใช้อย่างพอเพียง จึงต้องการแบ่งปันความอิ่มท้องให้กับผู้อื่นบ้าง ป้าหาบบอกว่า ชีวิตสุขสบายดี ไม่เป็นหนี้ ไม่ลำบาก ก็ไม่เป็นจำเป็นที่จะต้องเอากำรี้กำไรอะไรให้คนอื่นเดือดร้อน สู้ "ให้ผู้อื่น" จะดีกว่า  เพียงแค่ความคิดเล็ก ๆ ของป้าหาบที่เจือจานน้ำใจอันยิ่งใหญ่สู่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน กลับทำให้มุมหนึ่งของสังคมไทยในยุคยากเข็ญ ดูแล้วมีความสุขขึ้นมาทันที 

ยังมีคนไทยอีกมากที่ทำความดี เราถึงอยู่ได้มาจนถึงทุกวันนี้  เห็นแล้วก็ละอายอยู่เพราะเราล้วนเป็นผู้มีอันจะกิน ไม่เดือดร้อน เราได้ทำอะไรบ้าง   จึงคิดว่า...อย่างน้อยตัวเรามีอะไรที่จะช่วยได้ก็จงทำให้เต็มที่ นอกจากอาชีพประจำที่เป็นสัมมาอาชีพแล้ว  เครื่องมือสื่อสารที่มีในมือ ความคิด คำพูด การกระทำที่จะส่งออกเพื่อให้เกิดสำนึกดีในบ้านเมืองในแวดวงก็น่าจะเป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้   มันอยู่ที่เราคิดว่าเราเป็นอิสระพอที่จะทำหรือไม่ มันอยู่ที่เราติดหัวโขนอะไรหรือเปล่าที่ทำให้เราต้องหมกตัว กลัวเสียประโยชน์ ไม่กล้าที่จะเรียกร้องสิ่งที่ถูกต้อง  ขอให้คิดใหม่ คิดเสียว่าจะทำความดี คิดเสียว่าทำความดีแล้วนั้นทำให้เราเป็นสุข เป็นการได้ช่วยเหลือผู้อื่นแม้ผลที่ได้รับกลับมานั้นอาจไม่ดีเท่าที่ควร อาจเป็นคำติฉินนินทา แต่หากเรามีจิตใจแน่วแน่ของการตั้งอยู่ในการทำความดี ก็จะยึดมั่นในการทำความดีแม้จะไม่มีคนเห็นก็ตาม  

เราต้องไม่พ่ายแพ้ต่อความเห็นแก่ตัว เห็นแก่หน้า  ถ้าจะคิดว่า “เรื่องของมัน ไม่ใช่เรื่องของเรา” คิดแบบนี้กับทุกเรื่องไม่ได้   อย่างน้อยก็คิดกับบ้านกับเมืองไม่ใด้  ถ้าคิดว่ามันต้องเป็นไปตามกรรม ทุกอย่างอยู่ที่เวรกรรม ก็ละเสียให้สิ้นทุกสิ่งไป บวชใจไป ไม่ว่ากัน    แต่ถ้าหลายสิ่งยังไม่ละ ยังอยู่ในความเป็นปุถุชนคนมีกิเลส อันนี้เป็นการเลือกปฎิบัติแล้ว  ถ้าเลือกก็ควรพ่วงเรื่องการรักษาความดีความงามของประเทศชาติเข้าไปด้วย  เราเหยียบแผ่นดินไทยอยู่ ไม่ควรละเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง            

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประชุมให้ได้เรื่อง



การประชุมสำคัญสำหรับการบริหารธุรกิจ แต่บางทีก็เสียเวลา ไม่คุ้มค่าความพยายาม Richard Branson มีเคล็ดลับทำให้การประชุมสำคัญๆได้เรื่องเป็นผล เป็นบทเรียนที่ได้จากการประชุมระดับผู้นำของกลุ่ม Virgin

1. อย่าติดกับ usual weekly agenda ให้กำหนด theme ที่มันเร้าใจ: ถ้า
มันเป็นการประชุมที่ต้องการการ discuss ต้องการความคิดสร้างสรรค์ ต้องการ entrepreneurial solutions สำหรับอนาคตธุรกิจที่มีแต่ความผันผวนของโลก อย่าทำเหมือนกับเป็นการประชุมประจำเดือนที่เป็นทางการ

2. เชิญคนให้หลากหลายเพื่อเติมมุมมอง: 
ในการประชุมผู้นำมีการเชิญทั้ง investment banker คนเล่นโยคะ ที่ปรึกษาของ Silicon Valley และสารพัดหลากหลาย ซึ่งนำไปสู่การ discuss  ที่ได้ผลเหลือเชื่อ 

3. ใส่แรงกระตุ้นให้คนพูดเพื่อ spark ideas และการถกเถียง: มันอยู่ที่หัวเรื่อง ทั้งนักบินอวกาศ ทั้งนักวิจัย ถกเถียงกันเรื่องทำอย่างไรจะเลี้ยงคนประมาณว่าจำนวน 10 billion ในโลก ซึ่ง Richard Branson ถือว่าเป็นการ survey ที่เจ๋งมาก
4. สถานที่ต้องได้ใจ ไม่มีจอคอมพิวเตอร์ตั้งเรียงราย ไม่มีการผูกเนคไท: ต้องเปลี่ยนวิว ต้องสบายๆชิวๆ ไม่ต้องอยู่ในห้อง ไม่ต้องมีเก้าอี้  ยืนประชุมกันในสวนบ้างก็ได้ สำคัญ คือ ออกมาจากชีวิตประจำวัน 
5. ต้องมี surprise ให้ผู้เข้าร่วมประชุม: ในการประชุมมีการเชิญนักร้องดังมาร้องเพลงให้ฟัง มันเป็น real treat เป็นอะไรที่ไม่พบเห็นในชีวิตธรรมดา เป็นสิ่งพิเศษ  แค่นี้ก็ thinking outside the box กันได้แล้ว
6. เขตปลอด powerpoint : การนำเสนอยาวๆน่าเบื่อ อย่างดีถ้ากลัวลืมก็มี laptop ได้ก็พอ แต่ถ้าเป็น short videos หรือรูปภาพจะทำให้มีชีวิตชีวาดีกว่า 
รู้ไว้ใช่ว่า..ใส่บ่าแบกหาม

คำถาม 11 ข้อสำหรับชีวิต



คำถาม 11 ข้อสำหรับชีวิตจาก Jeff Haden

ถามตัวเองทุกวัน ได้คำตอบแลัวก็ take action

1. ใครจะร้องให้มากที่สุดถ้าเราตาย
พวกนี้รักเราแบบไม่มีเงื่อนไข.. รีบรักตอบกลับไป ตอบแทนความรู้สึกกันให้สาสม

2. เราได้ใช้เวลากับพวกที่ร้องให้ในงานศพเรามากพอหรือยัง
บางที..ก็ไม่นะ แล้วยังไง.. 

3. ใครที่เราอยากเห็นว่าร้องให้มากที่สุดเวลาเราตาย
เออ.. คนที่เราแคร์ แต่ไม่ค่อยได้ใส่ใจ 
stop taking them for granted !! 

4. เราภูมิใจ ยืดอกที่จะบอกว่าใครๆเราทำงานที่ไหนหรือเปล่า
ถ้าไม่...ตัวใครตัวมัน 
ตำแหน่งนั้น...มาแล้วก็ไป เงินก็ด้วย...มาแล้วก็ไป
แต่ศักดิ์ศรีความภูมิใจมัน  forever นะ

5. ถ้ามีธุรกิจ...อยากให้ลูกหลานสืบสานต่อหรือไม่
ธุรกิจมันเต็มไปด้วยการแข่งขัน ไหนจะเอาใจลูกค้า ไหนจะลำบากใจหงุดหงิดกับพนักงาน เงื่อนไขมันเยอะจนมองไม่เห็นอนาคตที่สดใส 
ถ้าคำตอบ คือ ไม่.. แล้วเราทำไปทำไมเนี่ย 
อยากให้ลูกหลานมีอนาคตสดใส.. อนาคตเราก็ต้องสดใสด้วย

6. เรารู้สึกถึงความแตกต่างของเมื่อวานกับวันนี้ไหม
มันควรจะรู้สึกนะ ถ้าไม่ก็แปลว่าเราอยู่กับที่นานไปหรือเปล่า

7. เราพูดว่า “ไม่” บ่อยกว่า “ใช่” หรือเปล่า
การ “ไม่” นั้นชีวิตไม่เปลี่ยนนะ เลิกเหอะ

8. เรา “ใช้เงิน” มากกว่า “ใช้เวลา” หรือเปล่า
อันนี้ปวดใจ เงินไม่มีทางให้ผลลัพธ์ได้เท่ากับการใช้เวลาอย่างมีคุณภาพ 
แต่งตัวสวยอาจทำให้สดชื่นอยู่  แต่มันไม่ได้ทำให้เราดีขึ้น  
เครื่องเคราต่างๆ ไม่สามารถเปลี่ยนใจคน 

เงินอาจเปลี่ยนบางอย่างได้..ชั่วคราว
เวลา..เปลี่ยนบางอย่างได้นิรันดร
การใช้เวลาคุณภาพมันจะตรึงความทรงจำไปนานเท่านาน

9. เราคิดถึงตัวเองเป็น “คำนาม” ประมาณว่า ฉันคือใคร หรือเปล่า
เช่น ฉันเป็นครู ฉันเป็นหมอ ฉันเป็นนักธุรกิจ 
You're in a box !!!!

คิดแบบนั้นมันจบเร็ว มันน่าจะเป็น "being" มากกว่า “doing” เพื่อการพัฒนาที่ต่อเนื่อง 
แทนที่การเป็นครู หันมาใช้กิริยาแทน.. ฉันสอนหนังสือ ฉันรักษาคน ฉันบริหารธุรกิจ 
มันเปิดโอกาสให้เรามากกว่า

10. เราทำให้คนอื่นรู้สึกดีหรือเปล่า
การพูดดีเกี่ยวกับคนอื่นมันเป็นผลมหาศาล 
คนรอบตัวเรามีหลายคนทำดีหลายอย่าง ชื่นชมบ้าง เขาจะรู้สึกดี เราก็รู้สึกดี  

11. เรากลัวตัวเองหรือเปล่า
ถ้าไม่..ควรกลัวอยู่นะ
มันไม่ใช่กลัวตัวเองจะตาย หรือ ป่วยอะไรแบบนั้น  แต่มันเป็นสิ่งที่เราคิดจะทำและมันทำให้เราตื่นเต้น สั่นไหวภายใน  ประมาณว่า OMG ฉันทำได้ 

ทุกคนมีความกลัวในสิ่งที่ทำ 
จะไปไหน..ไม่กล้า กลัว เลยไม่ไป 
จะทำอะไรก็กลัว..ตกลงไม่ทำ  

มันเป็นธรรมดานะที่จะลังเล ประสาทกิน  แต่ถ้าเราหันหลังให้มันแทนความกลัวที่จะเผชิญกับมัน  เราจะตายทีละน้อยข้างใน...ทั้งเป็น  ไม่รู้สึกถึงชีวิต ไม่ได้ทำสิ่งที่อยากจะทำ ไม่ได้รู้สึกถึงความมีชีวิตชีวาที่แท้จริง เสียโอกาสไป

Are you living... or really living?

ชีวิตเดียว โอกาสเดียว 
Make sure you live 

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

social-media literacy ของผู้นำ



Mckinsey Quarterly เดือนนี้..เดือนกุมภา เขียนถึง Six social-media skills every leader needs   เพราะยุคนี้ organization social-media literacy ได้กลายเป็นความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันอย่างรวดเร็ว ผู้เขียน คือ Roland Deiser และ Sylvain Newton ได้สัมภาษณ์ผู้บริหารของ GE พบว่า GE เห็นความสำคัญจนสนับสนุนให้มี GE Colab เมื่อปีที่แล้ว (2012)   GE Colab นั้นสร้างขึ้นโดยพนักงานของ GE เพื่อใช้ประสาน อำนวยความสะดวกให้กับ global teamwork ของ GE  ซึ่ง GE Colab มีทั้ง Facebook Twitter และ social applications อื่นๆที่ทำให้เกิดเครือข่ายการทำงานร่วมกันได้อย่างง่าย เกิดการแบ่งปันข้อมูล เกิดการสื่อสารแบบทันที มี advanced search มี blogging มี videoblogs และสารพัดที่ช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงคนของ GE   ปัจจุบันมีคนใช้เป็นแสนแล้ว  บรรดาผู้บริหาร GE จึงให้ความเห็นว่าอำนาจของ social media ทำให้เกิดการขยายขอบเขตคุณสมบัติผู้นำเดิมๆที่เน้นความมีประสิทธิภาพในการนำ ความคิดสร้างสรรค์เชิงกลยุทธ์ หรือการสื่อสารที่ชัดเจน ออกไปสู่คุณลักษณะใหม่ของผู้นำที่สามารถรับมือกับพลวัตของสังคม การเมือง ยืดหยุ่นพอจะสร้างองค์กรที่ตอบสนองได้  เช่น ความสามารถในการเชื่อมโยง multimedia content ให้จับใจคน  ความเป็นเลิศในการวิวัฒน์ร่วม (cocreation) และสร้างความร่วมมือใหม่กับโลก social media เข้าใจเครื่องมือและมีความสามารถในการปล่อยพลัง  ซึ่งสรุปได้เป็น 6 มิติ 2 ระดับ ดังรูปข้างต้น
  1. ผู้นำ คือ ผู้อำนวยการสร้าง: การสร้างเนื้อหาให้กินใจ การมีศักยภาพด้านสร้างสรรค์ผลงานของจริง การเล่าเรื่อง การมีสุนทรียวิสัย รวมถึงทักษะในการทำวิดิโอด้วยตนเอง  Mark Begor ผู้บริหาร GE Capital’s real-estate business ทำวิดิโอของตัวเองทุกอาทิตย์เพื่อแบ่งปันเรื่องราวต่างๆให้กับพนักงาน  ซึ่งถือเป็นการตกผลึกความคิดของตัวเอง เป็นกลยุทธ์ในการสื่อสารในการสร้างเรื่องราวให้พนักงานสามารถเชื่อมโยงกับตนเองได้อย่างดี  Mark Begor พบว่าแม้จะทำแบบมือสมัครเล่น ไม่เหมือนกับการผลิตวิดิโอเดิมๆของบริษัทที่เป็นทางการ แต่แบบดิบๆอย่างนี้ให้ความรู้สึกจริงกับคนมากกว่า
  2. ผู้นำ คือ ผู้ส่งสาร: การสร้าง followers อย่างต่อเนื่อง ความเข้าใจพลวัตของ message ต่างๆและเข้าใจว่าอะไรที่สร้างกระแสให้คนตาม พูดง่ายๆ คือ ความสามารถในการสร้างแฟนคลับ การส่งข้อมูล ประกาศ ข่าวสารจากผู้บริหารในองค์กรที่ผ่านมาก็เป็นไปตามช่องทางตรง แต่ social media มันปฎิวัติมาตรฐานกระบวนการส่งข้อมูลทั้งหมด  เมื่อได้โพสต์อะไรลงไปมันมีทั้ง  repost videos retweet และคอมเมนต์ต่างๆตามมาจนถึงมีการนำเอาเรื่องไปสร้างเรื่องราวต่อไปได้อีก       Lorraine Bolsinger  รองประธานและผู้จัดการของ GE Aviation Systems  มีบล็อคชื่อ 360 blog ที่ให้คน 12 คนช่วยกันสื่อสาร สร้างความต่อเนื่องให้คนตาม มี issue ต่างๆสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการสื่อสารถึงกลยุทธ์และแนวทางปฎิบัติซึ่ง Lorraine ยอมรับว่าไม่เคยมีครั้งไหนที่คำพูด ข้อความของเธอจะได้รับความสนใจมากขนาดนี้ และมันช่วยให้เกิดสุนทรียสนทนากันเป็นเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ผู้นำ คือ ผู้รับสาร: เป็นการบริหารการไหลเวียนของข้อมูล  อย่างที่ทราบกันดีว่าพวก  e-mails tweets Facebook updates RSS feeds นั้นมันเป็นมหาสมุทรข้อมูล หลั่งไหลเข้ามามากเกินไป ผู้บริหารต้องมี filtering skills สามารถใช้วิธีการกลั่นกรองเป็น  อันไหนจะตอบ อันไหนจะ link อันไหนจะ share  และต้องใจอารีย์ในการตอบสนองเพราะมันหมายถึงการตามและการเลิกตามหากตอบไม่เข้าท่า  
  4. ผู้นำ คือ ที่ปรึกษา คือ วาทยากร: การขับเคลื่อน strategic social-media  ในบริษัทส่วนใหญ่เรื่อง organization social-media literacy อยู่ในระดับอนุบาล ใช้ไม่ดี ไม่สร้างระบบที่ดีจะกลายเป็นหอกทิ่มแทงองค์กรได้ สร้างความเสียหายได้  การจะเก็บเกี่ยวใช้ประโยชน์จาก social media นั้นผู้บริหารต้องลงมาคุมเอง เป็นหัวหอกในการบรรเลง  สร้างหรือเพิ่ม media literacy ให้กับคน ต้องเป็นที่ปรึกษาที่สามารถวางใจได้ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกัน สร้างวัฒนธรรมใหม่ในการสื่อสาร สร้าง DNA of collaborative technology 
  5. ผู้นำ คือ สถาปนิก: การวางโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะ การสร้างปัจจัยสนับสนุนให้เอื้อต่อการขับเคลื่อน strategic social-media  ป้องกันการใช้ social media ที่ไร้สาระ ต้องมีความสามารถในการใช้ประโยชน์จาก social media ให้เข้ากับหน้าที่หลักขององค์กร
  6. ผู้นำ คือ นักวิเคราะห์ : การไม่เพียงแต่เกาะติดสถานะการณ์ แต่ต้องสามารถรู้ล่วงหน้า GE’s leadership university ในเมือง Crotonville มีหลายโปรแกรมที่ช่วยให้บรรดาผู้บริหารสามารถมองการณ์ไกล เช่น Leadership Explorations เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้ผู้บริหารเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และใน  Silicon Valley ผู้บริหารได้เรียนรู้อย่างมากเกี่ยวกับพวก cutting- edge technologies  แปลว่าผู้บริหารต้องสามารถเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมการใช้เทคโนโลยีรวมทั้งพลวัตของ social media industry อย่างถ่องแท้
ในขณะที่องค์กรบ้านเรายังไล่ปิด Facebook กันจ้าละหวั่น ห้ามพนักงานใช้  บริษัทระดับโลกกลับใช้ประโยชน์อย่างจริงจังกับ social media อย่างเป็นเรื่องเป็นราวเป็นประโยชน์โภชน์ผล ผู้บริหารเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพการเข้าถึงและใช้ social media แบบถึงแก่น    ทำไมเราไมใช้ social media ให้เป็น  competitive advantage กันบ้างโดยเริ่มจากพัฒนาคุณลักษณะใหม่ๆ...

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หาไม่ได้..ไม่ต้องหา..

ชีวิต..ไม่ต้องการคำตอบ
แต่ต้องการการปรับตัว..ให้อยู่ได้..อยู่ดี
มันเพียงพอแล้วกับการมีชีวิต

สามตัว..ในคนเดียว

ทุกคน...มีสามตัว
เป็นทุกตัว..รู้ตัวบ้าง..ไม่รู้บ้าง
ที่แน่ๆ..เป็นตัวตนจริง..มีความสุขกับตัวตนจริง..ดีที่สุด
เพราะตัวที่อยากให้คนอื่นเห็น..เหนื่อย
และตัวที่คนอื่นอยากให้เป็น...ยิ่งเหนื่อย

ชีวิต undo ไม่ได้

ก่อนทำ..ควรคิด
คิดดี..จึงทำ
พลาดแล้ว..อย่ากังวล
ชีวิต..เริ่มใหม่ได้เสมอ